
03.การถวายทาน หรือ การถวายสังฆทาน
การถวายทานต่างๆ เรียกว่า ทานพิธี คือการถวายวัตถุที่ควรให้เป็นทาน
ในพระพุทธศานาเรียกว่าวัตถุที่ควรให้เป็นทานนี้ว่า
"ทานวัตถุ" ท่านจำแนกไว้ 10 ประการ คือ
1. ภัตตาหาร
2. น้ำ รวมทั้งเครื่องดื่มอันควรแก่สมณะบริโภค
3. เครื่องนุ่งห่ม
4.ยานพาหนะ สงเคราะห็์ ค่าปัจจัย โดยสาร
5. มาลัยและดอกไม้ เครื่องบูชา
6. ของหอม หมายถึง ธูปเทียนบูชาพระ
7. เครื่องลูบไล้ หมายถึง สุขภัณฑ์ สำหรับชะระร่างกาย
8. เครื่องที่นอนอันสมควรแก่สมณะ
9. ที่อยู่อาศัย มีกุฏิ เสนาสนะ และเครื่องสำหรับเสนาสนะ
10. เครื่องตามประทีป มีเทียน ตะเกียง น้ำมัน ไฟ เป็นต้น
ทั้ง 10 ประการนี้ ควรแก่การถวายเป็นทานแก่ภิกษุสามเณร เพื่อใช้สอยหรือบูชา
พระตามสมควร
การถายทานนิยมอยู่ 2 อย่าง คือ
1. ปาฏิบุคลิกทาน ถวายเจาะจงเฉพาะรูปนั้นรูปนี้
2. สังฆทาน ถวายโดยไม่เจาะจงรูปใด มอบเป็นของกลาง
1. ปาฏิบุคลิกทาน
การถวายทานแบบนี้ ไม่จำเป็นต้องมีพิธีกรรมอะไรใหนการถวาย
เพราะผู้ที่ศรัทธาจะถวายสิ่งใดแก่ภิกษุสามเณร ก็จัดสิ่งนั้นมอบถวาย
เฉพาะรูปนั้นเป็นรายบุคคลก็สำเร็จเป็นทานแล้ว และผู้รับปาฏิบุคลิกทาน
จะอนุโมทนาอย่างไรนั้น ก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลเช่นกัน
2. สังฆทาน
สังฆทาน เป็นการถวายพระสงฆ์ส่วนรวมในวัด เป็นการสงฆ์
ไม่ใช่เป็นการบุคคล แบบปาฏิบุคลิกทาน จึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องด้วยกับ
พิธีกรรมโดยเฉพาะ การถวายและการอนุโมทนาของสงฆ์ ย่อมมีพิธีปฏิบัติ
เช่นกัน

การถวายสังฆทาน
การถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์นั้น แม้มีกำหนดวัตถุ เป็น 10 ชนิด
แล้วก็ตาม ก็มีนิยมถวายวัตถุใน 10 ชนิดนั้นเป็นรายการๆ แยกคำถวาย
ต่างกันออกไปอีกมากมาย แต่จะเป็นการถวายอะไรก็ตาม เมื่อสงเคราะห์
อยู่กับในปัจจัย เครื่องอาศัยของบรรพชิต 4 คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานเภสัช ทั้งนั้น
การถวายสังฆทาน นิยมถวาย ใน 2 โอกาส คือ
1. กาลทาน ทานที่ถวายในกาลที่ควรถวายสิ่งนั้นๆ
2. ถวายไม่เนื่องด้วยกาลหรือนอกกาล
การถวายทานทั้งสองโอกาสนี้ มีระเบียบพิธีในการถวายคล้ายๆกัน

|