การแสดงปาฏิโมกข์ หรือที่เราเรียกว่า ลงปาฏิโมกข์ เป็นกิจสำคัญอย่างหนึ่งของภิกษุบริษัท
ซึ่งพระสงฆ์ได้ถือกันอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นเครื่องแสดงความสามัคคี และยังเป็นเครื่องตักเตือน
สอบถาม ความบริสุทธิ์แห่งกันและกัน เมื่อพระสงฆ์ ยังได้ยกปาฏิโมกข์ขึ้นแสดงอยู่ตราบใด
ก็เป็นอันประกาศความตั้งมั่น แห่งพระศาสนาอยู่ตราบนั้น เพราะฉะนั้น ภิกษุทุกรูป
จึงต้องทำอุโบสถทุกๆ วันอุโบสถ ถ้าไม่ทำ ต้องปรับโทษเป็นอาบัติทุกกฏ
กิจที่สฆ์ต้องทำในวันอุโบสถ คือกิจที่ต้องทำก่อนทำอุโบสถนั้น คือ
เมื่อถึงวันอุโบสถแล้ว ก็จะต้องกวาดโรงอุโบสถ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็ตามประทีปไว้ในโรง
อุโบสถตักน้ำใช้น้ำฉันไว้ และปูอาสนะไว้ในโรงอุโบสถ กิจ ๔ อย่างนี้ เรียกว่า บุรพกรณ์
เพราะต้องทำก่อนพระสงฆ์ประชุมกัน เมื่อทำกิจ ๔ อย่างแล้ว ก็ทำกิจอย่างอื่นต่อไป
คือถ้ามีเหตุที่ต้องนำฉันทะ และปาริสุทธิของผูืให้ฉันทะและปาริสุทธิก็นำมา
บอกฤดู นับภิกษุ และให้โอวาทแก่สางภิกษุณี กิจ ๔ อย่างนี้ เรียกว่า บุรพกิจ และต้องทำ
ก่อนการแสดงภิกษุปาฏิโมกข์
การสวดปาฏิโมกข์ คือการสาธยาย ศีล ๒๒๗ ข้อ เป็นภาษาบาลีหรือภาษามคธล้วนๆ
ตั้งแต่ข้อ ๑ ไปจนกระทั่งจบหมดทุกข้อ โดยวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ด้วยกัน ๔ รูปขึ้นไป
จะต้องมีภิกษุสวดปาฏิโมกข์ได้หนึ่งรูป โดยสวดทุก ๑๕ วัน คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
และวันแรม ๑๕ ในเดือนเต็ม หรือวันแรม ๑๔ ค่ำ ในเดือนขาด
การสวดปาฏิโมกข์ศีล ๒๒๗ ข้อ ต้องสวดไม่ให้ผิดแม้แต่สักตัวเดียว มีผู้คอยตรวจทาน
หากสวดผิดก็ต้องทักท้วง แก้ไขให้ถูกต้อง จึงจะสวดต่อไปได้ ถือเป็นกิจสงฆ์ที่สำคัญ
วิธีทำอุโบสถ การทำอุโบลสถของภิกษุนับว่า เป็นสังฆกรรมส่วนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงต้อง
ประชุมในสีมาอันเดียวกัน และต้องนั่งให้ได้หัตถบาสกันทุกๆองค์
แม้ว่าอาวาสที่มีสีมารอบวัด มีกุฏีสงฆ์อยู่ภายในสีมา ก็จะทำสังฆกรรมใดๆ ภิกษุในอาวาสนั้นต้อง
ลงประชุมกันให้ได้หัตบาสทั้งสิ้น มิฉะนั้น ภิกษุที่ไม่ได้ประชุมต้องออกไปเสียจากเขตนั้น
ให้พ้นจากสีมา จึงจะสำเร็จเป็นสังฆกรรม
เพราะฉะนั้น เมื่อถึงวันอุโบสถ ภิกษุอยู่ในอาวาสเช่นนั้น เมื่อมีกิจจำเป็นที่จะลงไป
ประชุมให้ได้ถัตบาสสงฆ์ไม่ได้ เช่น อาพาธ เป็นต้น ก็ต้องให้ฉันทะและปาริสุทธิ์
แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไป และภิกษุนั้นต้องนำฉันทะและปาริสุทธิของภิกาูรูปนั้นไปบอก
ในท่ามกลางสงฆ์ แล้วพระสงฆ์จึงจะกระทำอุโบสถ สังฆกรรมต่อไปได้ฯ วิธีให้ฉันทะ
และปาริสุทธิ์ในบาลีวางแบยบไว้ว่า ภิกษุผู้ให้พึงทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่งหรือนั่งท่าพรหมประนมมือ แล้วกล่าวกับภิกษุรูปหนึ่ง ให้ผู้แก่กว่าให้ว่า
ฉนฺทํ ทมฺมิ ฉนฺทํ เม หร ฉนฺทํ เม อาโรเจหิฯ แปลว่า ฉันให้ฉันทะของฉัน
ขอเธอจงนำฉันทะของฉันไป เธอจงบอกฉันทะของฉันฯ
ให้ปาริสุทธิว่า ปาริสุทฺธิํ ทมฺมิ ปาริสุทธิ์ เม หร ปาริสุทฺธิํ เม อาโรเจหิ ฯ
แปลว่า ฉันมอบความบริสุทธิ์ของฉัน ขอเธอจงนำความบริสุทธิ์ของฉันไป
ขอเธอจงบอกความบริสุทธิ์ของฉันฯ ถ้าผู้ให้อ่อนกว่า ใชคำว่า หรถ แทนคำว่า หร
ใช้คำว่า อาโรเจถ แทนคำว่า อาโรเจหิฯ
กราบอนุโมทนาบุญ ลูกค้า มารับ ชุดพระคัมภีร์ ปาฏิโมกข์
เพื่อนำไปถวายวัด ในโอกาสพิเศษ
เตรียมห่อบรรจุชุดพระคัมภีร์บาลีปาฏิโมกข์ขึ้นบริษัทขนส่งเพื่อส่งไปยังวัดตามที่พระอาจารย์
|