เอกสารเกี่ยวกับการชำระ และการจารึก
พระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๑
... ... ... ... ...
... ... ... ... ...
... ... ... ... ...
... ... ... ... ...
ภาษา และการเขียนในบทความต่อไป นี้ ได้คัดลอกมา
จาก หนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
และได้ใช้เป็นภาษาสำนวนโบราณ (อาจจะอ่านยากนิดนึงครับ)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑
ทรงพระราชดำริทำนุกบำรุงพระพุทธศาสนา
(จากหนังสือพงศาวดาร ฉบับ พระราชหัตถเลขา)
ในปีวอกสัมฤทธิศกนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าหลวง ทรงพระราชรำพึง
ถึงพระไตรปิฎกธรรม อันเป็นมูลรากแห่งพระปริยัติศาสนา ทรงพระราชศรัทธาพระราชทาน
พระราชทรัพย์เป็นอันมาก ให้เป็นค่าจ้างช่างจานจารึกพระไตรปิฎกลงลาน แต่บรรดามีฉะบับ
ในที่ใดๆ ที่เป็นอักษรลาว อักษรรามัญ ก็ใช้ชำระแปล ออกเป็นอักษรขอม สร้างขึ้น ใส่ตู้ไว้ใน
หอพระมนเทียนธรรม และสร้างพระไตรปิฎก ถวายพระสงฆ์ให้เล่าเรียนทุกๆ พระอารามหลวง
ตามความปรารถนา
จึงเจ้าหมื่นไวยวรนารถกราบทูลว่า พระไตรปิฎก ซึ่งทรงพระราชศรัทธา
สร้างขึ้นไว้ทุกวันนี้ อักษรบทพยัญชนะตกวิปลาศอยู่แต่ฉะบับเดิมมา หากผู้จะทำนุกบำรุง
ตกแต้มดัดแปลงให้ถูกต้องบริบูรณ์ขึ้นมิได้ ครั้นได้ทรงสดับก็ทรงพระปรารภไปว่า พระบาลี
และอรรถกถาฎีกาพระไตรปิฎกทุกวันนี้ เมื่อและผิดเพี้ยนพิปลาศอยู่เป็นอันมากฉะนี้ จะเป็น
เค้ามูล พระปฏิปัตติศาสนาปฏิเวธศาสนานั้นมิได้ อนึ่ง ท่านผู้รักษาพระไตรปิฎกมีอยู่ทุกวันนี้
ก็น้อยนัก ถ้าสิ้นท่านเหล่านี้แล้วเห็นว่าพระปริยัติศาสนา และปฏิปัตติศาสนา และปฏิเวธศาสนา
จะเสื่อมศูนย์เป็นอันเร็วนัก สัตว์โลกทั้งปวงจะหาที่พึงบมิได้ในอนาคตกาลเบื้องหน้า ควรจะ
ทำนุกบำรุงพระบวรพระพุทธศาสนา ไว้ให้ถาวรวัฒนาการ เป็นประโยชน์ไปแก่เทพามนุษย์ทั้งปวง
จึงจะเป็นทางพระบรมโพธิญาณบารมี ครั้งทรงพระราชดำริฉะนี้แล้ว
จึงให้ประชุม
พระราชวงศานุวงศ์ มีสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯ เป็นประธาน บนพระที่นั่ง
อมรินทราภิเษกมหาปราสาท ให้อาราธนา สมเด็จพระสังฆราชพระราชาคณะถานานุกรมบาเรียน
ร้อยรูปมารับพระราชทานฉัน ครั้นเสร็จสงฆภุตตากิจแล้ว สมเด็จบรมพิตรพระเจ้าอยูหั่ว
ทั้งสองพระองค์ จึงทรงถวายนมัสการดำรัสเผดียงถามพระราชาคณะทั้งปวงว่า พระไตรปิฎก
ธรรมทุกวันนี้ ยังถูกต้องบริบูรณ์ อยู่หรือพิรุธผิดเพี้ยนประการใด จึงสมเด็จพระสังฆราช
พระราชาคณะทั้งปวง พร้อมกันถวายพระพรว่า พระบาลี และอรรถกถาฎีกาพระไตรปิฎกทุกวันนี้
พิรุธมาก มาช้านานแล้ว หากษัตริย์พระองค์ใด จะทำนุกบำรุงเป็นสาสนูปถัมภกมิได้ แต่กำลัง
อาตมภาพทั้งปวง ก็คิดจะใคร่ทำนุกบำรุงอยู่เห็นจะไม่สำเร็จ
เมื่อพระองค์เสด็จพระสรรเพ็ชญ์
พระพุทธองค์ผู้ทรงพระทัศอรหาทิคุณอันประเสริฐ เมื่อพระองค์เสด็จบรรทมเหนือ
พระมรณมัญจาพุทธาอาสน์ เป็นอนุฐานไสยาสน์ ณ หว่างนางรังทั้งคู่ในาลวโนทยานแห่ง
พระยามลราช ใกล้กรุงกุสินาราราชะานี มีพระพุทธฏีตรัสแก่พระภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรสงฆ์
ทั้งปวง พระธรรมวินัยอันใด ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ อันพระตถาคตเทศนาสั่งสอนท่าน
เมื่อพระพระตถาคตนิพพานแล้ว พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ็นั้น จะเป็นครู สั่งสอน
ท่านและสรรพสัตว์ทั้งหลาย ต่างพระตถาคตแปดหมื่นสี่พันพระองค์ ตรัสมอบพระพุทธศาสนา
ไว้แก่พระปริยัติธรรมฉะนี้แล้ว ก็เข้าสู่พระปรินิพพาน จำเดิม แต่สมเด็จพระสัมพพัญญูเจ้านิพพาน
ถวายพระเพลิงแล้วเจ็ดวัน
พระมหากัสสปเจ้าระลึกถึงถ้อยคำพระสุภัทรภิกษุแก่ กล่าวติเตียน
พระบรมครูเป็นมูลเหตุ จึงดำริการจะกระทำสังคายนา เลือกสรรพระสงฆ์ทั้งหลายล้วน
พระอรหันต์ทรงพระจตุปฏิสัมภิทาญาณ กับพระอานนท์ เป็นเสกขบุคคลพระองค์หนึ่ง
ได้พระอรหันตต์ในราตรีรุ่งขึ้นจะทำสังคายนาย พอครบห้าร้อยพระองค์ มีพระเจ้าอชาตสัตรู
เป็นสาสนูปถัมภก กระทำสังคายนาพระไตรปิฎกในพระมณฑป แทบถ้ำสัตบรรคูหา
ณ เขาเวภารบรรพต ใกล้กรุงราชกฤห์มหานคร เจ็ดเดือนจึงสำเร็จการปฐมสังคายนาย
... ... ... ... ...
... ... ... ... ...
... ... ... ... ...
... ... ... ... ...
ลำดับหน้าต่อไปนี้ คือ พระสมุดคำประกาศเทวดา ครั้งสังคายนาย
ปีวอกสัมฤทธิศก พุทธศักราช ๒๓๓๑ / รัชกาลที่ ๑
ในภาพถ่าย พระสมุดคัมประกาศเทวดาครั้งสังคายนายในที่นี้
ได้ถ่ายภาพต้นฉบับจริง จากกลุ่มหนังสือตัวเขียนและจารึก หอสมุดแห่งชาติ
และได้นำเนื้อความกลับภาพตัวอักษรขาวเป็นดำพิมพ์ไว้ในที่นี้ ด้วย
|