06.พิธีการและขั้นตอนการทำบุญเลี้ยงพระ
ประเคนของพระ
การประเคนของพระ เจ้าของงานควรประเคนเอง ถ้าเป็นงานมงคลสมรส
ควรจัดให้คู่บ่าวสาวประเคนร่วมกัน ให้เริ่มประเคนพระรูปที่นั่งต้นแถวก่อน
แล้วต่อไปตามลำดับ เสร็จแล้วกราบ 1 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง ตามที่ควร
ถ้าประเคนมากรูป รูปต้นๆ เพียงประนมมือไหว้ก็พอ ถึงรูปสุดท้ายจึงกราบ
วิธีบูชาข้าวพระพุทธ
วิธีบูชาข้าวพระพุทธที่พระพุทธซึ่งเรียกว่าข้าพระ
ให้จัดเตรียมมา ตั้งไว้ที่หน้าเครื่องบูชา อย่าไปตั้งหรือวางไว้กับพื้น เพราะเป็น
พระพุทธรูปบูชา จักเป็นการไม่เคารพคารวะ เมื่อตั้งเสร็จแล้ว
เจ้าของงานพึงทำการบูชา ด้วยตั้งใจนึกบูชาตามสมควร จุดประสงฆ์ก็เพียง
ให้ตั้งใจระลึกนึกบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บูชาแล้วกราบ 3 ครั้ง เมื่อเลิกพึงกล่าว
คำอำลาว่า ... เสสัง มังคะลา ยาจามิ
เมื่อเวลาพระฉัน ควรจัดให้มีผู้ปฏิบัติพระประจำอยู่ในที่นั้นด้วย เพื่ออำนวยความสะดวก
ในการหยิบจับสิ่งของอื่นๆ และช่วยประเคนสิ่งที่ขาดเหลือตามสมควร
การถวายไทยธรรม
เครื่องไทยธรรมควรจัดเตรียมไว้ก่อน เมื่อพระฉันเสร็จกลับเข้านั่งที่
เรียบร้อยแล้ว พึงยกตั้งเรียงไว้ตรงหน้าพระทุกๆรูป เป็นการประเคน
เครื่องไทยธรรม โดยตรงเป็นหน้าที่ของเจ้าของงาน
การกรวดน้ำ
การกรวดน้ำ เปนการอุทิศแผ่ส่วนบุญกุศลที่ตนได้บำเพ็ญ ส่งไปให้แก่บุรพชน
ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย นิยมทำเมื่อถวายทานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
พระสงฆ์เริ่มอนุโมทนา เครื่องสำหรับกรวดน้ำต้องจัดหาเตรียมไว้ก่อน
เมื่อพระเริ่มกล่าวอนุโมทนาขึ้นว่า ยถา ฯ พึงหยิบน้ำที่เตรียมไว้
เทลงในภาชนะที่รองน้ำ พร้อมด้วยตั้งใจอธิฐานอุทิศแผ่ส่วนบุญกุศล
และตั้งความปรารถนาตามสมควร เมื่อพระนำว่า ยถา ฯ จบ
พระสงฆ์รับ สพฺพี ฯ พึงเทน้ำให้หมดอย่าเหลือไว้ในภาชนะ นั่งประนมมือ
รับพรที่พระสวดจนกว่าจะจบ เมื่อจบแล้วพึงกราบลง ส่วนน้ำที่กรวดแล้วนั้นให้
นำไปเทในที่แจ้ง
ถ้าเป็นงานมงคลสมรส ต้องให้คู่บ่าวสาวร่วมกันจับภาชนะเดียวกัน
เทน้ำกรวด การกรวดน้ำ เป็นหน้าที่ของเจ้าของงาน คนอื่นกรวดแทนไม่ได้
เพราะเจ้าของงาน เป็นเจ้าของบุญกุศลโดยตรง เมื่อจะให้แก่ใคร
เจ้าของก็ต้องให้เอง
การประน้ำมนต์
เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว พึงนำน้ำมนต์พร้อมด้วยเครื่องประพรม
ที่เตรียมไว้นั้น ถวายพระรูปที่เป็นหัวหน้าให้ท่านประนำมนต์ให้
เพื่อความเป็นสิริมงคล
|