พิมพ์ชื่อผู้ถวายพระไตรปิฎก
พิมพ์หนังสือธรรมะ แจกเป็นธรรมทาน ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน เบาะรองนั่งสมาธิ สถานที่ตั้ง ศูนย์จำหน่ายพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก คือคัมภีร์ของพระพุทธเจ้า

หัวข้อภายในหนังสือพระไตรปิฎกเล่มนี้


คำปรารภ
บทคัดย่อ
บทนำ
พระพุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา
พระพุทธพจน์: แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก: ข้อควรรู้เบื้องต้น
ภาคหนึ่ง
ความสำคัญของพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกกับพระรัตนตรัย
พระไตรปิฎกกับพุทธบริษัท ๔
พระไตรปิฎกกับพระสัทธรรม ๓
พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา
สังคายนา: การซักซ้อมทบทวนพุทธพจน์
การสังคายนาคืออะไร
ปฐมสังคายนา
กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
พระไตรปิฎกเกิดขึ้นได้อย่างไร?

พระไตรปิภูกมีการรักษาสืบทอดมาถึงเราได้อย่างไร?
พระไตรปิฎกที่มีการท่องจำมีความแม่นยำเพียงไร?
พระไตรปิฎกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเล่า?
ฉัฏฐสังคีติและภายหลังจากนั้น
ภาคสอง
พระไตรปิฎกเข้ากันได้กับสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน
การจัดหมวดหมู่คัมภีร์ในพระไตรปิฎก
สรุปสาระของพระไตรปิฎก ๔๕ เล๊ม (เรียงตามลำดับเล่ม)
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
อรรถกถาและคัมภีร์ชั้นหลัง
บัญชีลำดับเล่มพระไตรปิฎกจับคู่กับอรรถกถา
คัมภีร์สำคัญอื่นๆ
บทสรุป
บันทึกของผู้แปล

#ฐานรองพระไม้สัก #แท่นวางพระ #โต๊ะวางพระพุทธรูป #รับสั่งทำฐานพระ #ฐานวางพระ #ฐานพระบูชา #แท่นวางพระ #ฐานพระพุทธรูป #ฐานรองพระบูชา #ฐานรองพระพุทธรูป #ฐานวางพระพิฆเนศ #แท่นรองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ #ฐานเสริมองค์พระพุทธรูป
กิจกรรม ภาพการจัดส่งพระไตรปิฎก ทั่วประเทศ

บริจาคเงิน COVID

หนังสือพระไตรปิฎก ภาษาไทย 91 เล่ม ครบสมบูรณ์

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับพิธีการทำบุญและอนุโมทนาวิธี

พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางชนะมาร และพระพุทธรูปแบบต่างๆ

หนังสือธรรมโฆษณ์ ของหลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ ครบชุด 81 เล่ม
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 91 เล่ม ไทย

ป้ายอลูมิเนียมอย่างดี สีทอง ติด บนตู้พระไตรปิฎก

หรือ บนกล่อง-หีบ-บรรจุพระคัมภีร์ต่างๆ ในราคาโรงงาน 700 บาท
กลุ่มหนังสือสำหรับพระภิกษุ
พระไตรปิฎก-แบบเรียน-นักธรรม-ตรี-โท-เอก



ศูนย์จัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎก
ไตรลักษณ์ตั้งอยู่เลขที่ 19/10 
หมู่3 ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม

ศูนย์จัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎก
ไตรลักษณ์
ตั้งอยู่เลขที่ 19/10
หมู่3 ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม
(ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระ)
ในซอยวัดญาณเวศกวัน เปิดบริการทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น.

086-461-8505,
087-696-7771,


E-mail : trilak_books@yahoo.com



#และเพื่อความรวดเร็วในการสนทนา
ช่องทางการติดต่อทาง/ #สั่งซื้อทางLine
~สั่งพิมพ์หนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทาน
~สั่งชุดพระไตรปิฎกแบบต่างๆ

👨🏻‍💻 #LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ

https://
line.me/R/ti/p/%40trilakbooks

หนังสือแบบเรียนนักธรรม สำหรับพระภิกษุสงฆ์และสามเณร


การสั่งสินค้าและผลิตภัณฑ์

สำหรับท่านที่ประสงค์จะสั่ง ตู้พระไตรปิฎก
และหนังสือพระไตรปิฎก
หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ

สามารถ ทำได้ดังนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ได้ที่

087-696-7771 086-461-8505
หรือส่ง mail มาที่

trilak_books@yahoo.com


#และเพื่อความรวดเร็วในการสนทนา
ช่องทางการติดต่อทาง/ #สั่งซื้อทางLine
~สั่งพิมพ์หนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทาน
~สั่งชุดพระไตรปิฎกแบบต่างๆ

👨🏻‍💻 #LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me
/R/ti/p/%40trilakbooks



1.เขียน ชื่อ ผู้ติดต่อ + เบอร์ติดต่อกลับ

2.ชื่อตู้พระไตรปิฎก (หรือแนบภาพ)

3.แจ้งชื่อหนังสือพระไตรปิฎก (หรือแนบภาพ)

4. หากมีข้อความ แทรก ผู้จัดพิมพ์ถวายหนังสือฯ
สามารถแนบมาได้ในคราวเดียวกัน

5.สถานที่จัดส่ง แบบละเอียดเพื่อให้ศูนย์หนังสือฯ
ประเมินค่าจัดส่งได้ต่อไป
ซึ่งจัดส่งโดยบริษัทขนส่งที่พร้อมดูแล
จัดส่งได้ทั่วประเทศ

 

พิมพ์หนังสือธรรมะ, หนังสือที่ระลึก,

ดำเนินการจัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎกทั่วไทย
โดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์
ดำเนินการจัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎกทั่วไทย
โดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์

..........................................................
หนังสือพุทธธรรม-700บาท


หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์


หนังสือพระไตรปิฎกทุกแบบ


หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่ม
ภาษา ไทย ราคา 15,000.-


หนังสือพระไตรปิฎก 91 เล่ม
ภาษา ไทย ราคา 25,000.-


หนังสือพระไตรปิฎก ฉบับ ส.ธรรมภักดี จำนวน 100 เล่ม

ภาษาไทย ราคา 18000 บาท (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย)
หนังสือพระไตรปิฎก 100 เล่ม ส.ธรรมภักดี
(ภาษาไทย) ราคา 18,000.-


อรรถกถาภาษาไทย (มจร)
อรรถกถาภาษาไทย (มจร)


หนังสือพระไตรปิฎก สยามรัฐภาษาไทย
ราคามูลนิธิ 15500 บาท

หนังสือพระไตรปิฎก 45 
ภาษาบาลี ราคา 13,000.-
หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่ม
ภาษาบาลี อักษรไทย ราคา 13,000.-


พระไตรปิฎก ฉ. ประชาชน (ไทย)
1 เล่มจบ ย่อจาก 45 เล่ม บาลี 500.-



หนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลไทย

หนังสือวิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น

เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา

หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ราคาเล่มละ 700 บาท
พุทธธรรมฉบับปรับขยาย (ล่าสุด)


แบบตู้พระไตรปิฎกทั้งหมด

ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดีตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดีตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดีตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี



ตู้พระไตรปิฎก 91 เล่ม ไทย



ตู้พระไตรปิฎก 91 เล่ม ไทย



ตู้พระไตรปิฎก ฉบับแก่นธรรม

 



ตู้หนังสือ ทั่วไป

 

 

ชุดพระมาลัยคัมภีร์แผ่นพับ พร้อมกล่องบรรจุลงรักปิดทองทั้งหลัง ราคา 6500 บาท
ชุดพระมาลัยคัมภีร์แผ่นพับ พร้อมกล่องบรรจุลงรักปิดทองทั้งหลัง ราคา 6500 บาท



หีบบรรจุ พร้อมกับ
คัมภีร์ พระมาลัย (พระอภิธรรม) 5,000.-

ชุด พระคัมภีร์ ใบลาน เทศน์มหาชาติ ธรรมวัตร 

ราคา ทั้งชุด 4,700.- บาท

(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย โดยบริษัทขนส่งทั่วประเทศ)
หีบบรรจุ
คัมภีร์ ใบลานมหาชาติ ธรรมวัตร 4,700.-



หีบบรรจุ
คัมภีร์ ใบลานมหาชาติ ทำนองภาคกลาง
สำหรับ วัดพระอารามหลวง 5,000.-


ชุด พระคัมภีร์ ใบลาน เทศน์มหาชาติ ภาคอีสาน ราคา ทั้งชุด 5,000.- บาท

(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย โดยบริษัทขนส่งทั่วประเทศ)

หรือ ที่เรียกว่า ลำมหาชาติ เป็น เทศน์มหาชาติภาคอีสาน 
ที่บรรจงสรรสร้างขึ้นจากใบลานริมทอง แท้ อย่างดี

พร้อมหีบบรรจุ แบบลงรักปิดทองสวยงาม ทำให้ผู้ที่สนใจศึกษา
หรือจะถวายพระภิกษุ ในงานพิธีสงฆ์ มีความรู้สึกปลาบปลื้มยินดี
ที่จักได้รับ พระคัมภีร์ชุดนี้ ไว้ศึกษาต่อไป
หีบบรรจุ
คัมภีร์ ใบลานมหาชาติ มหาชาติ
ลำมหาชาติ (ภาคอีสาน) 5,000.-


ต้นไม้ตรัสรู้-งานหัตถกรรมจากเนื้อโลหะ-ลงรักปิดทอง
 
ดอกบัว-ลงรักปิดทอง-ประดับกระจกคละสี-2200บาท
ใบโพธิ์ทอง

ใบโพธิ์สีทอง

 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


หนังสือพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้
สำหรับพระภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะ

 

คำปรารภในการจัดทำพระไตรปิฎก

วารสาร Manusya: Journal of Humanities
ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและ
จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับพิเศษ ๔, ๒๐๐๒
ว่าด้วยพระไตรปิฎก ได้ตีพิมพ์บทความของ
อาตมภาพ เรื่อง "What a true Buddhist
should know about the Pali Canon"
(หน้า ๙๓-๑๓๒)บทความข้างต้นนั้น เป็นคำแปล
ภาษาอังกฤษของเนื้อความที่เลือกมา จากข้อเขียน
ภาษาไทยของอาตมภาพ ๓ เรื่อง ผู้แปลคือ
ดร.สมศีล ฌานวังศะราชบัณฑิต และ
รองศาสตราจารย์แห่งสถาบันภาษาจุฬลงกรณ์มหา
วิทยาลัยได้เลือกเนื้อความจากแหล่งทั้งสามนั้นมา
จัดเรียงให้เป็นบทความที่สั้นลง แต่มี
สาระจบสมบูรณ์ในตัว

บัดนี้ ผู้แปล โดยการสนับสนุนของคณะผู้ศรัทธา มีอาจารย์ภาวรรณ
หมอกยา แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น ได้ขอ
อนุญาตนำบทความดังกล่าวนี้มาพิมพ์เป็นเล่มต่างหาก ชื่อว่า
พระไตรปิฎก: สิ่งที่ ชาวพุทธต้องรู้ เพื่อเผยแพรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
อาตมภาพ ขออนุโมทนา เพราะ บทแปลที่จัดเรียงใหม่นี้เป็นประมวล
ความ ที่กะทัดรัด จะเป็นคู่มือในการศึกษา พระไตรปิฎก ช่วยเสริมความ
เข้าใจ ในพระพุทธศาสนา ได้พอสมควร อนึ่ง เพื่อเสริมคุณค่าของ
หนังสือเล่มนี้ ผู้แปลได้นำเนื้อหาภาษาไทย ที่สอดคล้อง
กันมาบรรจ
ลงไปด้วยในหน้าที่คู่กับ ฉบับแปล พร้อมทั้งปรับถ้อย ความทั้งสองฉบับ
ให้เข้ากัน จึงหวังว่า ผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง จักได้รับ
ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการอ่านเนื้อหาทั้งสองภาษาควบคู่กัน
พระธรรมปิฎก
๒๔ เมษายน ๒๕๔๖

หนังสือพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้

พระไตรปิฎก-สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้-พระพรหมคุณาภรณ์-ราคาธรรมทาน27บาท
http://www.trilakbooks.com/product/1208184/พระไตรปิฎก-สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้-พระพรหมคุณาภรณ์-ราคาธรรมทาน27บาท.html

............................................................................

สารบัญ หัวข้อภายในหนังสือพระไตรปิฎกเล่มนี้

คำปรารภ
บทคัดย่อ
บทนำ
พระพุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา
พระพุทธพจน์: แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎก: ข้อควรรู้เบื้องต้น
ภาคหนึ่ง
ความสำคัญของพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎกกับพระรัตนตรัย
พระไตรปิฎกกับพุทธบริษัท ๔
พระไตรปิฎกกับพระสัทธรรม ๓
พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา
สังคายนา: การซักซ้อมทบทวนพุทธพจน์
การสังคายนาคืออะไร
ปฐมสังคายนา
กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
พระไตรปิฎกเกิดขึ้นได้อย่างไร?
พระไตรปิภูกมีการรักษาสืบทอดมาถึงเราได้อย่างไร?
พระไตรปิฎกที่มีการท่องจำมีความแม่นยำเพียงไร?
พระไตรปิฎกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเล่า?
ฉัฏฐสังคีติและภายหลังจากนั้น
ภาคสอง
พระไตรปิฎกเข้ากันได้กับสถานการณ์ของโลกปัจจุบัน
การจัดหมวดหมู่คัมภีร์ในพระไตรปิฎก
สรุปสาระของพระไตรปิฎก ๔๕ เล๊ม (เรียงตามลำดับเล่ม)
พระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก
พระอภิธรรมปิฎก
อรรถกถาและคัมภีร์ชั้นหลัง
บัญชีลำดับเล่มพระไตรปิฎกจับคู่กับอรรถกถา
คัมภีร์สำคัญอื่นๆ
บทสรุป
บันทึกของผู้แปล

............................................................................

บทคัดย่อ
หนังสือพระไตรปิฎกสิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้

พระไตรปิฎก คือคัมภีร์ที่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือพระธรรมวินัย
สถิตอยู่ คำว่า ติปิฎก ในภาษาบาลีแปลว่า "ตะกร้า ๓ ใบ (ที่บรรจุ
คำสอน!" หมายถึงหลักคำสอนหมวดใหญ่ ๓ หมวด
เนื่องจากพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า พระธรรมวินัยจะเป็นศาสดา
แทนพระองค์ภายหลังที่พระองค์ล่วงลับไปแล้ว พระไตรปิฎกจึงเป็นที่ที่
ชาวพุทธ ยังสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดาของตน และศึกษาพระปริยัติ
ศาสน์ แม้พระองค์ จะเสด็จปรินิพพานไปกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้วก็ตาม
การสังคายนาครั้งแรก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการรวบรวมและจัด
หมวดหมู่ พุทธพจน์ ได้จัดขึ้นภายหลังจากพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน
เนื่องจากเป็นการ ดำเนินการโดยที่ประชุมพระอรหันตเถระ ๕๐๐ องค์
การสังคายนาครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ดังที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ใน ระหว่างการสังคายนา เมื่อมีการลงมติ
ยอมรับคำสอนส่วนใดแล้ว ที่ประชุมก็ จะสวดพร้อมๆ กัน เนื้อหาที่สวด
นี้จึงถือเป็นการรับรองว่าให้ใช้เป็นแบบแผน ที่จะต้องทรงจำชนิดคำ
ต่อคำเพื่อถ่ายทอดแก่ผู้อื่นและสืบทอดแก่อนุชน คำสอนดังที่สืบทอด
กันมาด้วยปากเปล่าเช่นนี้ได้จารึกเป็นลายลักษณ์ อักษรเป็นครั้งแรก
ในคราวสังคายนาครั้งที่ ㆍ ที่จัดขึ้นในประเทศศรีลังกา เมื่อราวปี
พ.ศ. ๔๖๐ หลังจากเวลาผ่านไป ๒,๕๐๐ ปีและภายหลังการสังคายนา
ครั้งสำคัญ ๖ ครั้ง พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
เป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไปว่าเป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที
เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุดสมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด
ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

............................................................................

ในฐานะที่เป็นแหล่งอ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด พระไตรปิฎกใช้เป็น
มาตรฐานหรือเกณฑ์ตัดสินว่าคำสอนหรือวิธีปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด
เป็นของ พระพุทธศาสนาจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่
และความรับผิดชอบของชาว พุทธทุกคนที่จะรักษาปกป้องพระไตรปิฎก
ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อ การอยู่รอดของพระพุทธศาสนา
และดังนั้นจึงหมายถึงต่อประโยชน์สุขของ ชาวโลกด้วย
หนังสือเล่มนี้จะบรรยายเรื่องราวทั่วไปเกี่ยวกับพระไตรปิฎก ด้วยการ
กล่าวถึงปัญหาสำคัญๆ เช่น พระไตรปิฎกคืออะไร? ทำไมจึงมีความ
สำคัญ มาก? การสังคายนาคืออะไร และดำเนินการอย่างไร?
พระไตรปิฎกมีการ รักษาสืบทอดมาถึงเราได้อย่างไร? มีความสัมพันธ์
เกี่ยวข้องกับโลกยุค ปัจจุบันอย่างไร? นอกจากนี้ยังได้สรุปสาระ
โดยย่อของพระไตรปิฎกพร้อมทั้ง กล่าวถึงคัมภีร์ประกอบอีกด้วย

............................................................................

 

บทนำ
พระพุทธศาสนาไม่ใช่ปรัชญา
ก่อนที่จะกล่าวถึงเรื่องพระไตรปิฎกต่อไป เราจำต้องแยกให้ออก
ระหว่างปรัชญากับศาสนา ปรัชญาเป็นเรื่องของการคิดหาเหตุผลเป็น
สำคัญและถกเถียงกันในเรื่องเหตุผลนั้นเพื่อสันนิษฐานความจริง
เรื่องที่ถกเถียง หรือคิดหานั้นอาจจะไม่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่เป็นอยู่
เช่น นักปรัชญา อาจจะถกเถียงกันว่า จักรวาลเกิดขึ้นเมื่อไรและจะไป
สิ้นสุดเมื่อไร โลกจะแตกเมื่อไร ชีวิตเกิดขึ้นเมื่อไร เป็นต้น และ
นักปรัชญาก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินชีวิตตามหลักการอะไร หรือแม้แต่ให
้สอดคล้องกับสิ่งที่ตนคิด เขาคิดหาเหตุผลหาความจริงของเขาไป
โดยที่ว่าชีวิตส่วนตัวอาจจะเป็นไปในทางที่ตรง ข้ามก็ได้ เช่น นักปรัชญา
บางคนอาจจะเป็นคนคุ้มดีคุ้มร้าย บางคนสำมะเลเทเมา บางคนมีทุกข์
จนกระทั่งฆ่าตัวตายแต่ศาสนาเป็นเรื่องของการปฏิบัติ เรื่องของการ
ดำเนินชีวิตหรือการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตจริง การปฏิบัตินั้น
ต้องมีหลักการที่แน่นอนอย่างใดอย่างหนึ่งที่ยอมรับว่าเป็นจริง
โดยมีจุดหมายที่แสดงไว้อย่างชัดเจน ด้วย

เพราะฉะนั้นผู้ปฏิบัติคือศาสนิกชน เริ่มต้นก็ต้องยอมรับที่จะปฏิบัติ
ตามหลักการของศาสนานั้น ตามที่ องค์พระศาสดา ได้แสดงไว้
ซึ่งเราเรียกว่าคำสอน ด้วยเหตุนี้ ศาสนิกจึงมุ่งไปที่ตัวคำสอน
ของพระศาสดาซึ่งรวบรวมและรักษาสีบทอดกันมาในสิ่งที่เรียกกันว่า
คัมภีร์เมื่อมองในแง่นี้ พระพุทธศาสนาจึงมิใช่เป็นปรัชญา แต่เป็น
ศาสนา มีพระสมณ์โดดมเป็นพระศาสดา ซึ่งชาวพุทธทุกคนเชื่อในการ
ตรัสรู้ของ พระองค์ สอนวิธีการดำเนินชีวิตที่เมื่อถึงที่สุดแล้วจะนำไปสู่
เป้าหมาย คือการหลุดพ้นจากความทุกข์ คัมภีร์ขนาดใหญ่ที่บรรจุหลัก
คำสอนเรียกว่าพระไตรปิฎก ชาวพุทธที่แท้จะต้องปฏิบัติตามคำสอน
ให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้รับ

............................................................................

ประโยชน์จากพระศาสนามากที่สุด และเพื่อเป็นหลักประกันวิธี
ปฏิบัติที่ถูกต้องก็จำเป็นต้องมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่อง
พระไตรปิฎก


พระพุทธพจน์: แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
คำว่า พระพุทธศาสนา ว่าโดยทั่วไป มีความหมายกว้างมาก รวมตั้งแต่
หลักธรรม พระสงฆ์ องค์กร สถาบัน กิจการ ไปจนถึงศาสนสถาน
และศาสนวัตถุ ทุกอย่าง แต่ถ้าจะเจาะลงไปให้ถึงความหมายแท้ที่
เป็นตัวจริงพระพุทธศาสนาก็มีความหมายตรงไปตรงมาตามคำแปล
โดยพยัญชนะของคำว่า พระพุทธศาสนา นั้นเองว่า "คำสั่งสอนขอ
งพระพุทธเจ้า" นี้คือตัวแท้ตัวจริงของพระพุทธศาสนา สิ่งอื่นนอกจากนี้
เป็นส่วนขยายออกหรืองอกขึ้นมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น


เมื่อจับความหมายที่เป็นตัวแท้ได้แล้ว ก็จะมองเห็นว่า ความดำรงอยู่
ของพระพุทธศาสนา หมายถึงความคงอยู่แห่งคำสอนของพระพุทธเจ้า
หาก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเลือนลางหายไป แม้จะมีบุคคล กิจการ
ศาสนสถาน และศาสนวัตถุใหญ่โตมโหฬารมากมายเท่าใด ก็ไม่อาจถือ
ว่ามีพระพุทธศาสนา แต่ในทางตรงข้าม แม้ว่าสิ่งที่เป็นรูปธรรม
ภายนอก ดังกล่าวจะสูญหาย ถ้าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่
คนก็ยังรู้จัก พระพุทธศาสนาได้ ด้วยเหตุนี้ การดำรงรักษา
พระพุทธศาสนาที่แท้จริง จึง หมายถึงการดำรงรักษาคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า กล่าวให้เฉพาะลงไปอีก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ก็ได้แก่พุทธพจน์ หรือพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง ดังนั้น
ว่าโดยสาระ การดำรง รักษา พระพุทธศาสนา
จึงหมายถึงการดำรงรักษาพระพุทธพจน์

............................................................................

อนึ่ง พระพุทธพจน์นั้น เป็นพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงธรรม
และบัญญัติวินัยไว้ ก่อนพุทธปรินิพพานไม่นาน พระพุทธเจ้า
ตรัสไว้เองว่าจะไม่ทรงตั้งพระภิกษองค์ใดเป็นศาสดาแทนพระองค์
เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไป แต่ได้ทรงมอบหมายให้ชาวพุทธ
ได้รู้กันว่า พระธรรมวินัยนั้นแหละเป็นพระศาสดาแทนพระองค์
ชาวพุทธจำนวนมากถึงกับจำพุทธพจน์ภาษา บาลีได้ว่า


โย โว อานนุท มยา ธมุโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต
โส โว มมจุจเยน สตุถา
"ดูก่อนอานนท์! ธรรมและวินัยใด ที่เราได้แสดงแล้ว และ
บัญญัติแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น จักเป็น
ศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป"
โดยนัยนี้ พระพุทธพจน์ จึงเป็นทั้งพระพุทธศาสนาคือคำตรัสสอนของ
พระพุทธเจ้า และที่ธำรงสถิตพระศาสดา โดยทรงไว้และประกาศพระ
ธรรมวินัยแทนพระพุทธองค์


พระไตรปิฎก: ข้อควรรู้เบื้องต้น
คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ คือพระธรรมวินัย มีชื่อที่ชาวตะวันตกรู้จักกัน
โดยทั่วไปว่า Pali Canon หรือ Buddhist Canon ทั้งนี้ก็เพราะว่า เป็นที่
ประมวลหลักการพื้นฐานของศาสนา (=canon) ซึ่งในที่นี้เกี่ยวกับพระพุทธ-
ศาสนา (=Buddhist) และข้อความในคัมภีร์นี้บันทึกด้วยภาษาบาลี (-Pali)
แต่คำบาลีที่เรียก พระไตรปิฎก ก็คือ ติปิฎก จากคำว่า ติ "สาม" + ปิฎก
"ตำรา, คัมภีร์, หรือ กระจาด (อันเป็นกาชนะบรรจุของ)" ซึ่งตามตัวอักษรใช้
หมายถึงคำสอนหมวดใหญ่ ๓ หมวด คือ
พระวินัยปิฎก ได้แก่ประมวลระเบียบข้อบังคับของบรรพชิตที่
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุและภิกษุณี

............................................................................

พระสุตตันตปิฎก ได้แก่ประมวลพระสูตรหรือคำสอนที่พระพุทธเจ้าทรง
แสดงยักเยื้องไปต่างๆ ให้เหมาะกับบุคคลสถานที่เหตุการณ์
มีเรื่องราวประกอบ พระอภิธรรมปิฎก ได้แก่ประมวลคำสอนที่เป็น
เนื้อหาหรือหลักวิชา ล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์
ไม่มีเรื่องราวประกอบ อันที่จริง พระไตรปิฎกมิใช่คัมภีร์เพียงเล่มเดียว
แต่เป็นคัมภีร์ชุดใหญ่ ที่มีเนื้อหาถึง ๘๔,0๐. พระธรรมชันธ์
ฉบับพิมพ์ด้วยอักษรไทยนิยมจัดแยกเป็น ๔๕ เล่ม
เพื่อหมายถึงระยะเวลา ๔๕ พรรษาแห่งพุทธกิจ
นับรวมได้ถึง ๒๒,๓๗๙ หน้า (ฉบับสยามรัฐ หรือเป็นตัว
อักษรประมาณ ๒๔,๓๐๐,๐๐๐ ตัว
แต่ละปิฎกมีการจัดแบ่งหมวดหมู่บทตอน
ซอยออกไปมากมายซับซ้อน
(โปรดดูเค้าโครงในการจัดหมวดหมูในแผนภูมิหน้า ๓๓)

............................................................................

ภาคหนึ่ง
ความสำคัญของพระไตรปิฎก

ความสำคัญของพระไตรปิฎกต่อการธำรงรักษาพระศาสนานั้น เราจะ
เข้าใจได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่อมองเห็นความสัมพันธ์ของพระไตรปิฎกกับ
ส่วนอื่นๆของพระพุทธศาสนา


ㆍ พระไตรปิฎกกับพระรัตนตรัย
เหตุผลหลักที่พระไตรปิฎกมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดก็คือ เป็นที่รักษา
พระรัตนตรัย ซึ่งเป็นไตรสรณะของชาวพุทธทุกคนเช่นกัน ดังนี้


(๑) พระไตรบิฎกเป็นที่สถิตของพระพุทธเจ้า อย่างที่ได้บอกตั้งแต่ต้น
แล้วว่า ธรรมวินัยจะเป็นศาสดาแทนพระองค์ เมื่อพระองค์
ปรินิพพานไปแล้วในแง่นี้ ชาวพุทธจึงยังคงสามารถเข้าเฝ้าพระศาสดา
ในพระไตรปิฎกได้ แม้พระองค์จะล่วงลับไปกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้วก็ตาม


(๒) พระไตรบิฎกทำหน้าที่ของพระธรรม เรารู้จักพระธรรมวินัย คือ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎก พระธรรมวินัยนั้น
เราเรียกสั้นๆว่า พระธรรม เวลาเราจะแสดงอะไรเป็นสัญลักษณ์แทน
พระธรรม เราก็มักใช้พระไตรปิฎกเป็นเครื่องหมายของพระธรรม


(๓) พระไตรบิฎกเป็นที่รองรับพระสงฆ์ พระสงฆ์นั้นเกิดจากพุทธบัญญัติ
ในพระไตรปิฎก หมายความว่า พระภิกษุทั้งหลายที่รวมเป็น
ภิกขุสังฆะคือภิกษุสงฆ์นั้น บวชขึ้นมาและอยู่ได้ด้วยพระวินัย
วินัยปิฎกเป็นที่บรรจุไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ กติกา ที่รักษาไว้ซึ่งภิกขุสังฆะ
ส่วนสังมะนั้นก็ทำหน้าที่เป็นผู้ที่จะรักษาสืบทอดพระศาสนา
สังมะจึงผูกพันเนื่องอยู่ด้วยกันกับพระไตรปิฎก

รวมความว่า พระรัตนตรัย ต้องอาศัยพระไตรปิฎกเป็นที่ปรากฏตัวแก่
ประชาชนชาวโลก เริ่มตั้งแต่พุทธศาสนิกชนเป็นต้นไป พระไตรปิฎก
จึงมีความสำคัญในฐานะเป็นที่ปรากฎของพระรัตนตรัย ดังนั้น
การธำรงพระไตรปิฎกจึงเป็นการธำรงไว้ซึ่งพระรัตนตรัย
ซึ่งก็คือการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา


ㆍ พระไตรปิฎกกับพุทธบริษัท ๔
พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า พระองค์จะปรินิพพานต่อเมื่อพุทธบริษัท ๔
คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลายทั้งปวง คือ พระภิกษุ
ทั้งเถระ ทั้งมัชฌิมะ ทั้งนวกะ ภิกษุณีก็เช่นเดียวกัน พร้อมทั้งอุบาสก
อุบาสิกา ทั้งที่ถือพรหมจรรย์ และที่เป็นผู้ครองเรือนทั้งหมด
ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะรักษาพระศาสนาได้ คือ

(๑) ต้องเป็นผู้มีความรู้ เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ดี
และประพฤติปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอน

(๒) นอกจากรู้เข้าใจเอง และปฏิบัติได้ดีแล้ว ยังสามารถบอกกล่าว
แนะนำสั่งสอนผู้อื่นได้ด้วย

(๓) เมื่อมีปรัปวาทเกิดขึ้น คือ คำจ้วงจาบสอนคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยน
จากพระธรรมวินัย ก็สามารถชี้แจงแก้ไขได้ด้วย
ตอนที่พระองค์จะปรินิพพานนั้น มารก็มากราบทูลว่า เวลานี้พุทธ-
บริษัท ๔ มีคุณสมบัติพร้อมอย่างที่พระองค์ได้ตรัสเหมือนกับเป็น
เงื่อนไขไว้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าเป็นอย่างนั้น
จึงทรงรับที่จะปรินิพพาน โดยทรงปลงพระชนมายุสังขาร
พุทธดำรัสนี้ ก็เหมือนกับว่าพระพุทธเจ้าทรงฝากพระพุทธศาสนา
ไว้กับพุทธบริษัททั้ง ๔ แต่ต้องมองให้ตลอดด้วยว่า ทรงฝาก
พระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัทที่เป็นอย่างไร

ชาวพุทธจะเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องที่จรรโลงพระศาสนา
ไว้ก็เริ่มด้วยมีคัมภีร์ที่จะให้เรียนรู้เข้าใจพระธรรมวินัย
อันเป็นของแท้ก่อน เป็นอันว่า ในแง่นี้พระไตรปิฎก
ก็เป็นหลักของพุทธบริษัท ต้องอยู่คู่กับพุทธบริษัท
โดยเป็นฐานให้แก่พุทธบริษัท ซึ่งจะทำให้ชาวพุทธ
เป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะรักษาพระศาสนาไว้ได้
สองฝ่ายนี้ คือ ตัวคนที่จะรักษาพระศาสนา
กับตัวพระศาสนาที่จะต้อง รักษา ต้องอาศัย
ซึ่งกันและกัน พระศาสนาจะดำรงอยู่และ
จะเกิดผลเป็นประโยชน์ ก็ต้องมาปรากฎ
ที่ตัวพุทธบริษัท < ต้องอาศัยพุทธบริษัท
< เป็นที่ รักษาไว้ พร้อมกันนั้นในเวลาเดียวกัน
พุทธบริษัท ๔ จะมีความหมายเป็น พุทธบริษัทขึ้นมาได้ และจะได้ประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
ก็เพราะมี ธรรมวินัยที่รักษาไว้ในพระไตรปิฎกเป็นหลักอยู่

พระไตรปฎกกับพระสัทธรรม ๓
อีกแง่หนึ่ง พระพุทธศาสนานี้ ตัวแท้ตัวจริงถ้าสรุปง่ายๆ
ก็เป็น ๓ ดังที่เรียกว่าเป็น สัทธรรม ๓ คือ
ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ปริยัติ
ก็คือพุทธพจน์ที่เรานำมาเล่าเรียนศึกษา ซึ่งอยู่ในพระไตรปิฎกถ้าไม่มีพระไตรปิฎก
พุทธพจน์ก็ไม่สามารถมาถึงเราได้ เราอาจกล่าวได้ว่า
ปริยัติเป็นผลจากปฏิเวธ และเป็นฐานของการปฏิบัติ


พระพุทธเจ้าเมื่อทรงบรรลุผลการปฏิบัติของพระองค์แล้ว จึงทรงนำ
ประสบการณ์ที่เป็นผลจากการปฏิบัติของพระองค์นั้นมาเรียบเรียง
ร้อยกรองสั่งสอนพวกเรา คือทรงสั่งสอนพระธรรมวินัยไว้ คำสั่งสอน
ของพระองค์นั้นก็มาเป็นปริยัติของเรา คือเป็นสิ่งที่เราจะต้องเล่าเรียน
แต่ปริยัติที่เป็นผลจากปฏิเวธนั้น หมายถึงปฏิเวธของพระพุทธเจ้า
โดยเฉพาะ คือผลการปฏิบัติของ พระพุทธเจ้า และที่พระพุทธเจ้า
ทรงยอมรับเท่านั้น ไม่เอาผลการปฏิบัติของ โยคี ฤๅษี ดาบส นักพรต
ชีไพร อาจารย์ เจ้าลัทธิ หรือศาสดาอื่นใด

ถ้าไม่ได้เล่าเรียนปริยัติ ไม่รู้หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า การปฏิบัติ
ของเราก็เขว ก็ผิด ก็เฉไฉ ออกนอกพระพุทธศาสนา ถ้าปฏิบัติผิด
ก็ได้ผลที่ ผิด หลอกตัวเองด้วยสิ่งที่พบซึ่งตนหลงเข้าใจผิด
ปฏิเวธก็เกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีปริยัติเป็นฐาน ปฏิบัติและปฏิเวธ
ก็พลาดหมด เป็นอันว่า ล้มเหลวไปด้วยกัน
พูดง่ายๆ ว่า จากปฏิเวธของพระพุทธเจ้า ก็มาเป็นปริยัติของเรา แล้ว
เราก็ปฏิบัติตามปริยัตินั้น เมื่อปฏิบัติถูกต้อง ก็บรรลุปฏิเวธอย่าง
พระพุทธเจ้า ถ้าวงจรนี้ยังดำเนินไป พระศาสนาของพระพุทธเจ้า
ก็ยังคงอยู่ปริยัติที่มาจากปฏิเวธของพระพุทธเจ้า และเป็นฐาน
แห่งการปฏิบัติของพวกเราเหล่าพุทธบริษัททั้งหลาย ก็อยู่ใน
พระไตรปิฎกนี้แหละฉะนั้น มองในแง่นี้ก็ได้ความหมายว่า
ถ้าเราจะรักษาปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธไว้ ก็ต้องรักษา
พระไตรปิฎกนั่นเอง ตกลงว่า ในความหมายที่จัดแบ่งตัวพระศาสนา
เป็นสัทธรรม ๓ หรือ บางทีแยกเป็นศาสนา ๒ คือ ปริยัติศาสนา
กับ ปฏิบัติศาสนา นั้น รวมความ ก็อยู่ที่พระไตรปิฎกเป็นฐาน
จึงต้องรักษาพระไตรบิฎกไว้ เมื่อรักษาพระไตรปิฎกได้ ก็รักษา
พระพุทธศาสนาได้


ㆍ พระไตรปิฎกกับไตรสิกขา
อีกแง่หนึ่ง เราอาจมองลึกลงไปถึงชั้นที่เอาพระพุทธศาสนาเป็นเนื้อ
เป็นตัวของเรา หรือเป็นชีวิตของแต่ละคน พระพุทธศาสนาใน
ความหมายที่เป็นแก่นสารแท้ๆ ก็คือผลที่เกิดขึ้นเป็นความดี
เป็นความเจริญก้าวหน้างอกงามขึ้น หรือเป็นการพัฒนา ขึ้นของ
ไตรสิกขาในชีวิตของเรานี้เอง

พระพุทธศาสนาชนิดที่เป็นเนื้อเป็นตัวเป็นชีวิตของเรานี้ ก็ต้องอาศัย
พระไตรปิฎกอีกเช่นกัน เพราะว่าพระพุทธศาสนาในความหมายนี้
หมายถึง การที่สามารถละโลภะ โทสะ โมหะ ได้ การที่จะละ โลภะ
โทสะ โมหะ ได้ ก็
ด้วยการปฏิบัติตาม ศีล สมาธิ ปัญญา อนึ่ง ในการจัดระเบียบ
หมวดหมู่คำสอนเป็นพระไตรปิฎก ตามที่นิยมสืบ กันมา จะนำแต่ละ
ปิฎกไปเชื่อมโยงสัมพันธ์กับไตรสิกขาแต่ละข้อ ดังนี้

ㆍ พระวินัยปิฎก เป็นแหล่งที่รวมศีลของพระสงฆ์ ทั้งศีล ๒๒๗ ข้อ
ในปาติโมกข์กับศีลนอกปาติโมกข์ พระวินัยปิฎกจึงถือเป็นเรื่องวินัย
หรือเรื่องศีล คือการฝึกหัดพัฒนาพฤติกรรมที่แสดงออกทางกาย
และวาจา

ㆍ พระสุตตันตปิฎก ความจริงมีครบหมด มีทั้งศีล สมาธิ
ปัญญา แต่ ท่านชี้ให้เห็นจุดเด่นของพระสุตตันตปิฎกว่าเน้นหนัก
ในสมาธิ คือ การพัฒนา ด้านจิตใจ

ㆍ พระอภิธรรมปิฎก เน้นหนักด้านปัญญา พูดอย่างปัจจุบันว่าเป็น
เนื้อหาทางวิชาการล้วนๆ ยกเอาสภาวธรรมที่ละเอียดประณีต
ลึกซึ้งขึ้นมา วิเคราะห์วิจัย จึงเป็นเรื่องของปัญญา ต้องใช้ปรีชาญาณ
อันลึกซึ้ง ถ้าใครปฏิบัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญา ที่แสดงไว้ใน
พระไตรปิฎก ชีวิตของผู้นั้นจะกลายเป็นเหมือนตัวพระพุทธศาสนาเอง
เหมือนดังว่าเรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ด้วยชีวิตของเรา ตราบใด
ชีวิตเรายังอยู่พระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ เราอยู่ไหน เราเดินไปไหน
พระพุทธศาสนาก็อยู่ที่ นั่นและก้าวไปถึงนั่น
อย่างนี้เรียกว่าพระพุทธศาสนาอยู่ด้วยวิธีการรักษาอย่างสูงสุด
พูดได้ ว่า พระไตรปิฎกเข้ามาอยู่ในเนื้อตัวของคนแล้ว
ไม่ใช่อยู่แค่เป็นตัวหนังสือ

แต่ก่อนจะมาอยู่ในตัวคนได้ ก็ต้องมีคัมภีร์พระไตรปิฎกนี้แหละเป็น
แหล่งบรรจุรักษาไว้ แม้แต่เราจะปฏิบัติให้สูงขึ้นไป เราก็ต้องไป
ปรึกษาพระ อาจารย์ที่เรียนมาจากพระไตรปิฎก หรือจากอาจารย
์ที่เรียนต่อมาจากอาจารย์ รุ่นก่อนที่เรียนมาจากพระไตรปิฎก ซึ่งอาจ
จะถ่ายต่อกันมาหลายสิบทอด ถ้าเราอ่านภาษาบาลีได้ ก็ไปค้น
พระไตรปิฎกเอง ถ้าไม่ได้ ก็ไปถามพระอาจารย์ผู้รู้ ให้ท่านช่วยค้นให้
เมื่อค้นได้ความรู้ในหลักคำสอนมาแล้ว เราก็สามารถปฏิบัติ ถูกต้อง
ให้เจริญงอกงามในศีล สมาธิ ปัญญา ยิ่งๆ ขึ้นไป

สรุปว่า เราชาวพุทธอิงอาศัยพระไตรปิฎกโดยตรง
ด้วยการนำหลักคำ สอนมาปฏิบัติให้เกิดผลในชีวิตจริง


สังคายนา: การซักซ้อมทบทวนพุทธพจน์
การสังคายนาคืออะไร

ในเมื่อการดำรงรักษาพระพุทธพจน์เป็นสาระของการดำรง
รักษาพระพุทธศาสนาอย่างนี้ จึงถือเป็นความจำเป็นและ
สำคัญสูงสุดใน พระพุทธศาสนา ที่จะดำรงรักษาพระพุทธพจน์
ดังนั้น ความพยายามรักษาพระพุทธพจน์จึงมีตลอดมา
ตั้งแต่ พุทธกาล คือตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชม์อยู่
ตอนนั้นก็ปลายพุทธกาลแล้ว นิครนถนาฏบุตรผู้เป็นศาสดาของ
ศาสนาเชนได้สิ้นชีวิตลง สาวกของท่านไม่ได้รวบรวมคำสอนไว้
และไม่ได้ตก ลงกันไว้ให้ชัดเจน ปรากฏว่าเมื่อศาสดาของ
ศาสนาเชนสิ้นชีวิตไปแล้ว สาวก ลูกศิษย์ลูกหาก็แตกแยก
ทะเลาะวิวาทกันว่า ศาสดาของตนสอนว่าอย่างไร

ครั้งนั้น ท่านพระจุนทเถระได้นำข่าวนี้มากราบทูลแด่
พระพุทธเจ้า และ พระองค์ได้ตรัสแนะนำให้พระสงฆ์ทั้งปวง
ร่วมกันสังคายนาธรรมทั้งหลายไว้ เพื่อให้พระศาสนาดำรง
อยู่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์สุขแก่พหูชน เวลานั้น พระสารีบุตร
อัครสาวกยังมีชีวิตอยู่ คราวหนึ่งท่านปรารภเรื่อง นี้แล้วก็
กล่าวว่า ปัญหาของศาสนาเชนนั้นเกิดขึ้นเพราะว่าไม่ได้
รวบรวมร้อย กรองคำสอนไว้ เพราะฉะนั้นพระสาวกทั้งหลาย
ทั้งปวงของพระพุทธเจ้าของ เรานี้ ควรจะได้ทำการสังคายนา
คือรวบรวมร้อยกรองประมวลคำสอนของ พระองค์ไว้
ให้เป็นหลัก เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน เมื่อปรารภ
เช่นนี้แล้วพระสารีบุตรก็ได้แสดงวิธีการสังคายนาไว้เป็น
ตัวอย่าง เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าซึ่งมีพระสงฆ์ประชุม
เฝ้าพร้อมอยู่ โดย ท่านได้รวบรวมคำสอนที่พระพุทธเจ้า
ทรงแสดงไว้เป็นข้อธรรมต่างๆ มาแสดง ตามลำดับหมวด
ตั้งแต่หมวดหนึ่ง ไปจนถึงหมวดสิบ เมื่อพระสารีบุตร
แสดงจบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานสาธุการ
หลักธรรมที่พระสารีบุตรได้ แสดงไว้นี้ จัดเป็นพระสูตรหนึ่ง
เรียกว่า สังคีติสูตร แปลง่ายๆ ว่า "พระสูตร
ว่าด้วยการสังคายนา หรือสังคีติ" มีมาในพระสุตตันตปิฎก
ทีฆนิกาย วิธีรักษาพระพุทธพจน์ ก็คือการรวบรวมคำสั่งสอน
ที่พระพุทธเจ้าได้ ตรัสไว้ แล้วจัดหมวดหมูให้กำหนด
จดจำได้ง่าย และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว
แล้วสวดสาธยายพร้อมกันแสดงความยอมรับเป็นแบบแผน
เพื่อทรงจำสืบต่อกันมา วิธีการนี้เรียกว่า สังคายนา
หรือ สังคีติ ซึ่งแปลตามตัวอักษรว่าการสวดพร้อมกัน
(จาก สํ "พร้อมกัน" + คายน หรือ คีติ "การสวด"


คำว่า สังคายนา เวลาแปลเป็นภาษาอังกฤษมีใช้หลายคำ
คือ ehearsal บ้าง communal recital บ้าง
และ communal recitation บ้าง
บางทีก็ไป เทียบกับแนวคิดแบบตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
มักเรียก การสังคายนาเป็น Buddhist Council ในทางกลับกัน
คำว่า council (เช่น Vatican Council ในศาสนาคริสต์
เราก็แปลว่า สังคายนา ความหมายของทั้งสองคำนี้เทียบกัน
ได้ในบางแง่ แต่ที่ จริงไม่เหมือนกันเลย การประชุม Council
ของศาสนาคริสต์ เป็นการมาตกลงกันในเรื่องข้อ
ขัดแย้งด้านหลักคำสอน และแม้กระทั่งกำหนดหลักความ
เชื่อและวางนโยบาย ในการเผยแผ่ ศาสนาของเขา
แต่การสังคายนาในพระพุทธศาสนา เป็นการ รักษา
คำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าไว้ให้แม่นยำที่สุด
ไม่ให้ใครมาเที่ยวแก้ไข ให้คลาดเคลื่อนหรือตัดแต่งต่อเติม
ตามใจชอบ เราเพียงมาตรวจทาน มาซักซ้อมทบทวนกัน
ใครที่เชื่อถือหรือสั่งสอนคลาดเคลื่อน หรือผิดแผกไป
ก็ มาปรับให้ตรงตามของแท้แต่เดิม


ปฐมสังคายนา
แม้ว่าท่านพระสารีบุตรได้แสดงตัวอย่างวิธีการทำสังคายนาไว้ ท่านก็
ไม่ได้อยู่ที่จะทำงานนี้ต่อ เพราะว่าได้ปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้า
แต่ก็มีพระสาวกผู้ใหญ่ที่ได้ดำเนินงานนี้ต่อมาโดยไม่ได้ละทิ้ง
กล่าวคือพระมหากัสสป- เถระ ซึ่งตอนที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานนั้น
เป็นพระสาวกผู้ใหญ่ มีอายุพรรษา มากที่สุด
พระมหากัสสปเถระนั้น ทราบข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ ๙ วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทาง
อยู่พร้อมด้วยหมู่ ลูกศิษย์จำนวนมาก

เมื่อได้ทราบข่าวนั้น ลูกศิษย์ของพระมหากัสสปะจำนวนมากซึ่งยังเป็น
ปุถุชนอยู่ ก็ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้นมีพระภิกษุที่บวชเมื่อ
แก่องค์หนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้พูดขึ้นมาว่า "ท่านทั้งหลายจะร้องไห้
กันไปทำไม พระพุทธเจ้า ปรินิพพานนี้ก็ดีไปอย่าง คือว่า ตอนที่
พระองค์ยังอยู่นั้น พระองค์ก็คอยดูแล คอยกวดขัน ตรัสห้ามไม่ให้ทำ
สิ่งโน้นสิ่งนี้ แนะนำให้ทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ พวกเราก็
ลำบาก ต้องคอยระมัดระวังตัว ที่นี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วนี่
พวกเรา คงจะทำอะไรได้ตามชอบใจ ชอบอะไรก็ทำ ไม่ชอบ
อะไรก็ไม่ทำ" พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำนี้แล้ว ก็นึกคิดอยู่ในใจว่า
พระพุทธเจ้า ปรินิพพานไปใหม่ๆ แค่นี้ ก็ยังมีคนคิดที่จะ
ประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจาก พระธรรมวินัย ท่านก็เลยคิดว่าควรจะทำ
การสังคายนา ท่านวางแผนว่าจะซักชวนพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็น
พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มีอยู่สมัยนั้น ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า
ได้ฟังคำสอนของพระองค์มา โดยตรง และได้อยู่ในหมู่สาวก
ที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าอะไร เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้า จะชวนให้มาประชุมกัน มาช่วยกันแสดง
ถ่ายทอด รวบรวมประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แล้วตกลงวางมติไว้ ก็ คือคิดว่าจะทำสังคายนา


แต่เฉพาะเวลานั้น ท่านต้องเดินทางไปยังเมืองกุสินารา แล้วก็เป็น
ประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ในพระราชูปถัมภ์
ของกษัตริย์ มัลละทั้งหลาย
เมื่องานถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว ท่านก็ดำเนินงานตามที่ได้คิดไว้ คือ
ได้ชักชวนนัดหมายกับพระอรหันต์ผู้ใหญ่ เพื่อจะทำการสังคายนา
ต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องของงานใหญ่แห่งการสังคายนา ซึ่งมีการ
เตรียมการถึง ๓ เดือน ก่อนที่จะประชุมที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ณ ภูเขา
ชื่อเวภาระ นอกเมืองราชคฤห์ ในพระราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอชาตศัตรู

ในการประชุมนี้ พระมหากัสสปเถระทำหน้าที่เป็นประธาน โดยเป็น
ผู้ซักถามหลักคำสั่งสอน ซึ่งพระพุทธเจ้าเองทรงแบ่งไว้เป็น ๒ ส่วน
เรียกว่า ธรรม ส่วนหนึ่ง และ วินัย ส่วนหนึ่ง
ธรรม คือหลักคำสอนว่าด้วยความจริงของสิ่งทั้งหลาย พร้อมทั้งข้อ
ประพฤติปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำตรัสแสดงไว้โดยสอดคล้องกับ
ความจริงนั้น


ส่วน วินัย คือประมวลพุทธบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการ
เป็นอยู่ของภิกษุและภิกษุณี
ด้วยเหตุนี้จึงเรียกพระพุทธศาสนา ด้วยคำสั้นๆ ว่า ธรรมวินัย การ
สังดายนาคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเป็นการสังคายนาพระธรรมวินัย
ในการสังคายนาครั้งนี้ มีการเลือกพระเถระ ๒ องค์ที่มีความโดดเด่นใน
การทรงจำพระพุทธพจน์ได้แม่นยำ และเชี่ยวชาญในแต่ละด้านของ
พระธรรมวินัย
ฝ่ายธรรมนั้น ผู้ที่ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา
เพราะติดตามพระองค์ไป อยู่ใกล้ชิด เป็นผู้อุปัฎฐากของพระองค์
ก็คือพระ อานนท์ ที่ประชุมก็ให้พระอานนท์เป็นผู้นำเอาธรรมมาแสดง
แก่ที่ประชุม ส่วนด้านวินัย พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุบาลีไว้ว่า
เป็นเอตทัคคะ ที่ ประชุมก็คัดเลือกพระอุบาลีให้มาเป็นผู้นำในด้าน
การวิสัชนาเรื่องของวินัย เมื่อได้ตัวบุคคลเรียบร้อยแล้ว
พระอรหันต์ ๕0. องค์ก็เริ่มประชุมกัน
จากนั้นก็ให้พระเถระทั้งสององค์นำพุทธพจน์มาสาธยายแสดง
แก่ที่ประชุม โดยประธานในที่ประชุมคือพระมหากัสสปะวางแนว
การนำเสนอ ด้วยการ ซักถามอย่างเป็นระบบ คือตามลำดับและ
เป็นหมวดหมู่

พุทธพจน์ พร้อมทั้งเรื่องราวเกี่ยวข้องแวดล้อม ที่นำมาสาธยายนี้ ถ้า
เป็นครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าก็ทรงรับรองด้วยพระองค์เอง แต่ในการ
สังคายนาครั้งที่ ๑ ก็ต้องอาศัยที่ประชุมพระอรหันตเถระทั้ง ๕๐๐ องค์
รับรองแทน เมื่อได้มติร่วมกันเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องใด พระเถระ
ในที่ประชุมก็สวดพร้อมกัน เนื้อหาที่ผ่านการรับรองก็จะถือเป็นที่ยุติ
ให้เป็นแบบแผนที่จะทรงจำถ่ายทอดกันต่อมา
การประชุมเพื่อทำสังคายนาครั้งประวัติศาสตร์นี้ดำเนินอยู่เป็นเวลา
๗ เดือนจึงเสร็จสิ้น มีเรื่องราวปรากฎในพระวินัยปิฎก จุลลวรรค


กำเนิดพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
ดำสอนที่ลงมติกันไว้อย่างนี้ซึ่งเรานับถือกันมา เรียกว่า เถรวาท
แปลว่า "คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการของพระเถระ" คำว่า เถระ ในที่นี้
หมายถึงพระเถระ ๕00 องค์ผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งที่ ๑ ที่ว่าไป
แล้วนี้ พระพุท ธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรก
ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท หมายความว่า
คำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้า คือพระธรรมวินัย ทั้งถ้อยคำและเนื้อความ
อย่างไรที่ท่าน สังคายนากันไว้ ก็ทรงจำกันมาอย่างนั้น ถือตามนั้น
โดยเคร่งครัด เพราะฉะ นั้นจึงต้องรักษาแม้แต่ตัวภาษาเดิมด้วย
หมายความว่ารักษา ถ้อยคำข้อความดั้งเดิมที่เป็นของแท้ของจริง
ภาษาที่ใช้รักษาพระธรรมวินัยไว้ นี้ ได้แก่ภาษาบาลี เพราะฉะนั้น
คำสอนของเถรวาจึงรักษาไว้ในภาษาบาลี ตามเดิม
คงไว้อย่างที่ท่านสังคายนา


พระไตรปิฎกเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในการสังคายนา นอกจากจะประมวลคือรวบรวมคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้าไว้ ก็มีการจัดหมวดหมู่ไปด้วย การจัดหมวดหมู่นั้นก็เพื่อให้
ทรงจำได้สะดวก และง่ายต่อการแบ่งหน้าที่กันในการรักษา
กับทั้งเกื้อกูลต่อ การศึกษาค้นคว้าด้วย

นอกจากแบ่งโดยส่วนใหญ่เป็น ธรรม กับ วินัย แล้ว ก็ยังมีการ
จัดแยกซอยย่อยออกไปอีก
ธรรมนั้นต่างจากวินัยซึ่งมีขอบเขตแคบกว่า เพราะวินัยเป็นเรื่องของ
บทบัญญัติเกี่ยวกับการรักษาสังมะ คือคณะสงฆ์ไว้ เพื่อให้ชุมชนแห่ง
พระภิกษุและพระภิกษุณีดำรงอยู่ด้วยดี แต่ธรรมเป็นคำสอนที่ครอบคลุม
พระพุทธศาสนาทั้งหมด สำหรับพุทธบริษัททั้ง ๔ เนื่องจากธรรม
มีมากมาย จึงมีการแบ่งหมวดหมู่ออกไปอีก โดยแยกขั้นแรกเป็น
๒ ก่อน คือ


๑. ธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไปตามกาลเทศะ
เมื่อบุคคลที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปพบทูลถาม พระองค์ก็ตรัสตอบไป
คำตอบ หรือคำสนทนาที่ทรงโต้ตอบกับชาวนา พราหมณ์ กษัตริย์ หรือ
เจ้าชาย แต่ละเรื่องๆ ก็จบไปในตัว เรื่องหนึ่งๆ นี้ เรียกว่า สุตตะ
(หรือ สูตร) หนึ่งๆ ธรรมที่ตรัสแสดงแบบนี้ ได้รวบรวมจัดไว้พวกหนึ่ง
เรียกว่า สุตตันตะ (หรือ พระสูตร)


๒. ธรรมอีกประเภทหนึ่ง คือธรรมที่แสดงไปตามเนื้อหา ไม่เกี่ยวข้อง
กับบุคคลหรือเหตุการณ์ ไม่คำนึงว่าใครจะฟังทั้งสิ้น เอาแต่เนื้อหา
เป็นหลักคือเป็นวิชาการล้วนๆ
เมื่อยกหัวข้อธรรมอะไรขึ้นมา ก็อธิบายให้ชัดเจนไปเลย เช่นยกเรื่อง
ขันธ์ ๕ มา ก็อธิบายไปว่าขันธ์ นั้นคืออะไร แบ่งออกเป็นอะไรบ้าง
แต่ละ อย่างนั้นเป็นอย่างไรๆ อธิบายไปจนจบเรื่องขันธ์ หรือว่าเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาท ก็อธิบายไปในแง่ด้านต่างๆ จนกระทั่งจบเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาทนั้น ธรรมที่แสดงเอาเนื้อหาเป็นหลักอย่างนี้
ก็จัดเป็นอีกประเภทหนึ่ง เรียกว่า อภิธัมมะ (หรือ พระอภิธรรม)

วินัยเติมอีกหนึ่ง ซึ่งก็คงเป็นวินัยอยู่เท่านั้น ก็เกิดเป็นการจัดหมวด
หมู่พระ ธรรมวินัยอีกแบบหนึ่ง เป็นปีฎก ๓ ที่เรียกว่า พระไตรปิฎก
ปิฎก แปลว่า "ตะกร้า" หรือ "กระจาด" โดยมีความหมายเชิง
เปรียบเทียบว่าเป็นที่รวบรวม ตะกร้า กระจาด กระบุง หรือป้งกี๋นั้น
เป็นที่ รวบรวมทัพสัมภาระอย่างใด แต่ละปิฎกก็รวบรวมคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าที่จัดแบ่งเป็นหมวดหมูใหญ่อย่างนั้น


พระไตรปิฎกมีการรักษาสืบทอด
มาถึงเราได้อย่างไร

การสังคายนา หรือสังดีติ ครั้งที่ 3 นี้ ย่อมเป็นสังดายนาครั้งสำคัญ
ที่สุด เพราะพุทธพจน์ที่รวบรวมประมวลมาทรงจำเป็นแบบแผนหรือเป็น
มาตรฐานไว้ครั้งนี้มีเท่าใด ก็คือได้เท่านั้น ต่อจากนั้น ก็มีแต่จะต้องทรงจำ
รักษาพุทธพจน์ที่รวมได้ในสังคายนาครั้งที่ , นี้ไว้ให้ถูกต้องแม่นยำ
บริสุทธิ์ หมดจด และครบถ้วนที่สุด พูดสั้นๆ ว่าบริสุทธิ์บริบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ในเวลาหลังจากนี้ พระเถระผู้รักษาพุทธพจน์จึงเน้นวิธีการ
รักษาด้วยการสาธยายและการมอบหมายหน้าที่ในการทรงจำ
แต่ละหมวดหมู่ เป็นต้น
โดยนัยดังกล่าว การสังคายนาที่มีความหมายเป็นการรวบรวมพุทธพจน์
แท้จริง ก็มีแต่ครั้งที่ ๑ นี้ การสังคายนาครั้งต่อๆ มา ก็คือการที่พระเถระ
ผู้ทรงจำรักษาพุทธพจน์ทั้งหลายมาประชุมกัน ซักซ้อม
ทบทวนทานพุทธพจน์ ที่รักษาต่อกันมาตั้งแต่สังคายนาครั้งที่ ๑ นั้น
ให้คงอยู่บริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุด คือ ครบถ้วนแม่นย่ำและไม่มีแปลกปลอม
เนื่องจากต่อมามีภาระเพิ่มขึ้นในด้านป้องกันคำสอนและการประพฤติ
ปฏิบัติแปลกปลอม การทรงจำรักษาพุทธพจน์จึงเน้นเพิ่มขึ้นในแง่การนำ
พุทธพจน์ที่ทรงจำรักษาไว้นั้นมาเป็นมาตร์ฐานตรวจสอบคำสอน
และการปฏิบัติ ทั้งหลายที่อ้างว่าเป็นของพระพุทธศาสนา
เป็นเหตุให้คำว่า สังคายนา ใน ภาษาไทยมีนัยขยายหรืองอกออกไป
คือ ความหมายว่าเป็นการชำระสะสาง
คำสอนและวิธีปฏิบัติที่แปลกปลอม

ยิ่งกว่านั้น ในกาลนานต่อมา คนบางส่วน
ยืดเอาความหมายงอกนี้เป็น
ความหมายหลักของการสังคายนา
จนถึงกับลืมความหมายที่แท้ของการ
สังดายนาไปเลยก็มี จนกระทั่งถึงสมัย
ปัจจุบันนี้ บางทีบางคนไปไกลมากถึงกับ
เข้าใจผิดว่าผู้ประชุมสังคายนามาช่วยกัน
ตรวจสอบคำสอนในพระไตรปิฎก ว่า มีทัศนะหรือความคิดเห็นที่ผิดหรือถูกซึ่งเท่ากับ
มาวินิจฉัยว่าพระพุทธเจ้า สอนไว้ผิดหรือถูก
ที่นั่นที่นี่ แล้วจะมาปรับแก้กัน ฉะนั้น

จึงจำเป็นว่าจะต้อง เข้าใจความหมายของ
สังคายนา ให้ถูกต้อง ให้แยกได้ว่าความหมาย
ใดเป็น ความหมายที่แท้ ความหมายใด
เป็นนัยที่งอกออกมา การสังคายนา
หรือสังคีติ ในความหมายแท้ ที่เป็นการประชุมกัน ซักซ้อมทบทวนรักษาพุทธพจน์
เท่าที่มีมาถึงเราไว้ ให้ครบถ้วนแม่นยำบริสุทธิ์
บริบูรณ์ที่สุดนี้ มีความเป็นมาแยกได้เป็น
๒ ช่วง คือ ช่วงแรก ท่องทวนด้วย ปากเปล่า
เรียกว่า มุขปาฐะ และช่วงหลัง
จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า โปตถกาโรปนะ


ยิ่งกว่านั้น ในกาลนานต่อมา คนบางส่วนยืดเอา
ความหมายงอกนี้เป็น ความหมายหลักของการสังคายนา
จนถึงกับลืมความหมายที่แท้ของการ สังดายนาไปเลยก็มี
จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบันนี้ บางทีบางคนไปไกลมากถึงกับ
เข้าใจผิดว่าผู้ประชุมสังคายนามาช่วยกันตรวจสอบคำสอน
ในพระไตรปิฎก ว่ามีทัศนะหรือความคิดเห็นที่ผิดหรือถูก
ซึ่งเท่ากับมาวินิจฉัยว่าพระพุทธเจ้าสอนไว้ผิดหรือถูก ที่นั่นที่นี่
แล้วจะมาปรับแก้กัน ฉะนั้น จึงจำเป็นว่าจะต้อง เข้าใจความหมายของ
สังคายนา ให้ถูกต้อง ให้แยกได้ว่าความหมายใดเป็น ความหมายที่แท้
ความหมายใดเป็นนัยที่งอกออกมา การสังคายนา หรือสังคีติ
ในความหมายแท้ ที่เป็นการประชุมกัน ซักซ้อมทบทวน
รักษาพุทธพจน์เท่าที่มีมาถึงเราไว้ ให้ครบถ้วนแม่นยำบริสุทธิ์
บริบูรณ์ที่สุดนี้ มีความเป็นมาแยกได้เป็น ๒ ช่วง
คือ ช่วงแรก ท่องทวนด้วย ปากเปล่า เรียกว่า มุขปาฐะ
และช่วงหลัง จรึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า
โปตถกาโรปนะ


ช่วงต้น หรือยุคแรก นับแต่พุทธกาลตลอดมาประมาณ ๔๖๐ ปี
พระเถระผู้รักษาพระศาสนาทรงจำพุทธพจน์กันมาด้วยปากเปล่า
เรียกว่า มุขปาฐะ แปลง่ายๆ ว่า "ปากบอก" คือ เรียน-ท่อง-
บอกต่อด้วยปาก ซึ่งเป็นการรักษาไว้กับตัวคน ในยุคนี้มีข้อดีคือ
เนื่องจากพระสงฆ์รู้ตระหนักถึง ความสำคัญสูงสุดของการรักษา
พุทธพจน์ จึงทำให้มีความไม่ประมาท โดย ระมัดระวังอย่างยิ่ง
ที่จะให้มีการจำพุทธพจน์ไว้อย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ ถือว่าการ
รักษาพุทธพจน์นี้เป็นกิจสำคัญสูงสุดของการรักษา
พระพุทธศาสนา

การรักษาโดยมุขปาฐะ หรือมุขบารู นี้ ใช้วิธีสาธยาย
ซึ่งแยกได้เป็น ๔ ระดับ คือ
(ก) เป็นความรับผิดชอบของสงฆ์หมูใหญ่สืบกันมาตามสายอาจารย์ที่
เรียกว่า อาจริยปรัมปรา (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เถรวงส์ โดยพระเถระที่เป็น ต้นสายตั้งแต่สังคายนาครั้งแรกนั้น
เช่น พระอุบาลีเถระ ผู้เชี่ยวชาญด้าน พระวินัย
ก็มีศิษย์สืบสายและมอบความรับผิดชอบในการรักษาสั่งสอน
อธิบายสืบทอดกันมา


(ข) เป็นกิจกรรมหลักในวิถีชีวิตของพระสงฆ์ ซึ่งจะต้องเล่าเรียนปริยัติ
เพื่อเป็นฐานของการปฏิบัติที่ถูกต้อง อันจะนำไปสู่ปฏิเวธ
และการเล่าเรียน นั้นจะให้ชำนาญส่วนใด ก็เป็นไปตามอัธยาศัย
ดังนั้นจึงเกิดมีคณะพระสงฆ์ที่ คล่องแคล่วเชี่ยวชาญพุทธพจน์
ในพระไตรปิฎกต่างหมวดต่างส่วนกันออกไป เช่น มีพระสงฆ์
กลุ่มที่คล่องแคล่วเชี่ยวชาญในที่มนิกาย พร้อมทั้งคำอธิบาย
คืออรรถกถาของที่ผนิกายนั้น เรียกว่า ที่ฆภาณกะ
แม้ มัชฌิมภาณกะ สังยุตตภาณกะ อังคุตตรภาณกะ
และขุททกภาณกะ เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน


(ค) เป็นกิจวัตรของพระภิกษุทั้งหลายแต่ละวัดแต่ละหมู่ ที่จะมา
ประชุมกัน และกระทำคณสาธยาย คือสวดพุทธพจน์พร้อมๆ กัน
(การปฏิบัติอย่างนี้อาจจะเป็นที่มาของกิจวัตรในการทำวัตร
สวดมนต์เช้า-เย็น หรือเช้า-ค่ำ อย่างที่รู้จักกันในปัจจุบัน)


(ง) เป็นกิจวัตร หรือข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวันของพระภิกษุแต่ละรูป
ดังปรากฏในอรรถกถาเป็นต้นว่า พระภิกษุเมื่อว่างจากกิจอื่น เช่น เมื่ออยู่
ผู้เดียว ก็นั่งสาธยายพุทธพจน์ เท่ากับว่าการสาธยาย
พุทธพจน์นี้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งการปฏิบัติธรรมของท่าน

เนื่องจากพระภิกษุทั้งหลายมีวินัยสงฆ์กำกับให้ดำเนินชีวิตในวิถีแห่ง
ไตรสิกขา อีกทั้งอยู่ในบรรยากาศแห่งการเล่าเรียนถ่ายทอด
และหาความรู้เพื่อ นำไปสู่สัมมาปฏิบัติ จึงเป็นธรรมดาอยู่เอง
ที่ทำให้เกิดมีการรักษาคำสอนด้วย การสาธยายทบทวนตรวจสอบกัน
อยู่เป็นประจำอย่างเป็นปกติตลอดเวลา


พระไตรปิฎกที่มีการท่องจำ
มีความแม่นยำเพียงไร

หลายคนอาจสงสัยว่า เมื่อรักษาพระไตรปิฎกด้วยการทรงจำในตอน
เริ่มแรก ก็น่ากลัวว่าจะมีการคลาดเคลื่อนเลอะเลื่อนหลงลืมไป
แต่เมื่อได้พิจารณไตร่ตรอง ก็กลับเห็นได้ชัดว่า การรักษาด้วยการ
ท่อง โดยสวดเป็นหมู่คณะแล้วทรงจำไว้นั่นแหละ
เป็นวิธีที่แม่นยำยิ่งกว่ายุค
ที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรเสียอีก


ที่ว่าอย่างนั้นพราะอะไร? เพราะว่าการท่องที่จะทรงจำพระไตรปิฎก
หรือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่าธรรมวินัยนั้น
ท่านทำด้วยวิธีสวดพร้อม กัน คือ คล้ายกับที่เราสวดมนต์กัน
ทุกวันนี้แหละ เวลาสวดมนต์พร้อมกัน เช่น สวดกัน ๑๐ คน
๒๐ คน ๕0 คน ๑๐๐ คนนั้น จะต้องสวดตรงกันหมด
ทุกถ้อยคำ จะตกหล่นตัดขาดหายไปก็ไม่ได้ จะเพิ่มแม้คำเดียวก็ไม่ได้
เพราะจะขัดกัน ดีไม่ดีก็สวดล้มไปเลย

เพราะฉะนั้น การที่จะสวดโดยดนจำนวนมากๆ ให้เป็นไปด้วยดี ให้
สอดคล้องกลมกลืนกัน ก็จะต้องสวดเหมือนกันหมด ท่านจึงรักษาคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้าไว้ด้วยวิธีนี้ คือทรงจำพระไตรปีฎกด้วยวิธีสวดพร้อมกัน
จำนวนมากๆ โดยพระสงฆ์ซึ่งเห็นความสำคัญของพระไตรปิฎก
เพราะรู้อยู่ว่า นี่แหละคือพระพุทธศาสนา ถ้าหมดพระไตรปิฎกเมื่อไร
พระพุทธศาสนาก็ หมดไปเมื่อนั้น ถ้าพระไตรปิฎกเคลื่อนคลาดไป
พระพุทธศาสนาก็เคลื่อน คลาดไปด้วย

พระเถระรุ่นก่อนนั้น ถือความสำคัญของพระไตรปิฎกเป็นอย่างยิ่ง
แม้แต่ในยุคที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วก็ต้องถึงกับพูดกันว่า
"อักษรตัวหนึ่งๆ อันเป็นพระปริยัติศาสน์ของพระศาสดา
มีค่าเท่ากับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง"
- ญาโณทยปกรณ์
เพราะฉะนั้น ถ้ามองในแง่บวก ก็คือจะต้องช่วยกันรักษาไว้ให้ดี แม้แต่
จารึกหรือสนับสนุนการจารึกเพียงนิดหน่อยก็เป็นบุญเป็นกุศลมาก
แต่มองในแง่ลบก็คือ ถ้าใดรไปทำให้ผิดพลาด แม้แต่อักษรเดียว ก็
เหมือนทำลายพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เป็นบาปมาก
เพราะฉะนั้นพระเถระรุ่นก่อน ท่านจึงระวังมากในการรักษาทรงจำ
พระไตรปิฎกไม่ให้ผิดเพี้ยน
ความมั่นใจในความบริสุทธิ์บริบูรณ์นี้ได้รับการย้ำสำทับ เมื่อปรากฎว่า
พุทธพจน์เรื่องเดียวกัน ที่อยู่ในที่ต่างหมวดต่างตอน ช้ำกัน ๔ ๕ แห่ง ใน
ความรับผิดชอบของคณะผู้ชำนาญต่างกลุ่ม โดยทั่วไปยังคงมีถ้อยคำ
ข้อความเหมือนกัน เป็นอย่างเดียวกัน ยืนยันกันเอง แสดงถึงความแม่นยำ
ในการทรงจำและทวนทาน อีกทั้งพระภิกษุแม้เพียงแต่ละรูป
ก็สามารถทรงจำ พุทธพจน์ไว้ได้มากมาย ดังมีตัวอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
ที่ประเทศพม่า มี พระภิกษุหลายรูปที่ได้รับสถาปนาเป็นติปิฎกธร
ซึ่งแต่ละรูปสามารถทรงจำ สาธยายพระไตรปิฎกบาลี
ได้ครบถ้วนบริบูรณ์ นับตามจำนวนหน้าพิมพ์
แบบปัจจุบันฉบับของไทยกว่า ๒๒,๐๐๐ หน้า

พระไตรปิฎกที่เป็นลายลักษณ์อักษรเล่า?
ช่วงที่ ๒ คือ ระยะที่รักษาพุทธพจน์และเรื่องเกี่ยวข้องในพระไตรปิฎก
ทั้งหมดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หรือการรักษาไว้กับวัตถุภายนอก
เริ่มเมื่อ ประมาณ พ.ศ. ๔๖0 ที่มีการสังคายนาครั้งที่ ๔
ณ อาโลกเลณสถาน ในลังกาทวีป
สังคายนาครั้งที่ ๔ นี้ เกิดจากเหตุผลที่ปรารภว่า เมื่อเหตุการณ์
บ้านเมืองสภาพแวดล้อมผันแปรไป เกิดมีภัยที่กระทบ
ต่อการทำหน้าที่สืบต่อ ทรงจำพุทธพจน์ และคนต่อไปภายหน้า
จะเสื่อมถอยสติสมาธิปัญญา เช่นมี ศรัทธาและฉันทะอ่อนลงไป
จะไม่สามารถรักษาพุทธพจน์ไว้ด้วยมุขปาฐะ จึง
ตกลงกันว่าถึงเวลาที่จำต้องจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลาน
ในแง่หนึ่ง การจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรนี้ ดูเหมือนจะมีความ
แน่นอนและมั่นคงถาวรดังต้องการ คือจะคงอยู่อย่างนั้นๆ
จนกว่าวัสดุจะผุ สลาย หรือสูญหาย หรือถูกทำลายไป
แต่วิธีรักษาแบบนี้ มีจุดอ่อนที่ทำให้
บุคคลเกิดความประมาท ด้วยวางใจว่ามีพระไตรปิฎก
อยู่ในใบลานหรือเล่ม หนังสือแล้ว ความเอาใจใส่ที่จะสาธยาย
ทวนทาน หรือแม้แต่เล่าเรียน ก็ย่อ หย่อนลงไป
หรือถึงกับกลายเป็นความละเลย อีกประการหนึ่ง
การจารึกในสมัยโบราณ ต้องอาศัยการคัดลอกโดย
บุคคล ซึ่งเมื่อมีการคัดลอกแต่ละครั้ง จะต้องมีการพลั้งเผลอผิด
หล่น ทำให้ตัวอักษรเสียหายเป็นตัวๆ หรือแม้แต่หายไปเป็นบรรทัด
ยิ่งบางที ผู้มีหน้าที่รักษาไม่ถนัดในงานจารเอง
ต้องให้ช่างมาจารให้ บางที่ผู้จารไม่รู้ไม่ ช่ำนาญภาษาบาลี
และพุทธพจน์ หรือแม้กระทั่งไม่รู้ไม่เข้าใจเลย ก็ยิ่งเสี่ยงต่อ
ความผิดพลาด อย่างที่ในสังคมไทยโบราณรู้กันดีในเรื่อง
การคัดลอกตำรายา ดังคำที่พูดกันมาว่า "ลอกสามทีกินตาย"

ด้วยเหตุนี้ การรักษาพระไตรปิฎกในยุคฝากไว้้กับวัตถุนอกตัวบุคคลนี้
จึงต้องใช้วิธีทำฉบับใหญ่ของส่วนรวมที่จรึกและ
ทบทวนตรวจทานกันอย่างดี แล้ว รักษาไว้ที่ศูนย์กลางแห่งหนึ่ง
เป็นหลักของหมู่คณะของสงฆ์ทั้งหมด หรือของประเทศชาติ
ประจวบว่า ในยุคที่รักษาพุทธพจน์เป็นลายลักษณ์อักษรนี้

พระพุทธศาสนาได้เจริญแพร่หลายไปเป็นศาสนาแห่งชาติ
ของหลายประเทศแล้ว แต่ละประเทศจึงมีการสร้างพระไตรปิฎก
ฉบับที่เป็นหลักของประเทศ ของตนๆ ไว้ และดูแลสืบทอดกันมา
ให้มั่นใจว่ายังคงอยู่บริสุทธิ์บริบูรณ์ ดังเช่นในประเทศไท
ที่มีการสังคายนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช (หรือติลกราช)
แห่งอาณาจักรล้านนา และการสังคายนาในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน เป็นต้น


ในเวลาที่เรามีการตรวจชำระพระไตรปิฎกครั้งหนึ่ง เราก็เอาของทุก
ประเทศมาสอบทานเทียบเคียงกัน เพื่อดูว่ามีข้อความถ้อยคำ
หรืออักษรตัว ไหนผิดเพี้ยนกันไหม อย่างชื่อ พระอัญญาโกณฑัญญะ
มีการผิดเพี้ยนกันไป นิดหน่อย ฉบับของเราเป็น อัญญาโกณฑัญญะ
ฉบับอักษรโรมันของสมาคม บาลีปกรณ์ (Pali Text Society)
เป็น อัญญาตโกณฑัญญะ เป็นต้น ความ แตกต่างแม้แต่นิดเดียว
เราก็บันทึกไว้ให้รู้ในเชิงอรรถ แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านล่วงไปเกินพันปี
เมื่อนำพระไตรปิฎกที่ประเทศพุทธศาสนาแต่ละประเทศรักษา
ไว้มาเทียบกัน ก็พูดได้โดยรวมว่า เหมือนกัน ลงกัน
แม้จะมีตัวอักษรที่ผิดแผกแตกต่างกันบ้าง เช่น จ เป็น ว บ้าง เมื่อ
เทียบโดยปริมาณทั้งหมดแล้ว ก็นับว่าเล็กน้อยยิ่ง
แสดงถึงความถูกต้อง แม่นยำในการรักษาที่ทำกันมาด้วยความตั้งใจ
และตระหนักถึงความสำคัญ อย่างแท้จริง

เพราะฉะนั้น พระพุทธศาสนาเถรวาทจึงมีความภูมิใจโดยชอบธรรมว่า
เรารักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้เป็นแบบเดิมแท้
ดังเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล คือนักปราชญ์ วงวิชาการทั่วโลก
ไม่ว่าจะเป็นมหายาน หรือเถรวาท หรือ วัชรยาน ว่าพระสูตรต่างๆ
ของพระพุทธศาสนาแบบมหายานที่เป็น อาจารยวาท
เป็นของที่แต่งขึ้นภายหลัง ไม่รักษาคำสอนเดิมแท้ๆ ไว้ คัมภีร์
ส่วนมากก็สาบสูญไป เขาก็เลยมายอมรับกันว่า
ดำสอนเดิมแท้ของ พระพุทธเจ้าที่จะหาได้ครบสมบูรณ์ที่สุด
ก็ต้องมาดูในพระไตรปิฎกบาลีของ พระพุทธศาสนาเถรวาทของเรานี้
การสังคายนานั้นต้องให้รู้ว่าเป็นการที่จะรักษาคำสอนเดิมเอาไว้ให้
แม่นย่าที่สุด ไม่ใช่ว่าพระภิกษุที่สังคายนามีสิทธิ์เอาความคิดเห็น
ของตนใส่ ลงไป

บางคนเข้าใจผิดว่า ในการสังคายนานี้ ผู้ที่เข้าร่วมสังคายนา จะไปปรับ
ไปแต่งไปทำอะไรกับพระไตรปิฎก ดีไม่ดีอาจจะถึงกับเข้าใจว่ามาแต่ง
พระไตรปิฎกกันใหม่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปไกล แสดงว่าไม่ รู้จักการสังคายนา และไม่รู้เรื่องอะไรเลย
แต่เราก็ต้องรู้ด้วยว่า ในพระไตรปิฎกไม่มีเฉพาะคำตรัสของพระพุทธเจ้า
อย่างเดียว ดำของพระสาวกก็มี เช่นดำของพระสารีบุตรที่ได้แสดงวิธีสังคายนา
เป็นตัวอย่างไว้นั้น ก็เป็นพระสูตรอยู่ในพระไตรปิฎก ชื่อ สังคีติสูตร แต่ธรรมที่
พระสารีบุตรนำามาสังคายนาไว้ในสังคีติสูตรนั้น ก็คือคำตรัสของพระพุทธเจ้า
หรือธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้นั่นเอง นอกจากนั้นก็มีคำสนทนากับ
ผู้อื่น ซึ่งมีค่ของผู้อื่นรวมอยู่ด้วยในนั้น
หลักคำสอนอะไรเก่าๆ ก่อนพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับ ทรง
นำมาเล่าให้นับถือปฏิบัติกันต่อไป ก็มาอยู่ในพระไตรปิฎกด้วย อย่างเรื่อง ชาดก เฉพาะส่วนที่เป็นตัวคำสอนแท้ๆ


คัมภีร์ที่นิพนธ์แม้หลังพุทธกาลก็มีบ้าง
อย่างในคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานสังคายนา
เรียบเรียงคัมภีร์ขึ้นมาเล่มหนึ่ง (ชื่อว่า กถาวัตถุ
เพื่อชำระคำสั่งสอนที่ผิดพลาด ของพระบางพวกในสมัยนั้น


แต่การวินิจฉัยนั้นก็เป็นเพียงว่า ท่านยกเอาคำสอน
ของพระพุทธเจ้าที่โน่น ที่นี่ ในเรื่องเดียวกันนั้น
มารวมกันไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง เพื่อแสดงให้เห็นว่า
เรื่องนั้นพระพุทธเจ้าตรัสว่าอย่างไร อย่างนี้ก็กลายเป็นดัมภีร์ใหม่
แต่แท้จริงก็ เป็นการนำเอาพุทธพจน์ในเรื่องนั้นๆ
มารวมไว้ในอีกลักษณะหนึ่ง โดยมีเรื่องราว หรือข้อพิจารณา
อะไรอย่างหนึ่งเป็นแกน


ฉัฏฐสังคีติและภายหลังจากนั้น
เมื่อการติดต่อสื่อสารคมนาคมในโลกสะดวกมากขึ้นแล้ว ครั้นถึงช่วง
ระยะครบ ๒๕ ศตวรรษแห่งพระพุทธศาสนา และประเทศพุทธศาสนาต่างก็จัด
งานสมโภชเป็นการใหญ่ในประเทศของตน ก็ได้มีการสังคายนาระหว่างชาติขึ้น
เป็นครั้งแรกที่ประเทศพม่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๔๙๙ ที่พระสงฆ์และ
นักปราชญ์จากประเทศพุทธศาสนาเถรวาททุกประเทศ และประเทศที่มี
การศึกษาพระพุทธศาสนา ได้มาประชุมทวนทานพระไตรปิฎกบาลีของพม่าที่
เตรียมไว้ พร้อมทั้งพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่างๆ ของนานาประเทศ เรียกว่า
ฉักรูสังคีติ อันที่ยอมรับทั่วไปในประเทศพุทธศาสนาทั้งหลาย


อย่างไรก็ดี หลังจากฉัฎฐสังคีติเสร็จสิ้นแล้วไม่นาน ได้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงและความผันผวนทางการเมืองในประเทศพม่า ซึ่งเข้าใจว่าคงจะ
เป็นเหตุให้การดูแลรักษาและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคีติ ไม่ดำเนิน
มาอย่างราบรื่น จนเกิดมีความเข้าใจสับสนขึ้นระหว่างพระไตรปิฎกฉบับเดิม
ของพม่าที่ใช้เป็นต้นร่างสำหรับพิจารณาในการสังคายนา กับฉบับที่เป็น
ผลงานของการสังคายนา

บัดนี้ กองทุนสนทนาธรรมนำสุขในพระสังฆราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการ
นำพระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังคีติที่สอบทานโดยที่ประชุมสงฆ์เถรวาทนานาชาติ
มาจัดพิมพ์ด้วยอักษรโรมันที่เป็นสากลแก่ผู้อ่านในนานาประเทศ
จากการดำเนินการด้วยความเพียรพยายามอย่างตั้งใจจริง และโดย
กระบวนวิธีที่รอบคอบรัดกุม จึงมีรายงานของคณะผู้ทำงานว่า ได้พบ
พระไตรปิฎกฉบับฉัฏฐสังติที่พิมพ์ต่างวาระ และสามารถกำหนดแยกได้
ระหว่างฉบับต้นร่าง กับฉบับที่พิมพ์จากผลงานอันได้ทวนทานแล้ว ตลอดจน
รู้เข้าใจฉบับที่พิมพ์ครั้งต่อๆ มได้ตามเป็นจริง ทำให้ได้ต้นฉบับที่มั่นใจที่สุด
กับทั้งยังได้สอบทานกับพระไตรปิฎกฉบับอักษรต่างๆ ของหลายประเทศซ้ำ
อีกครั้งหนึ่งด้วย เหมือนกับทำให้จุดหมายของฉัฏฐสังคีติบรรลุผลสมบูรณ์
นอกจากนี้ คณะผู้ทำงานได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศของยุคปัจจุบันที่
ล่าสุดมาใช้ประโยชน์ด้วย ทำให้จัดวางระบบการค้นคว้าอ้างอิงได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ และได้ฐานข้อมูลที่พร้อมอย่างยิ่งสำหรับงานอย่างอื่น เกี่ยวกับ
การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกที่อาจจะจัดทำต่อไป เช่น การนำข้อมูลลงใน
ซีดีรอม โดยมีโปรแกรมคั้นให้สะดวก เป็นต้น


ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แก่นแท้หรือสาระสุดท้ายของงานนี้ก็คือ การ
ดำรงรักษาพระพุทธพจน์ที่สืบทอดมาถึงเราในรูปของพระไตรปิฎกภาษาบาลี
ไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุด คงเดิมตามที่มีการรวบรวมพุทธพจน์ครั้งแรกใน
การสังคายนาครั้งที่ ๑ ให้ผู้อ่านเข้าถึงคำสอนเดิมของพระพุทธเจ้าโดยตรง
โดยไม่มีมติของบุคคลอื่นใดมากีดกัน แม้แต่ความคิดเห็นของพระธรรม-
สังคาหกาจารย์ ซึ่งหากจะมีท่านก็ได้บอกแจ้งหมายแยกไว้ เป็นการเปิดโล่ง
ต่อการใช้ปัญญาของผู้ศึกษาอย่างเต็มที่

ภาคสอง
พระไตรปิฎก
เข้ากันได้กับสถานการณ์
ของโลกปัจจุบัน

แม้ว่าอารยธรรมมนุษย์จะเจริญก้าวหน้ามามากมาย ผ่านเวลาหลายพัน
จนถึงบัดนี้ที่เรียกกันว่า ยุคโลกาภิวัตน์ แต่มนุษย์ก็ยังไม่พ้นหรือห่างไกล
ออกไปเลยจากปัญหาความทุกข์ และการเบียดเบียนบีบคั้น ตลอดจนสงคราม
มนุษย์หวังจากระบบจริยธรรมของลัทธิศาสนาต่างๆ ที่จะมาช่วยแก้ไขปัญหา
เหล่านี้ แต่ลัทธิศาสนาโดยทั่วไป จะมอบให้เพียงบทบัญญัติ หรือคำสั่งบังคับ
ต่างๆ ที่มนุษย์ต้องปฏิบัติตามด้วยศรัทธา ให้มนุษย์พ้นจากปัญหาในตัวและ
ปัญหาระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง ไปขึ้นต่อการลงโทษและการให้รางวัลจาก
อำนาจที่เชื่อว่าอยู่เหนือธรรมชาติ
ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาตามพุทธพจน์ใน
พระไตรปิฎกบาลีมีลักษณะ พิเศษ ที่สอนระบบจริยธรรมแห่งการพัฒนาตัวของมนุษย์เอง
ให้หลุดพ้นจาก ปัญหาทั้งหลายสู่ความเป็นอิสระที่แท้จริงโดยไม่ต้องไป
ขึ้นต่ออำนาจบงการ จากภายนอก


มนุษย์ยุคปัจจุบัน ได้เจริญมาถึงขั้นตอนหนึ่ง ที่ถือได้ว่าเป็นจุดสูงสุด
แห่งอารยธรรม และ ณ จุดนี้ อารยธรรมก็ได้นำปัญหาที่เป็นความทุกข์ครบ
ทุกด้านมามอบให้แก่มนุษย์ กล่าวคือ ปัญหาชีวิต ปัญหาสังคม ที่มาบรรจบ
ถึงความครบถ้วนด้วยปัญหาสิ่งแวดล้อม
เป็นที่ชัดเจนว่า อารยธรรมที่เจริญมาสูงสุดอย่างนี้ สามารถมอบปัญหา
ที่เป็นความทุกข์ให้แก่มนุษย์ได้อย่างครบถ้วน แต่ไม่สามารถนำมนุษย์ให้หลุด
พ้นจากทุกข์แห่งปัญหาเหล่านั้นได้
มนุษย์จำนวนมากขึ้นๆ ได้เริ่มมองเห็นว่า พระพุทธศาสนาใน
พระไตรปิฎกเป็นคำตอบสำหรับปัญหาแห่งความทุกข์ทั้งหมดนี้ ของมวลมนุษย์

พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่เรียกได้ว่าชำนาญพิเศษในการกำจัดปัญหา
ชีวิตขั้นสุดท้าย คือความทุกข์ในใจนี้ ถึงขั้นที่เข้าถึงความจริงของธรรมชาติ
ด้วยปัญญา และกำจัดเชื้อแห่งความทุกข์ในใจให้หมดสิ้นไป ทำให้จิตใจเป็น
อิสระโล่งโปร่งผ่องใส โดยไม่มีทุกข์เกิดขึ้นอีกเลย
จากตัวเองออกมาข้างนอก ในวงกว้างออกไป คือ ปัญหาสังคม อัน
เป็นความทุกข์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ที่ผิด ซึ่งกลายเป็นความรุนแรง
เบียดเบียนกันระหว่างมนุษย์


ในการแก้ปัญหาระดับนี้ พระพุทธศาสนาก็ปรากฏเด่นตลอดมาในฐานะ
เป็นศาสนาที่เผยแพโดยไม่ต้องใช้คมดาบ ไม่เคยมีสงครามศาสนา และไม่มี
หลักการใดๆ ที่จะนำไปใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานหรือทำสงครามได้เลย
พระพุทธศาสนามีประวัติแห่งความสงบอย่างแท้จริง สอนเมตตาที่เป็นสากล จน
นักปราชญ์ยอมรับกันว่า พระพุทธศาสนาเป็นขบวนการสันตินิยมที่แท้แรกสุด

ของโลก พระไตรปิฎกจึงเป็นแหล่งสำคัญที่สุดที่มนุษย์ผู้ปรารถนาสันติ
สามารถเรียนรู้หลักการและวิธีการในการดำรงรักษาสันติภาพให้แก่โลกมนุษย์
วงนอกสุดที่ล้อมรอบตัวมนุษย์และสังคม ก็คือสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย
โดยเฉพาะระบบนิเวศ ซึ่งเวลานี้ได้เกิดปัญหาร้ายแรงที่สุดซึ่งคุกคามต่อความ
อยู่รอดของมนุษยชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมนี้ เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า
เกิดจากแนวคิดผิดพลาด ที่เป็นฐานของอารยธรรมปัจจุบัน
คือ ความคิดความเชื่อที่มองเห็นมนุษย์แยก
ต่างหากจากธรรมชาติ แล้วให้มนุษย์มีทัศนคติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมชาติ มุ่ง
จะเอาชนะและมีอำนาจที่จะจัดการกับธรรมชาติ เพื่อสนองความต้องการ
ผลประโยชน์ของมนุษย์ การที่จะแก้ปัญหานี้ได้ มนุษย์ต้องการแนวคิดใหม่มา
เป็นฐาน
ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาสอนทางสายกลาง ที่ให้รู้ตามเป็นจริงว่า
ธรรมชาติเป็นระบบแห่งความสัมพันธ์ของสิ่งทั้งปวง รวมทั้งมนุษย์ด้วย ซึ่ง
ล้วนเป็นองค์ประกอบที่อิงอาศัยเป็นเหตุปัจจัยแก่กัน
มนุษย์เป็นองค์ประกอบพิเศษในระบบความสัมพันธ์นั้น โดยเป็นส่วนที่
เรียนรู้ฝึกหัดพัฒนาได้ เมื่อมนุษย์นั้นได้พัฒนาตนให้มีคุณสมบัติดีงาม ทั้งใน
ด้านพฤติกรรมที่จะเป็นไปในทางเกื้อกูลกัน ในด้านจิตใจให้มีเจตจำนงในทาง
สร้างสรรค์ และในด้านปัญญาให้เข้าใจถูกต้องถึงระบบความสัมพันธ์ที่อิงอาศัย
กันว่าจะต้องให้ระบบสัมพันธ์นั้นดำเนินไปด้วยดีได้อย่างไร
เมื่อมนุษย์ได้พัฒนามีคุณภาพดีแล้ว ก็จะรู้จักดำเนินชีวิตและจัด
ดำเนินการทั้งหลายที่จะเกื้อหนุนให้ระบบความสัมพันธ์แห่งธรรมชาติทั้งปวง
นั้นเป็นไปในทางที่สมานเกื้อกูลกันยิ่งขึ้น เป็นทางนำมนุษย์ให้เข้าถึงโลกที่เป็น
สุขไร้การเบียดเบียน

พูดสั้นๆ ว่า พระพุทธศาสนามอบให้ฐานความคิดอย่างใหม่ ที่เปลี่ยน
แนวทางการพัฒนามนุษย์ จากการเป็นคู่ปรปักษ์ที่จะชิงชัยกับธรรมชาติ มาสู่
ความเป็นองค์ประกอบที่เกื้อกูลต่อระบบแห่งการอยู่ร่วมกันของธรรมชาตินั้น
เมื่อมองเห็นประโยชน์ของพระพุทธศาสนาในการที่จะแก้ปัญหาข้อ
ใหญ่ที่สุดนี้ พระไตรปิฎกก็จะเป็นแหล่งอันอุดมสมบูรณ์ของการศึกษา
ค้นคว้าเพื่อจุดหมายดังกล่าว

การจัดหมวดหมู่คัมภีร์ในพระไตรปิฎก
บัดนี้ จะหันมาพิจารณาโครงสร้างและการจัดองค์ประกอบของ
พระไตรปิฎก
ในประเทศไทย พระไตรปิฎกได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วย
อักษรไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๑ การตีพิมพ์เสร็จ
เรียบร้อยและมีการฉลองในพ.ศ. ๒๔๓๖ พร้อมกับงานรัชดาภิเษก
พระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ครั้งนั้นจัดเป็นจบละ ๓๙ เล่ม
ต่อมา พ.ศ. ๒๕ㆍ๘ ในสมัยรัชกาลที่ ได้โปรดเกล้าๆ ให้ตีพิมพ์ใหม่
เป็นพระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัซกาลที่ ๖
เรียกว่า พระไตรปีฎกฉบับสยามรัฐ มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม ซึ่งได้ถือเป็น
หลักในการจัดแบ่งเล่มพระไตรปิฎกในประเทศไทยสืบมาจนปัจจุบัน และเพื่อ
ความสะดวก การอ้างอิงในสรุปสาระสำคัญของพระไตรปิฎกต่อไปนี้ ก็จะยึด
พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเป็นหลักเช่นกัน
กล่าวโดยทั่วไป พระธรรมวินัย หรือธรรมและวินัย ที่บรรจุอยู่ใน
พระไตรปิฎกนั่นแหละ เป็นหลักในการจัดหมวดหมู่ของพระไตรปิฎก

 

สรุปสาระสำคัญของพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม
(เรียงตามลำดับเล่ม)

ก. พระวินัยปิฎก
ประมวลพุทธพจน์หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความ
ประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม และการดำเนินกิจการต่างๆ ของ
ภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม
จุ ป)*

เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค 1 ว่าด้วยสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ
สงฆ์ (กฎหรือข้อบังคับที่เป็นหลักใหญ่สำหรับพระภิกษุ) ๑๙ ข้อแรก ซึ่งอยู่
ในระดับอาบัติหนักหรือความผิดสถานหนัก คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓
และอนิยต ๒


เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ
สงฆ์ข้อที่เหลือ ซึ่งอยู่ในระดับอาบัติเบาหรือความผิดสถานเบา คือ ตั้งแต่
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ จนครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือที่มักเรียกกันว่า ศีล
๒๒๗

—————————————————————
*ที่ย่อเป็น อา กับ ปา นั้นเนื่องมาจากวิธีจัดแบ่งอีกแบบหนึ่ง คือ
เรียกเล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่า อาทิกัมมิกะ (ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติ
หนักของภิกษุ) และ
เรียกเล่ม ๒ มหาวิภังด์ ภาค ๒ กับ เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่า ปาจิตตีย์ (ว่าด้วย
สิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุป็นต้นไปจนจบสิกขาบทในปาติโมกข์ของภิกษุณี)
อนึ่ง วินัยปีฎกทั้ง ๘ เล่ม หรือ คัมภีร์นี้ บางทีเรียกรวมกันให้สั้นกว่านี้อีกเป็น ๓
คัมภีร์ คือ วิภังค์ ทรือ สุตตวิภังค์ (= มหาวิภังศ์ และ ภิกขุนีวิภังค์ ได้แก่ เล่ม ๑-๓)
ขันธาะ (= มหาวรรค และจุลลวรรต ได้แก่ เล่ม ๔-๗) และปริวาร (เล่ม ๘)


—————————————————————

เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี

เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ (ระเบียบ
ข้อบังคับทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นอยู่และการดำเนินกิจการของภิกษุสงฆ์)
ตอนต้น มี ๔ ขันธกะ (หมวด) คือ เรื่องกำเนิดภิกษุสงฆ์และการอุปสมบท
อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา

เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ ตอนต้น
(ต่อ) มี ๖ ขันธกะ (หมวด) คือ เรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐิน จีวร นิคหกรรม
และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี

เล่ม ๖ จุลลวรรด ภาค ๑ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ ตอนปลาย
มี ๔ ขันธกะ คือ เรื่องนิคหกรรม วุฎฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์

เล่ม ๗ จุลลวรรค ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาติโมกข์ตอนปลาย
(ต่อ) มี ๘ ขันธกะ คือ เรื่องข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท
วัตรต่างๆ การงดสวดปาติโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนา ครั้งที่ ๑ และ
ครั้งที่ ๒

เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย

ข. พระสุตตันตปิฎก
ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือพระธรรมเทศนา คำบรรยาย
หรืออธิบายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส
ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมใน
พระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อ๋ ขุ) ๒๕
เล่ม คือ
ทีฆนิกาย (ชุมนุมพระสูตรขนาดยาว) ๓ เล่ม
๒. มัชฌิมนิกาย (ชุมนุมพระสูตรขนาดกลาง) ๓ เล่ม
๓. สังยุตตนิกาย (ชุมนุมพระสูตรที่เกี่ยวกับหัวเรื่องเดียวกัน) ๒ เล่ม
๔. อังคุตตรนิกาย (ชุมนุมพระสูตรที่จัดเป็นหมวดตามจำนวนข้อธรรม) ๕ เล่ม
๕. ขุททกนิกาย (ชุมนุมพระสูตร ภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราว
เบ็ดเตล็ด) ๙ เล่ม

๑. ทีฆนิกาย (ชุมนุมพระสูตรขนาดยาว)
เล่ม ๙ สีลขันธวรรด มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร เริ่มด้วย พรหม-
ชาลสูตร (หลายสูตรกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วยสีลขันธ์ ซึ่งบางทีก็จำแนก
เป็นจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงเรียกว่า สีลขันธวรรค)
เล่ม ๑๐ มหาวรรด มีพระสูตรขนาดยาว ๑0 สูตร ส่วนมากชื่อเริ่ม
ด้วย มหา เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสมยสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค (ปาถิกวรรด ก็เรียก มีพระสูตรขนาดยาว ๑๑
สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียง เช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญูสูตร
สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร

๒. มัชฌิมนิกาย (ชุมนุมพระสูตรขนาดกลาง)
เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ (บั้นต้น) มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
บางสูตรอาจจะคุ้นชื่อ เช่น ธรรมทายาทสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร สติปัฏฐานสูตร
รถวินีตสูตร วีมังสกสูตร
เล่ม ๑ต มัชมิมปัณณาสก็ (ปั้นกลาง มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
ที่อาจจะคุ้นชื่อเช่น เสขปฏิปทาสูตร ชีวกสูตร อุปาลิวาทสูตร อภยราชกุมารสูตร
มาคัณฑิยสูตร รัฎฐปาลสูตร โพธิราชกุมารสูตร องคุลิมาลสูตร ธรรมเจดียสูตร
วาเสฏฐสูตร
เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลาย มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร มี
เนื้อหาแตกต่างกันหลากหลาย เช่น เทวทหสูตร โคปกโมคดัลลานสูตร
สัปปุริสสูตร มหาจัตตารีสกสูตร อานาปานสติสูตร กายคตาสติสูตร
ภัทเทกรัตตสูตร จูฬกรรมวิภังคสูตร สัจจวิภังคสูตร ปุณโณวาทสูตร
สฟ้ายตนวิภังดสูตร อินทรียภาวนาสูตร

๓. สังยุดตนิกาย (ชุมนุมพระสูตรที่เกี่ยวกับหัวเรื่องเดียวกันๆ คือ ชุมนุม
พระสูตร์ที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า สังยุตต์ หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน
หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗.๙๖๒
สูตร)
เล่ม ๑๕ สดาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคล
ต่างๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่ม
เรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุตต์ สังยุตต์

เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุและปัจจัย คือหลัก
ปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรม สั่งสารวัฏ ลาภสักการะ
เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์
เล่ม ๑๗ ขันธวารวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ( ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่อง
เบ็ดเตล็ดรวมทั้งเรื่อง สมาธิ และทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓
เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนว
ไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็น
ต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุตต์

เล่ม ๑๙ มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗
แต่เรียงลำดับ เป็นมรรค (พร้อมทั้งองค์ธรรมก่อนมรรค) โพชฌงค์
สติปัฏฐาน อินทรีย์

สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง
เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจจ์ ฌาน

ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุ
โสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุตต์

๔. อังคุตตรนิกาย
(ชุมนุมพระสูตรที่เพิ่มจำนวนขึ้นทีละหน่วย คือชุมนุม
พระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่า นิบาต หนึ่งๆ ตามลำดับจำนวน
หัวข้อธรรมที่เพิ่มขึ้น เริ่มตั้งแต่หมวด ด, หมวด ๒ ฯลฯ
ไปจนถึงหมวด ๑๑ รวม ๑๑ นิบาต
หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๔,๕๕๗ สูตร)


เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑
(เช่น ธรรมเอกที่ ฝึกอบรมแล้ว เหมาะแก่การใช้งาน ได้แก่
จิต องค์คุณภายในอันเอกที่เป็นไป เพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่
ได้แก่ ความไม่ประมาท ฯลฯ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ)
หมวด ๒ (เช่น สุข ๒ สิบสามชุด, คนพาล ๒, บัณฑิต ๒,
ปฏิสันถาร ๒,ฤทธิ์ ๒ ฯลฯ) หมวด ๓ (เช่น มารดาบิดามีฐานะ
ต่อบุตร ๓ อย่าง, ความเมา ๓, อธิปไตย ๓, สิกขา ๓ ฯลฯ)

เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๔ (เช่น อริยธัมม์ หรือ
อารยธรรม ๔, พุทธบริษัท ๔, ปธาน ๔, อคติ ๔, จักร ๔,
สังคหวัตถุ ๔ ฯลฯ)

เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๕ (เช่น พละ ๕,
นิวรณ์ ๕, อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕, นักรบ ๕ ฯลฯ) และ หมวด ๖
(เช่น สาราณียธรรม ๖, อนุตตริยะ ๖, คารวตา ๖, อภัพพฐาน
๖, ฯลฯ)

เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐิก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗
(เช่น อริยทรัพย์ ๗, อนุสัย ๗, อปริหานิยธรรม ๗, สัปปุริสธรรม ๗,
กัลยาณมิตรธรรม ๗, ภรรยา ๗ ฯลฯ) หมวด ๘ (เช่น โลกธรรม ๘,
คุณสมบัติของภิกษุที่จะไปเป็นทูต ๘, ทาน ๘, ทานวัตถุ ๘,
การบำเพ็ญ บุญกิริยาวัตถุ ๓ ในระดับต่างๆ ๘,สัปปุริสทาน ๘,
ทิฏฐธัมมิก-สัมปรายิกัตถิกธรรม ๘ ฯลฯ) และหมวด ๙
(เช่น อาฆาตวัตถุ ๙.อนุปุพพนิโรธ ๔, อนุปุพพวิหาร
๔, นิพพานทันตา ๙ ฯลฯ)

เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑๐ (เช่น
สังโยชน์ ๑๑, สัญญา ๑ㆍ, นาถกรณธรรม ๑,
วัฑฒิธรรม ๑๐ ฯลฯ)
และหมวด ๑ ๑ (เช่น ธรรมที่เกิดต่อจากกันตามธรรมดา
ไม่ต้องเจตนา ๑ ๑, อานิสงส์เมตตา ๑๑ ฯลฯ)
ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ
ตั้งแต่ทิฏฐิธัมมิกัตถะ
ถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิตและสำหรับคฤหัสถ์
กระจายกันอยู่โดยเรียง ตามจำนวน
๕. ขุททนิกาย (ชุมนุมพระสูตร คาถาภาษิต คำอธิบาย
และเรื่องราว
เบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้ ๑๕ คัมภีร์)

เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ
(๑) ขุททกปาฐะ รวมบทสวดย่อยๆ เช่น มงคลสูตร รตนสูตร
กรณียเมตตสูตร
(๒) ธรรมบท บทแห่งธรรม หรือบทร้อยกรองเอ่ยเอื้อนธรรม
มี ๔๒๓ คาถา
(๓) อุทาน พระสูตรแสดงคาถาพุทธอุทาน มีความนำเป็นร้อยแก้ว ๘.
(๔) อิติวุตตกะ พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย "เอวมเม สุต่ำ" แต่เชื่อมความ
เข้าสู่คาถาด้วยคำว่า "อิติ วุจจติ" รวม ๑๑๒ สูตร

(๕) สุตตนิบาต ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วน หรือมีร้อย
แก้วเฉพาะส่วนที่เป็นความนำ รวม ๗๑ สูตร

เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อย ๔ ซึ่งเป็นบทประพันธ์ร้อยกรองคือคาถาล้วน
ได้แก่
(๑) วิมานวัตถุ เรื่องผู้เกิดในสวรรค์อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตน
ในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง
(๒) เปตวัตถุ เรื่องเปรตเล่ากรรมชั่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง
(๓) เถรคาถา คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดง
ความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น
(๔) เถรีคาถา คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูป ที่กล่าวแสดง
ความรู้สึกเช่นนั้น

เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมบทร้อยกรองคือคาถาแสดงคติธรรมที่
พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ
และมีคาถาภาษิตของ ผู้อื่นป่นอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว
(เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔. คาถา (จัตตาฟีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง
เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้นเพิ่มอีก แต่เป็น
เรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถา
มากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐
คาถา ภาคนี้มี ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้งสองภาค เป็น ๕๔๗ ซาดก

เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความ
พระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต

เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความ
พระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรค และขัดควิสาณสูตร ในอุรควรรค
แห่งสุตตนิบาต


เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตร อธิบายข้อธรรมที่
ลึกซึ้งต่างๆ เช่น เรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น
อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน


เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ บทประพันธ์ร้อยกรอง (คาถา) แสดง
ประวัติพระอรหันต์ โดยเฉพาะในอดีตชาติ เริ่มด้วยพุทธอปทาน
(ประวัติของ พระพุทธเจ้า) ปัจเจกพุทธอปทาน
(เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า) ต่อด้วย เถรอปทาน
(อัตตประวัติแห่งพระอรหันตเถระ) เริ่มแต่พระสารีบุตร
พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ ฯลฯ
พระอานนท์ ต่อ เรื่อยไปจนจบภาค ๑ รวม ๔๑๐ รูป


เล่ม ๓๓ อปทาน
ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตประวัติพระอรหันตเถระ
ต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐
ต่อนั้นเป็นเถรีอปทาน แสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔o เรื่อง
เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑- รูป ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญ คือ
พระ มหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฎาจารา ฯลฯ
พระ ยโสธรา และท่านอื่นๆ

ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มีคัมภีร์ พุทธวงส์ เป็นคาถา
ประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้า
พระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์ จนถึงประวัติของ
พระองค์เอง รวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค

จบแล้วมีคัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาใน
อดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่
ชี้ตัวอย่าง การบำเพ็ญบารมีบางข้อ

ขุททกนิบาตนี้ เมื่อมองโดยภาพรวม ก็จะเห็นลักษณะที่กล่าวว่า
เป็นที่ชุมนุมของคัมภีร์ปลีกย่อยเบ็ดเตล็ด คือ แม้จะมีถึง
๑๕ คัมภีร์ รวมได้ถึง ๙ เล่ม แต่

มีเพียงเล่มแรกเล่มเดียว (๒๕) ที่หนักในด้านเนื้อหาหลักธรรม
แต่ก็เป็นคัมภีร์เล็กๆ ในเล่มเดียวมีถึง 2 คัมภีร์
ทุกคัมภีร์มีความสำคัญ และลึกซึ้ง มาก

อีก ๓ เล่ม (๒๘-๒๙-๓๐) คือ นิทเทส และ ปฏิสัมภิทามรรค แม้
จะแสดงเนื้อหาธรรมโดยตรง แต่ก็เป็นคำอธิบายของพระสาวก
(พระสารีบุตร) ที่ไขความพุทธพจน์ที่มีอยู่แล้วในคัมภีร์ข้างต้น
(ถือได้ว่าเป็นต้นแบบของ อรรถกถา)

ที่เหลือจากนั้นอีก ๘ คัมภีร์ ล้วนเป็นบทประพันธ์ร้อยกรอง ที่มุ่ง
ความไพเราะงดงามให้เร้าความรู้สึก เช่นเสริมศรัทธาเป็นต้น คือ

เล่ม ๒๖ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา เล่าประสบการณ์
ความรู้สึก และคติของคนดี คนชั่ว ตลอดจนพระอรหันตสาวก
ที่จะเป็นตัวอย่าง/แบบอย่างสำหรับเร้าให้เกิดความรู้สึกสังเวช
เตือนใจ และเร้ากำลังใจ ให้ละความชั่ว ทำความดี
และเพียรบำเพ็ญอริยมรรค

เล่ม ๒๗-๒๘ ชาดก แสดงคติธรรมที่สั่งสอนและเร้าเตือน
ให้กำลังใจ จากการบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้าเอง
เล่ม ๓๒-๓๓ อปทาน พุทธวงส์ จริยาปิฎก เป็นบทร้อยกรอง
บรรยาย ประวัติ ปฏิปทา และจริยา ของพระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันตสาวก ในแนวของวรรณ
ศิลป์ที่จะเสริมปสาทะและจรรโลงศรัทธาใน พระรัตนตรัย

ค. พระอภิธรรมปิฎก
ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือหลักธรรมและคำอธิบายที่
เป็นเนื้อหาวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์
แบ่งเป็น ๙ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป)
๑๒ เล่ม ดั่งนี้

๑. ธัมมสังคณี
๒. วิภังค์
๓. ธาตุกถา
๔. ปุคคลบัญญัติ
๕. กถาวัตถุ
๖. ยมก
๗. ปัฏฐาน

เล่ม ๓๔ (ธัมม)สังคณี ต้นเล่มแสดงมาติกา
(แม่บท) อันได้แก่บทสรุป
แห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่น
จัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามี
เป็นกุศลธรรม อกศลธรรม อัพยากตธรรม ชุดหนึ่ง
เป็น อดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ
และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็น
สังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตตรธรรม
ชุดหนึ่ง เป็นต้น
รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา

ตอนต่อจากนั้น ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนสำคัญของคัมภีร์นี้เป็น
คำวิสัชชนา ขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง
แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม
และอัพยากตธรรม ที่กระจายออกไปในแง่ของจิต เจตสิก รูป
และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แต่ละบทแสดงคำอธิบายย่อ
หรือคำจำกัดความ ข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึง
ข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัด ความข้อธรรมใน
๒ บทต่างแนวกันเป็น ๒ แบบ
(แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)

เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญๆ ขึ้นมาแจกแจง
แยกแยะอธิบาย กระจายออกให้เห็นทุกแง่
และวินิจฉัยจนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบาย
ทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจจ์ ๔
อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๕
อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญา
ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่างๆ
และเบ็ดเตล็ดว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด
ก็เรียกว่า วิภังค์ ของ
เรื่องนั้น เช่น อธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียก ขันธวิภังค์ เป็นต้น
รวมมี ๑๘ วิภังค์

เล่ม ๓๖ มี ๒ คัมภีร์ คือ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลาย
และข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕
อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดจัดเข้าได้หรือไม่ได้
ในอย่างไหนๆ และ ปุคคลบัญญัติ บัญญัติ
ความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม
เช่นว่า โสดาบัน ได้แก่
"บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว" ดังนี้เป็นตัน



เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการ
สังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้นเพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ
ใน พระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย
เช่น ความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้
เป็นพระอรหันต์พร้อมกับ การเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรม
เป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มี

เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑
คัมภีร์ยมกนี้อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็น
ความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน
และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง
ด้วยวิธี ตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า "คู่") เช่น ถามว่า
"ธรรมทั้งปวงที่เป็น กุศล เป็นกุศลมูล หรือว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็น
กุศลมูล เป็นกุศล", "รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์
(ทั้งหมด) เป็นรูป", "ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์
หรือว่าทุกขสัจจ์
(ทั้งหมด) เป็นทุกข์" หลักธรรมที่นำมาอธิบาย ในเล่มนี้มี ๗
คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย
ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่า ยมก ของเรื่องนั้นๆ
เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก

เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติม
จากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก
(กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม)
อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก

เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔
โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน
แห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้าน ต่างๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือ
ข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บท หรือบทสรุป ธรรม
ซึ่งกล่าวไว้แล้วในต้นคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ
๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา

ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔
เป็นการปูพื้น ความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหา
ของเล่ม คือ อนุโลม-ติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัย
แก่กันแห่งธรรมทั้งหลายใน แม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า
กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร
กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสย-ปัจจัยอย่างไร
อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัยอย่างไร กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอารัมมณปัจจัยอย่างไร
ฯลฯ (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลม คือตามนัยปกติ
ไม่อธิตามนัยปฏิเสธ จึงเรียกว่า อนุโลมปัฏฐาน)

เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน
ต่อ คืออธิบายความเป็น ปัจจัยแก่กันแห่งธรรม
ทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น
อดีต ธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรมโดยอารัมมณปัจจัย
(พิจารณารูป เสียง เป็น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้ว
ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความ
โทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น

เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน
อธิบายความเป็นปัจจัย แก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย
ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรม เป็นปัจจัย
แก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะเป็นปัจจัย
แก่จักขุ-วิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น

เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ

เล่ม ๔๔ ปัฏฐานู ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน
แต่อธิบายความเป็น ปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย
ในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย
อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา)
โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย
"กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรมเป็น ปัจจัยแก่กุศลธรรม
ที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย" เป็นอย่างไร เป็น
อนุโลมติกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
โยงกับ ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา)
อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
โยงกับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่าง

ต่างชุดกัน เช่น อธิบายว่า "กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรม
เป็นปัจจัยแก่อกุศล ธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม" เป็นอย่างไร เป็นต้น
อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรม ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา)
กับธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่าง ต่างชุดกัน
เช่น ชุดโลกียะโลกตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น

เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็น
ปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง
แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น ปัจจนียปัฏฐาน คือ ปัจจนีย์ (ปฏิเสธ)
+ ปัจจนีย์ (ปฏิเสธ) เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศล
เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน
คือ อนุโลม + ปัจจนีย์ (ปฏิเสธ) เช่นว่า อาศัยโลกีย-ธรรม
ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
ปัจจนียา-นุโลมปัฏฐาน คือ ปัจจนีย์ (ปฏิเสธ) + อนุโลม
เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่
กุศล ธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัยเป็นอย่างไร
และในทั้ง ๓ แบบ นี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บท
ชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้ว ข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓
กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับ ชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน
ดังนั้นแต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียด ออกไปเป็น
ติก- ทุก- ทุกติก- ติกทุก- ติกติก- ทุกทุก- ตามลำดับ
(เขียน ให้เต็มเป็นปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน
ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไปจนถึงท้ายสุดคือ
ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)

พระไตรปิฎก ภาษาไทย 45 เล่ม
จัดพิมพ์โดย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ดำเนินการจัดส่ง และจำหน่าย
โดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์
จำหน่ายในราคามูลนิธิ 15,000 บาท

คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียด
เฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่มหลังๆ ท่านแสดง
ไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจ
แนวนั้นแล้ว เอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง
โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค
แสดงไว้ย่น ย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็น
หนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์
ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมด

จะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวน มากมายหลายเท่าตัว
ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า มหาปกรณ์
แปลว่า "ตำราใหญ่" ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดย
ความสำคัญ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า


พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น
พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

พระไตรปีฎกมีเนื้อความทั้งหมด 
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ 
พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ 
และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

 

อรรถกถาและคัมภีร์รุ่นต่อมา
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสแสดงคำสอนคือพระธรรมวินัยแล้ว
สาวกทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ก็นำหลักธรรมวินัยนั้นไปเล่าเรียนศึกษา
คำสอนหรือ พุทธพจน์ส่วนใดที่ยาก ต้องการคำอธิบาย
นอกจากทูลถามจากพระพุทธเจ้า โดยตรงแล้ว ก็มีพระสาวก
ผู้ใหญ่ที่เป็นอุปัชฌาย์หรืออาจารย์คอยแนะนำ ชี้แจงช่วยตอบ
ข้อสงสัยคำอธิบายและคำตอบที่สำคัญก็ได้รับการทรงจำถ่ายทอด
ต่อกันมาควบคู่กับหลักธรรมวินัยที่เป็นแม่บทนั้นๆ จากสาวก
รุ่นก่อนสู่สาวกรุ่นหลังต่อมาเมื่อมีการจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัย
เป็นพระไตรปิฎกแล้ว ค่ำชี้แจงอธิบายเหล่านั้นก็เป็นระบบและ
มีลำดับไปตามพระไตรปิฎกด้วย

ดำอธิบายพุทธพจน์หรือหลักธรรมวินัย หรือคำอธิบายความใน
พระไตรปิฎกนั้น เรียกว่า อรรถกถา
เมื่อมีการทรงจำถ่ายทอดพระไตรปิฎกด้วยวิธีมุขปาฐะ
ก็มีการทรงจำถ่ายทอดอรรถกถาประกอบควบคู่มาด้วย
จนกระทั่งมื่อมีการจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานเป็นลายลักษณ์
อักษร ณ ประเทศลังกา ประมาณพ.ศ. ๔๖๐ ตำนาน
ก็กล่าวว่าได้มีการจารึกอรรถกถาพร้อมไปด้วยเช่นกัน
อนึ่ง พึงสังเกตว่า พุทธพจน์หรือข้อความในพระไตรปิฎกนั้น
ในภาษา วิชาการท่านนิยมเรียกว่า บาลี หรือ พระบาลี
หมายถึงพุทธพจน์ที่รักษาไว้ใน พระไตรปิฎก ไม่พึ่งสับสนกับ
ภาษาบาลี (คำว่า บาลี มาจาก ปาลุ ธาตุ ซึ่ง แปลว่า "รักษา"
สำหรับบาลีหรือพระไตรปิฎกนั้น ท่านทรงจำถ่ายทอดกันมา
และจารึกเป็นภาษาบาสีมคธ แต่อรรถกถา สืบมาเป็นภาษาสิงหล
ทั้งนี้สำหรับพระไตรปิฎกนั้นชัดเจนอยู่แล้ว ในฐานะเป็นตำรา
แม่บท อยู่ข้างผู้สอน จึงจะต้องรักษาให้คงอยู่อย่างเดิมโดย
แม่นยำที่สุดตามพระดำรัส ของพระผู้สอนนั้น
ส่วนอรรถกถาเป็นคำอธิบายสำหรับผู้เรียน จึงจะต้องช่วย
ให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีที่สุด เมื่ออรรถกถาสืบมาในลังกา
ก็จึงถ่ายทอดกันเป็นภาษาสิงหล จนกระทั่งถึงช่วง
พ.ศ. ๙๕๐-๑,๐๐๐ จึงมีพระอาจารย์ผู้ใหญ่

เช่น พระพุทธโมสะ และพระธรรมปาละ เดินทางจากชมพูทวีป
มายังลังกาและแปลเรียบเรียงอรรถกถากลับเป็นภาษาบาลีมคธ
อย่างที่มีอยู่และใช้ศึกษากันในปัจจุบัน

ลักษณะสำคัญของอรรถกถา คือ เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความใน
พระไตรปิฎกโดยตรง หมายความว่า
พระไตรปิฎกแต่ละสูตรแต่ละส่วนแต่ละ ตอนแต่ละเรื่อง
ก็มีอรรถกถาที่อธิบายจำเพาะสูตรจำเพาะส่วนตอนหรือเรื่อง
นั้นๆ และอธิบายตามลำดับไป โดยอธิบายทั้งคำศัพท์หรือ
ถ้อยคำอธิบายข้อความ ชี้แจงความหมาย
ขยายความหลักธรรมหลักวินัย
และเล่าเรื่อง ประกอบ ตลอดจนแสดงเหตุปัจจัยแวดล้อม
หรือความเป็นมาของการที่พระพุทธเจ้าจะตรัสพุทธพจน์นั้นๆ
หรือเกิดเรื่องราวนั้นๆ ขึ้น พร้อมทั้ง

เชื่อมโยงประมวลความเป็นมาเป็นไปต่างๆ
ที่จะช่วยให้เข้าใจพุทธพจน์หรือ
เรื่องราวในพระไตรปีฎกชัดเจนขึ้น

นอกจากอรรถกถาซึ่งเป็นที่ปรึกษา
หลักในการเล่าเรียนศึกษา
พระไตรปิฎกแล้ว คัมภีร์พระพุทธศาสนาภาษาบาลี
ที่เกิดขึ้นในยุดต่างๆ หลัง
พุทธกาล ยังมีอีกมากมาย ทั้งก่อนยุคอรรถกถา
หลังยุคอรรถกถา และแม้ใน
ยุคอรรถกถอง แต่ไม่ได้เรียบเรียงใน
รูปลักษณะที่จะเป็นอรรถกถา
คัมภีร์สำคัญบางคัมภีร์ เป็นผลงานอิสระ
ของพระเถระผู้แตกฉานใน พระธรรมวินัย ท่านเรียบเรียงขึ้นตามโครงเรื่องที่ท่านจัดวางเอง
หรือเกิดจาก เหตุการณ์พิเศษ เช่น การตอบคำถามชี้แจงข้อสงสัยของผู้อื่นเป็นต้น
ปกรณ์ หรือคัมภีร์พิเศษเช่นนี้
บางคัมภีร์ได้รับความเคารพนับถือ
และอ้างอิงมาก โดยเฉพาะดัมภีร์
เนตติ เปฏิโกปทส และ มิลินทบัญหา
ซึ่งเกิดขึ้นก่อนยุคอรรถกถา

ในพม่าจัดเข้าเป็นคัมภีร์ในพระไตรปิฎกด้วย
(อยู่ในหมวดยุททก-นิกาย)

ในยุคอรรถกถา คัมภีร์ วิสุทธิมัคค์ ของพระพุทธโฆสะ
ผู้เป็นพระอรรถกถาจารย์องค์สำคัญ แม้จะถือกันว่าเป็น
ปกรณ์พิเศษ ไม่ใช่เป็นอรรถกถา เพราะท่านเรียบเรียงขึ้นตาม
โครงเรื่องที่ท่านตั้งเอง ไม่ใช่อธิบายพระไตรปิฎกตอนใดตอนหนึ่ง
โดยเฉพาะ แต่ก็ได้รับความนับถือมากเหมือนเป็นอรรถกถา
เรียกได้ว่าเป็นคัมภีร์ระดับอรรถกถา ประเทศพุทธศาสนา
เถรวาทต่างให้ความสำคัญ ถือเป็นแบบเผนในการศึกษา
หลักพระพุทธศาสนา

คัมภีร์ที่เกิดหลังยุคอรรถกถา ก็มีทั้งคัมภีร์ที่อยู่ในสายเดียวกับ
อรรถกถา คือเป็นคัมภีร์ที่อธิบายพระไตรปิฎก
และอธิบายอรรถกถา และอธิบายกันเอง เป็นขั้นๆ ต่อกันไป
กับทั้งคัมภีร์นอกสาย
พระไตรปิฎก เช่นตำนานหรือประวัติและไวยากรณ์ เป็นต้น
คัมภีร์เหล่านี้ มีชื่อเรียกแยกประเภท
ต่างกันออกไปหลายอย่าง จะกล่าวเฉพาะในสายของอรรถกถา
คือที่อธิบายต่อออกไปจากอรรถกถ และเฉพาะที่ควรรู้ในที่นี้ก็คือ
ฎีกาและอนุฎีกา เมื่อเรียงลำดับคัมภีร์ในสายพระไตรปิฎก
และอรรถกถาก็จะเป็นดังนี้


(ก) บาลี คือพระไตรปิฎก
(ข) อรรถกถา คือ คัมภีร์ที่อธิบายบาลีหรืออธิบายความใน
พระไตรปิฎก
(ค) ฎีกา คือ คัมภีร์ที่อธิบายอรรถกถา หรือขยายความต่อจาก
อรรถกถา
(ม) อนุฎีกา คือ คัมภีร์ที่อธิบายขยายความต่อจากฎีกาอีกทอด
หนึ่ง
ส่วนคัมภีร์ชื่ออย่างอื่นต่อจากนี้ไปที่มีอีกหลายประเภท
บางทีท่านใช้คำ เรียกรวมๆ กันไปว่า ตัพพินิมุต
(แปลว่า "คัมภีร์ที่พ้นหรือนอกเหนือจากนั้น")

คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่มีอยู่มากมาย ทั้งในสายและนอกสาย
พระไตรปิฎกนี้ ในประเทศไทยเท่าที่ผ่านมาได้ตีพิมพ์เป็น
เล่มหนังสือออก มาแล้วเพียงจำนวนน้อย
ส่วนมากยังคงค้างอยู่ในใบลาน เพิ่งจะมีการตื่นตัวที่
จะตรวจชำระและตีพิมพ์กันมากขึ้นในช่วงเวลาใกล้ๆ นี้
จึงจะต้องรออีกสัก ระยะหนึ่งซึ่งคงไม่นานนัก ที่ชาวพุทธและ
ผู้สนใจจะได้มีคัมภีร์ พุทธศาสนาไว้ ศึกษาค้นคว้า
อย่างค่อนข้างบริบูรณ์
สำหรับคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถานั้น ได้มีการตีพิมพ์
เป็นเล่ม พรั่งพร้อมแล้วในปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ส่วนคัมภีร์อื่นๆ
รุ่นหลังต่อๆ มา ที่มีค่อนข้างบริบูรณ์พอจะหาได้ไม่ยากก็คือ
คัมภีร์ที่ใช้เรียนในหลักสูตรเปรียญ ธรรม
เนื่องจากคัมภีร์เหล่านี้ มีความสัมพันธ์อธิบายความต่อกัน
กล่าวคือ อรรถกถาอธิบายพระไตรปิฎก และฎีกาขยายความ
ต่อจากอรรถกถา หรือต่อ จากคัมภีร์ระดับอรรถกถา
จึงจะได้ทำบัญชีลำดับเล่ม จับคู่คัมภีร์ที่อธิบายกัน
ไว้ เพื่อเป็นพื้นฐานความเข้าใจในการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป
และเพื่ออำนวยความสะดวกในการโยงข้อมูลระหว่างคัมภีร์

 

บทสรุป
เพื่อทบทวนสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้
ความสำคัญของพระไตรปิฎก
อาจกล่าวโดยสรุปได้ดังนี้


๑. พระไตรปัฎกเป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพุทธพจน์คือพระดำรัสของ
พระพุทธเจ้า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ตรัสไว้เอง
เท่าที่ตกทอด มาถึงเรา มีมาในพระไตรปิฎก เรารู้จักคำสอน
ของพระพุทธเจ้าจากพระไตรปิฎก

๒. พระไตรปิฎกเป็นที่สถิต
ของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เพราะ
เป็นที่บรรจุพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ให้เป็น
ศาสดาแทนพระองค์ เราจะเฝ้าหรือรู้จักพระพุทธเจ้า
ได้จากพระดำรัสของพระองค์ที่ท่านรักษากันไว้ในพระไตรปิฎก

๓. พระไตรปิฎกเป็นแหล่งต้นเดิมของคำสอนในพระพุทธศาสนา
คำสอน คำอธิบาย ดัมภีร์ หนังสือ ตำรา ที่อาจารย์และ
นักปรชญ์ทั้งหลายพูดกล่าวหรือเรียบเรียงไว้
ที่จัดว่าเป็นของในพระพุทธศาสนา จะต้องสืบขยายออกมา
และเป็นไปตามคำสอนแม่บทในพระไตรปิฎก ที่เป็นฐานหรือเป็น
แหล่งต้นเดิม

๔. พระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิงในการแสดงหรือยืนยัน
หลักการ ที่กล่าวว่าเป็นพระพุทธศาสนา การอธิบายหรือกล่าว
อ้างเกี่ยวกับหลักการของพระพุทธศาสนา จะเป็นที่น่าเชื่อถือ
หรือยอมรับได้ด้วยดี เมื่ออ้างอิงหลักฐานใน
พระไตรปิฎก ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานอ้างอิงขั้นสุดท้ายสูงสุด

๕. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอน
ในพระพุทธศาสนา คำสอนหรือคำกล่าวใดๆ
ที่จะถือว่าเป็นคำสอนในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้อง
กับพระธรรมวินัยซึ่งมีมาในพระไตรปิฎก (แม้แต่คำหรือข้อความ
ในพระไตรปิฎกเอง ถ้าส่วนใดถูกสงสัยว่าจะแปลกปลอม
ก็ต้องตรวจสอบด้วยคำสอนทั่วไปในพระไตรปิฎก)

๖. พระไตรปิฎกเป็นมาตรฐานตรวจสอบความเชื่อถือ
และข้อปฏิบัติใน พระพุทธศาสนา ความเชื่อถือหรือข้อปฏิบัติ
ตลอดจนพฤติกรรมใดๆ จะวินิจฉัยว่าถูกต้องหรือผิดพลาด
เป็นพระพุทธศาสนาหรือไม่ ก็โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่มีมา
ในพระไตรปิฎกเป็นเครื่องตัดสิน ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้
การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกจึงเป็นกิจสำคัญ ยิ่งของชาวพุทธ
ถือว่าเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา หรือเป็นความดำรง
อยู่ของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ถ้ายังมีการศึกษาค้นคว้า
พระไตรปิฎกเพื่อ นำไปใช้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนาก็ยังดำรงอยู่
แต่ถ้าไม่มีการศึกษาค้นคว้า พระไตรปิฎก แม้จะมีการปฏิบัติ
ก็จะไม่เป็นไปตามหลักการของพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาก็จะไม่ดำรงอยู่ คือจะเสื่อมสูญไป
นอกจากความสำคัญในทางพ ระศาสนาโดยตรงแล้ว
พระไตรปิฎกยังมี คุณค่าที่สำคัญในด้านอื่นๆ อีกมาก โดยเฉพาะ

(๑) เป็นที่บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับลัทธิ ความเชื่อถือ ศาสนา
ปรัชญา ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม เรื่องราว
เหตุการณ์ และถิ่นฐาน เช่น
แว่นแคว้นต่างๆ ในยุคอดีตไว้เป็นอันมาก

(๒) เป็นแหล่งที่จะสืบค้นแนวความคิดที่สัมพันธ์กับวิชาการต่างๆ
เนื่องจากคำสอนในพระธรรมวินัยมีเนื้อหาสาระเกี่ยวโยงหรือ
ครอบคลุมถึงวิซาการหลายอย่าง เช่นจิตวิทยา กฎหมาย
การปกครอง เศรษฐกิจ เป็นต้น

(๓) เป็นแหล่งเดิมของคำศัพท์บาลีที่นำมาใช้ในภาษาไทย
เนื่องจาก ภาษาบาลีเป็นรากฐานสำคัญส่วนหนึ่งของภาษาไทย
การศึกษาคั้นคว้าพระไตรปิฎกจึงมีอุปการะพิเศษแก่การศึกษา
ภาษาไทย รวมความว่า การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกมี
คุณค่าสำคัญ ไม่เฉพาะแต่ในการศึกษาพระพุทธศาสนาเท่านั้น
แต่อำนวยประโยชน์ทางวิชาการในด้าน ต่างๆ มากมาย เช่น
ภาษาไทย ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา
มานุษยวิทยา โบราณคดี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์นิติศาสตร์
ศึกษาศาสตร์ศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา เป็นต้นด้วย

แต่นับว่าเป็นเรื่องแปลก และน่าใจหาย ที่คนสมัยนี้กลับไม่เข้าใจว่า
พระไตรปิฎกคืออะไร ทำไมต้องรักษาพระไตรปิฎก ทำไมต้องเอา
พระไตรปิฎกมาเป็นมาตรฐานหรือเป็นเกณฑ์วินิจฉัยว่า
อะไรเป็นธรรมวินัย อะไรเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
หากปราศจากความเข้าใจพื้นฐาน เช่นนี้เสียแล้ว
บางคนก็อาจไปไกลถึงขนาดที่ทึกทักเอาผิดๆ ว่า คำสอน
ของพระพุทธเจ้า ใครจะว่าอย่างไรก็ได้

นอกจากนี้ ยังมีความสับสนระหว่างตัวหลักการของ
พระศาสนาเองกับความคิดเห็นส่วนบุคคล ความสับสนนี้
ซึ่งก็คงเกี่ยวเนื่องกับปัญหาแรก ย่อมนำไปสู่ปัญหาต่างๆ
มากมายอย่างแน่นอน ถ้าเราถามว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร
หรือสอนเรื่องอะไรว่าอย่างไรเราก็ต้องไปดูพระไตรปิฎก
เพื่อหาคำตอบ เพราะเราไม่มีแหล่งอื่นที่จะตอบคำถามนี้ได้

แต่ถ้าเขาถามว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างนี้แล้ว
คุณจะว่าอย่างไร เราจะคิดอย่างไรก็เป็นสิทธิของเรา
เป็นเสรีภาพของเราที่จะแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนแม้แต่ในกรณีหลัง
เพื่อความเป็นธรรมต่อพระศาสดา เราก็ควรจะ
ศึกษาคำอธิบายของท่านในคัมภีร์ต่างๆ ให้ชัดแจ้งก่อน
แล้วจึงมาสรุปสิ่งที่ศึกษามาแล้ว ถ้าสรุปดีก็ตรงตามที่
พระพุทธเจ้าสอน สรุปไม่ดีก็ผิดพลาด ก็ต้องศึกษาค้นคว้าต่อไป
แต่อย่างน้อยก็ต้องแยกให้ชัดอย่างที่กล่าวมาแล้วว่า
พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่างไร ก็ว่าไปตามคำสอน
ของพระองค์โดยซื่อสัตย์ แล้ว เราเห็นว่าอย่างไร
ก็ว่าไปตามอิสระที่เราเห็น แต่เวลานี้คนว่ากันนงนังสับสน
ที่จริงนั้น หลักการสำคัญของพระพุทธศาสนา
มีความชัดเจนแน่นอนและไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของความคิดเห็น
หรือคาดเดา แต่เป็นเรื่องของ หลักฐานที่ชาวพุทธถือกันว่า
มาจากพระพุทธเจ้าโดยตรง คือมาในพระไตรปิฎก
และมีคัมภีร์อรรถกถาเป็นต้น อธิบายประกอบ
ซึ่งชาวพุทธทุกยุดสมัย ถือว่า
เป็นเนื้อเป็นตัวของพระศาสนา เป็นหลักสำคัญที่สุด
และได้เพียรพยายามไปหมด

อย่างที่กล่าวแล้วก่อนหน้านี้ ตราบใดที่พระไตรปิฎกยังมีอยู่
ตราบนั้นพระพุทธศาสนาก็ยังคงอยู่ พระพุทธศาสนาอันเป็น
ของแท้ดั้งเดิม ดังนั้น ตราบใดที่ยังมีพระไตรปิฎกอยู่
เราก็ยังมีโอกาสที่จะรู้จักพระพุทธศาสนาและ ได้รับประโยชน
์ที่แท้จริงที่พึ่งได้จากพระศาสนาอันประเสริฐนี้
จึงหวังว่า พระไตรปิฎกบาลีจะเป็นสื่อที่เสมือน
พระธรรมทูตผู้จาริกไป กว้างไกล โดยทำหน้าที่แสดงธรรม
อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง และ งามตราบสุดท้าย
ตามพระพุทธโอวาทที่ทรงส่งพระสาวกรุ่นแรกไปประกาศ
พระศาสนา เพื่อให้สัมฤทธิ์จุดหมายแห่งการแผ่ขยาย
ประโยชน์สุขแก่พหูชน
คือประซาชาวโลกทั้งมวลสืบไป

หนังสือพระไตรปิฎก สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้

พระไตรปิฎก-สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้-พระพรหมคุณาภรณ์-ราคาธรรมทาน27บาท
http://www.trilakbooks.com/product/1208184/พระไตรปิฎก-สิ่งที่ชาวพุทธต้องรู้-พระพรหมคุณาภรณ์-ราคาธรรมทาน27บาท.html


--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---

--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---

ดำเนินการจัดส่ง โดย 
"ศูนย์เผยแพร่พระไตรปิฎกและหนังสือพระพุทธศาสนาไตรลักษณ์"

--- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- --- ---


ช่องทางติดต่อ
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม / สั่งซื้อ / ส่งสลิปการโอนเงิน


สามารถสั่งซื้อ โดยตรง ที่ LINE@ ได้โดยตรงที่
หรือสั่งทำ โต๊ะวางพระ แท่นวางพระ สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ที่

LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks

 

ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์เพิ่มเติม


สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771


ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่
เรื่องลายละเอียดผลิตภัณฑ์ สอบถามสินค้าอื่นๆ สอบถามข้อสงสัย
รวมถึง เรื่อง การจัดส่ง ไปยังสถานที่ต่างๆทั่วประเทศ
โดยปกติ ที่ศูนย์สามารถดำเนินการจัดส่ง ไปถึงวัด
หรือสถานปฏิบัติธรรม และบ้านพักอาศัย ตามที่ลูกค้าต้องการ
--- --- --- --- --- --- ---


ท่านสามารถมาชม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ด้วยตนเอง
ที่สถานที่ตั้ง ของศูนย์ ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น

ศูนย์หนังสือไตรลักษณ์ ตั้งอยู่ ที่
พุทธมณฑล สาย 4 ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระยืน
ติดกับกำแพง วัดญาณเวศกวัน

สิ่งอำนวยความสะดวก
มีสถานที่จอดรถกว้าง มีร้านกาแฟ ขนมว่าง

แผนที่มายังศูนย์หนังสือพระพุทธศาสนา ไตรลักษณ์
แผนที่สำหรับเดินทาง Google maps
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2

 



 

ผอบ ที่ใส่พระหรือวัตถุมงคล ในห้องพระ ขนาดใหญ่
ผอบไม้ ที่ใส่พระหรือวัตถุมงคล ในห้องพระ ลงรักปิดทอง ขนาดใหญ่

 

ดอกบัว ลงรักปิดทอง ประดับกระจกคละสี ขนาดใหญ่ ความสูง 65 เซนติเมตร ทั้งชุด  ประดับกระจกสี ราคา -คู่ละ-  2200 บาท  (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ)  ความสูง 65 เซนติเมตร  ใช้วิธีประดับด้วย การลงรักปิดทอง

ดอกบัว ลงรักปิดทอง ประดับกระจกคละสี ขนาดใหญ่
ความสูง 65 เซนติเมตร ทั้งชุด
ประดับกระจกสี ราคา -คู่ละ-  2200 บาท 

(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ) ความสูง 65 เซนติเมตร ใช้วิธีประดับด้วย การลงรักปิดทอง

 
 
ภาพบรรยากาศ คณะเจ้าภาพถวายตู้และหนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย เล่มสีเหลือง
อนุโมทนาบุญแด่คณะผู้ร่วมถวาย หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย 45 เล่ม 
ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือฉบับพิเศษเพราะจัดพิมพ์จะเพราะวาระโอกาส ถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ถวายแด่พระภิกษุ เพื่อนำไปใช้ ศึกษาและเผยแพร่หลักพระธรรมคำสอน หลังจากที่ได้ศึกษาหนังสือ
พระไตรปิฎกเหล่านี้แล้ว แด่ประชาชนทั่วไปในคราวต่อไป

หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
หนังสือพระไตรปิฎกภาษาไทย 45 เล่ม ปกใหม่ สีเหลือง ราคามูลนิธิ 15000 บาท

พิธีถวายตู้และหนังสือพระไตรปิฎก ที่ผู้ถวายขอใช้สถานที่ศูนย์ส่งพระไตรปิฎก เป็นสถานที่ในการจัดพิธีในครั้งนี้ กราบอนุโมทนาบุญในครั้งนี้เป็นอย่างสูงครับ
พิธีถวายตู้และหนังสือพระไตรปิฎก ที่ผู้ถวายขอใช้สถานที่ศูนย์ส่งพระไตรปิฎก เป็นสถานที่ในการจัดพิธีในครั้งนี้ กราบอนุโมทนาบุญในครั้งนี้เป็นอย่างสูงครับ

ขอกราบอนุโมทนาบุญแด่ทุกท่านผู้ถวายตู้และหนังสืพระไตรปิฎกในราคามูลนิธิ ของมหาวิทยาลัย ทั้ง มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยฯ และ มหามกุฏราชวิทยาลัยฯ โดย ศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎกทั่วประเทศ เป็นผู้ดำเนินการจัดส่งให้ถึงที่หมายปลายทาง อาทิ วัด สถานศึกษา สถานปฏิบัติธรรม และตามสถานที่ต่างๆ ตามความประสงค์ ของคณะเจ้าภาพผู้มีความประสงค์จะจัดถวาย รวมถึง ยังเปิดให้ใช้สถานที่ในการ จัดพิธีสงฆ์ ถวายตู้และหนังสือพระไตรปิฎก สำหรับคณะเจ้าภาพผู้มีความประสงค์จะ ขอใช้สถานที่ในการทำพิธีสงฆ์ ที่ศูนย์ก็พร้อมบริการได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

รับจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก หนังสืองานศพ งานฌาปนกิจ งานพระราชทานเพลิงศพ
 



 

 


ศูนย์จัดพิมพ์หนังสือธรรมะ จัดส่งทั่วประเทศ ในราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน
แทรกรายชื่อผู้ร่วมจัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก

เชิงเทียน-และงานพุทธศิลป์