พิมพ์ชื่อผู้ถวายพระไตรปิฎก
พิมพ์หนังสือธรรมะ แจกเป็นธรรมทาน ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน เบาะรองนั่งสมาธิ สถานที่ตั้ง ศูนย์จำหน่ายพระไตรปิฎก
ศูนย์จัดส่งพระไตรปิฎกทั่วประเทศ

ศูนย์จัดส่ง ตู้และหนังสือพระไตรปิฎก
ในราคามูลนิธิของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
และในราคาเดียวกันกับ มหามกุฏราชวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่ให้อย่างกว้างขวาง
โดยศูนย์จัดจำหน่ายตู้และหนังสือพระไตรปิฎก ทั่วประเทศ ที่จัดส่งได้ถึงที่หมายปลายทาง
ไม่ว่าจะเป็นที่ บ้าน วัด หรือสถานที่ราชการ และที่หมายปลายทางอื่นๆ ที่ผู้สั่งประสงค์ให้จัดส่ง
ศูนย์จัดส่งหนังสือพระไตรปิฎก ไตรลักษณ์ก็สามารถ
จัดส่งได้รวดเร็วทันใจและก่อนเวลาใช้งานจริง ทุกครั้ง
ศูนย์จัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎก ไตรลักษณ์

 

#ฐานรองพระไม้สัก #แท่นวางพระ #โต๊ะวางพระพุทธรูป #รับสั่งทำฐานพระ #ฐานวางพระ #ฐานพระบูชา #แท่นวางพระ #ฐานพระพุทธรูป #ฐานรองพระบูชา #ฐานรองพระพุทธรูป #ฐานวางพระพิฆเนศ #แท่นรองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ #ฐานเสริมองค์พระพุทธรูป
กิจกรรม ภาพการจัดส่งพระไตรปิฎก ทั่วประเทศ

บริจาคเงิน COVID

หนังสือพระไตรปิฎก ภาษาไทย 91 เล่ม ครบสมบูรณ์

เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับพิธีการทำบุญและอนุโมทนาวิธี

พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปปางชนะมาร และพระพุทธรูปแบบต่างๆ

หนังสือธรรมโฆษณ์ ของหลวงพ่อพุทธทาส ภิกขุ ครบชุด 81 เล่ม
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 91 เล่ม ไทย

ป้ายอลูมิเนียมอย่างดี สีทอง ติด บนตู้พระไตรปิฎก

หรือ บนกล่อง-หีบ-บรรจุพระคัมภีร์ต่างๆ ในราคาโรงงาน 700 บาท
กลุ่มหนังสือสำหรับพระภิกษุ
พระไตรปิฎก-แบบเรียน-นักธรรม-ตรี-โท-เอก



ศูนย์จัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎก
ไตรลักษณ์ตั้งอยู่เลขที่ 19/10 
หมู่3 ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม

ศูนย์จัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎก
ไตรลักษณ์
ตั้งอยู่เลขที่ 19/10
หมู่3 ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม
(ฝั่งเดียวกันกับ พุทธมณฑลองค์พระ)
ในซอยวัดญาณเวศกวัน เปิดบริการทุกวัน
ตั้งแต่เวลา 8.00-17.00 น.

086-461-8505,
087-696-7771,


E-mail : trilak_books@yahoo.com



#และเพื่อความรวดเร็วในการสนทนา
ช่องทางการติดต่อทาง/ #สั่งซื้อทางLine
~สั่งพิมพ์หนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทาน
~สั่งชุดพระไตรปิฎกแบบต่างๆ

👨🏻‍💻 #LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ

https://
line.me/R/ti/p/%40trilakbooks

หนังสือแบบเรียนนักธรรม สำหรับพระภิกษุสงฆ์และสามเณร


การสั่งสินค้าและผลิตภัณฑ์

สำหรับท่านที่ประสงค์จะสั่ง ตู้พระไตรปิฎก
และหนังสือพระไตรปิฎก
หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ

สามารถ ทำได้ดังนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ได้ที่

087-696-7771 086-461-8505
หรือส่ง mail มาที่

trilak_books@yahoo.com


#และเพื่อความรวดเร็วในการสนทนา
ช่องทางการติดต่อทาง/ #สั่งซื้อทางLine
~สั่งพิมพ์หนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทาน
~สั่งชุดพระไตรปิฎกแบบต่างๆ

👨🏻‍💻 #LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me
/R/ti/p/%40trilakbooks



1.เขียน ชื่อ ผู้ติดต่อ + เบอร์ติดต่อกลับ

2.ชื่อตู้พระไตรปิฎก (หรือแนบภาพ)

3.แจ้งชื่อหนังสือพระไตรปิฎก (หรือแนบภาพ)

4. หากมีข้อความ แทรก ผู้จัดพิมพ์ถวายหนังสือฯ
สามารถแนบมาได้ในคราวเดียวกัน

5.สถานที่จัดส่ง แบบละเอียดเพื่อให้ศูนย์หนังสือฯ
ประเมินค่าจัดส่งได้ต่อไป
ซึ่งจัดส่งโดยบริษัทขนส่งที่พร้อมดูแล
จัดส่งได้ทั่วประเทศ

 

พิมพ์หนังสือธรรมะ, หนังสือที่ระลึก,

ดำเนินการจัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎกทั่วไทย
โดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์
ดำเนินการจัดส่งตู้และหนังสือพระไตรปิฎกทั่วไทย
โดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์

..........................................................
หนังสือพุทธธรรม-700บาท


หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์


หนังสือพระไตรปิฎกทุกแบบ


หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่ม
ภาษา ไทย ราคา 15,000.-


หนังสือพระไตรปิฎก 91 เล่ม
ภาษา ไทย ราคา 25,000.-


หนังสือพระไตรปิฎก ฉบับ ส.ธรรมภักดี จำนวน 100 เล่ม

ภาษาไทย ราคา 18000 บาท (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย)
หนังสือพระไตรปิฎก 100 เล่ม ส.ธรรมภักดี
(ภาษาไทย) ราคา 18,000.-


อรรถกถาภาษาไทย (มจร)
อรรถกถาภาษาไทย (มจร)


หนังสือพระไตรปิฎก สยามรัฐภาษาไทย
ราคามูลนิธิ 15500 บาท

หนังสือพระไตรปิฎก 45 
ภาษาบาลี ราคา 13,000.-
หนังสือพระไตรปิฎก 45 เล่ม
ภาษาบาลี อักษรไทย ราคา 13,000.-


พระไตรปิฎก ฉ. ประชาชน (ไทย)
1 เล่มจบ ย่อจาก 45 เล่ม บาลี 500.-



หนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรค แปลไทย

หนังสือวิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น

เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา

หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ราคาเล่มละ 700 บาท
พุทธธรรมฉบับปรับขยาย (ล่าสุด)


แบบตู้พระไตรปิฎกทั้งหมด

ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดีตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดีตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดีตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม 
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี
ตู้พระไตรปิฎก 45 เล่ม
ไทย/บาลี/ส.ธรรมภักดี



ตู้พระไตรปิฎก 91 เล่ม ไทย



ตู้พระไตรปิฎก 91 เล่ม ไทย



ตู้พระไตรปิฎก ฉบับแก่นธรรม

 



ตู้หนังสือ ทั่วไป

 

 

ชุดพระมาลัยคัมภีร์แผ่นพับ พร้อมกล่องบรรจุลงรักปิดทองทั้งหลัง ราคา 6500 บาท
ชุดพระมาลัยคัมภีร์แผ่นพับ พร้อมกล่องบรรจุลงรักปิดทองทั้งหลัง ราคา 6500 บาท



หีบบรรจุ พร้อมกับ
คัมภีร์ พระมาลัย (พระอภิธรรม) 5,000.-

ชุด พระคัมภีร์ ใบลาน เทศน์มหาชาติ ธรรมวัตร 

ราคา ทั้งชุด 4,700.- บาท

(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย โดยบริษัทขนส่งทั่วประเทศ)
หีบบรรจุ
คัมภีร์ ใบลานมหาชาติ ธรรมวัตร 4,700.-



หีบบรรจุ
คัมภีร์ ใบลานมหาชาติ ทำนองภาคกลาง
สำหรับ วัดพระอารามหลวง 5,000.-


ชุด พระคัมภีร์ ใบลาน เทศน์มหาชาติ ภาคอีสาน ราคา ทั้งชุด 5,000.- บาท

(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วไทย โดยบริษัทขนส่งทั่วประเทศ)

หรือ ที่เรียกว่า ลำมหาชาติ เป็น เทศน์มหาชาติภาคอีสาน 
ที่บรรจงสรรสร้างขึ้นจากใบลานริมทอง แท้ อย่างดี

พร้อมหีบบรรจุ แบบลงรักปิดทองสวยงาม ทำให้ผู้ที่สนใจศึกษา
หรือจะถวายพระภิกษุ ในงานพิธีสงฆ์ มีความรู้สึกปลาบปลื้มยินดี
ที่จักได้รับ พระคัมภีร์ชุดนี้ ไว้ศึกษาต่อไป
หีบบรรจุ
คัมภีร์ ใบลานมหาชาติ มหาชาติ
ลำมหาชาติ (ภาคอีสาน) 5,000.-


ต้นไม้ตรัสรู้-งานหัตถกรรมจากเนื้อโลหะ-ลงรักปิดทอง
 
ดอกบัว-ลงรักปิดทอง-ประดับกระจกคละสี-2200บาท
ใบโพธิ์ทอง

ใบโพธิ์สีทอง

 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


ความรู้ เรื่องเกี่ยวกับพิธีการทำบุญ
และอนุโมทนาวิธีตามหลักพระพุทธศาสนา

มุ ต โ ต ทั ย 
การทำงาน รักษาศีล เจริญภาวนา
โอวาทพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
มุ ต โ ต ทั ย
การทำงาน รักษาศีล เจริญภาวนา
โอวาทพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต


มุตโตทัย

ก า ร ทํ า ท า น รั ก ษ า ศี ล เ จ ริ ญ ภ า ว น า
โอวาท พระอาจารย์ ม
ั่น ภูริภัตโต

#อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ : มุตโตทัย ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน 25 บาท

 

 

ก า ร ป ฏิ บั ติ
เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของ
พระตถาคตเมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้วย่อมเป็นของปลอม
ทั้งสิ้น(สัทธรรมปฏิรูป)แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้า
แล้วไซร้ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริงและเป็นของไม่ลบเลือนด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติธรรมถ่ายเดียวจึงยัง
ใช้การไม่ได้ดีต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่ากะปอมก่า
คืออุปกิเลสแล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่และ
ทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย
ฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น
ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า

ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทรมานฝึกหัดพระองค์
จนได้ตรัสรู้พระอนุตตร สัมมาสัมโพธิญาณเป็น “พุทโธ” ผู้รู้ก่อน
แล้วจึงเป็น “ภควา” ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์
สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมี
ควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า
กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงาม
ของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องในจาตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้
แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน
ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดา
จำแนกแจกธรรมสั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณ
ปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ถ้าบุคคลไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้วและทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้
ก็จักเป็นผู้มีโทษปรากฏว่า ปาปโก สทฺโท โหติ คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไป
ในจาตุรทิศเพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์
สาวกเจ้าในกาลก่อนทั้งหลาย

 

มู ล ม ร ด ก อั น เ ป็ น
ต้นทุนทำการฝึกฝนตน

เหตุใดหนอ นักปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี
หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้งนโมก่อน จะทิ้งนโมไม่ได้เลย
เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ
จ ะ ย ก ขึ้ น พิ จ า ร ณ า ไ ด้ ค ว า ม ป ร า ก ฏ ว่ า
น คือธาตุนํ้า โม คือธาตุดิน
พร้อมกับบทพระคาถาขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมฺภโว
โอทนกุมฺมาสปจฺจโยสัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกันจึงเป็นตัวตนขึ้นมา
เมื่อคลอดจากครรภ์มารดาแล้วก็ได้รับข้าวสุกและขนมกุมมาสเป็น
เครื่องเลี้ยง จึงเจริญเติบโตขึ้นมาได้
น เป็นธาตุของ มารดา โม เป็นธาตุของ บิดา
ฉะนั้น เมื่อธาตุทั้ง ๒ นี้ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดา เคี่ยวเข้าจนได้นามว่ากลละ
คือนํ้ามันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ปฏิสนธิในธาตุ นโม นั้น
เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละก็ค่อยเจริญขึ้นเป็นอัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด
เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง และ เปสิ คือ
ชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็น ปัญจสาขา คือแขน ๒ ขา ๒ หัว ๑
ส่วน ธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ
นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลัง เพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจาก
กลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย
ลมและไฟก็ดับหายสาบสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย
ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือนโมเป็นดั้งเดิม
ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา
เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมา ด้วยการให้ข้าวสุก และขนมกุมมาส
เป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า
ปุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใคร ๆ ทั้งสิ้น
มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ท่านทำให้
กล่าวคือรูปกายนี้แลเป็นมรดกดั้งเดิม ทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็น
ไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลย
เพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น “มูลมรดก” ของมารดา บิดา ทั้งสิ้น
จึงว่าคุณของท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่
เราต้องเอาตัวเราคือนโมตั้งขึ้นก่อน แล้วจึงทำกิริยา น้อมไหว้ลงภายหลังนโมท่าน
แปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่
มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุนทำการฝึกหัดปฏิบัติตน
ไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ

มู ล ฐ า น สํ า ห รั บ ก า ร ป ฏิ บั ติ

นโม เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน
ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้คือ เอาสระอะจากตัว น
มาใส่ตัว ม เอาสระโอ จากตัว ม มาใส่ตัว น แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน
เป็น มโน แปลว่าใจ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงได้ทั้งกายทั้งใจ
เต็มตามสมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้
มโนคือใจนี้เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไร
ก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมด ได้ในพระพุทธพจน์ว่า

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฏฺฐา มโนมยา

ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจากใจ
คือมหาฐานนี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้้จักมโนแจ่มแจ้งแล้ว
มโนก็สุดบัญญัติคือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น
สมบัติทั้งหลายในโลกนี้ ต้องออกไปจากมโนทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร
ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมบัติบัญญัติตามกระแสแห่งนํ้าโอฆะ
จนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติ ด้วยการไม่รู้เท่า
ด้วยการหลง หลงถือว่าตัวเป็นเรา เป็นของเราไปหมด

มูลเหตุ
เเห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ

พระอภิธรรม ๖ คัมภีร์เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้
ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้ เป็น “อนันตนัย”
เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้รอบได้
เมื่อพิจารณาพระบาลีที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า
เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่มโนนั่นเอง
มโนเป็นตัวมหาเหตุ เป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอกนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น
อารมฺมณ จนถึง อวิคฺคต จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุคือใจเป็นเดิมโดยแท้
ฉะนั้นมโนซึ่งกล่าวไว้ใน ข้อ ๔ ก็ดี ฐีติภูตํ ซึ่งจะกล่าวในข้อ ๖
ก็ดี และมหาเหตุซึ่งกล่าวในข้อนี้ก็ดี ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน
พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดีรู้อะไรๆได้ด้วยทศพลญาณ
ก็ดีรอบรู้สรรพเญยยธรรมทั้งปวงก็ดีก็เพราะมีมหาเหตุเป็นดั้งเดิมทีเดียว
จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย แม้สาวกทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็น
เดิมจึงสามารถรู้ตามคำสอนของพระองค์ได้
ด้วยเหตุนี้แลพระอัสสชิเถระผู้เป็นที่ ๕
ของพระปัญจวัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่อุปติสสะ (พระสารีบุตร)
ว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุํ
ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณ
ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุฯ เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญเป็นตัวเดิม
เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี้ (คือมหาเหตุ)
ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า?
เพราะอะไรทุกสิ่งในโลก
ก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุ ถึงโลกุตตรธรรม
ก็คือมหาเหตุ ฉะนั้นมหาปัฏฐาน ท่านจึงว่าเป็นอนันตนัย
ผู้มาปฏิบัติใจคือตัวมหาเหตุจนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้วย่อมสามารถรู้อะไรๆ
ทั้งภายในและภายนอกทุกสิ่งทุกประการสุดจะนับประมาณได้ด้วยประการฉะนี้


มูลการของสังสารวัฏฏ์

ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปาทานํ ภโวชาติ...
คนเราทุกรูป ทุกนาม ที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิด
ทั้งสิ้น กล่าวคือมีบิดา มารดาเป็นแดนเกิด ก็แล เหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการแต่เพียง
อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชาเกิดมาจากอะไร ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่
พวกเราก็ยังมีบิดา มารดา อวิชชา
ก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน
ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า
ฐีติภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา ฐีติภูตํ ได้แก่จิตดั้งเดิม เมื่อฐีติภูตํ
ประกอบไปด้วยความหลงจึงมีเครื่องต่อกล่าวคืออาการของอวิชชาขึ้นเมื่อมีอวิชชาแล้ว
จึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ
จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไปท่านจึงเรียกปัจจยาการเพราะเป็นอาการสืบต่อกัน
วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจาก ฐีติภูตํ เช่นเดียวกัน เพราะเมื่อมี
ฐีติภูตํ กอบด้วยอวิชชา จึงไม่รู้เท่าอาการทั้งหลาย แต่เมื่อ ฐีติภูตํ กอบด้วยวิชชา
จึงรู้เท่าอาการทั้งหลายความเป็นจริง นี่พิจารณาด้วย วุฏฺฐานคามินีวิปัสสนา
รวมใจความ ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์ (การเวียนว่ายตายเกิด)
ท่านจึงเรียกชื่อว่า “มูลต้นไทร”
เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏฏ์ให้สูญจึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชา
รู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง ก็จะหายหลง
แล้วไม่ก่อการทั้งหลายใด ๆ อีก ฐีติภูตํ
อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์
ด้วยประการฉะนี้

หนังสือมุตโตทัย เล่มละ25บาท
ขอเชิญชวนร่วมจัดพิมพ์ หนังสือมุตโตทัย ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน เล่มละ 25 บาท พร้อมจัดพิมพ์ข้อความแทรก 1 หน้าฟรี
ดำเนินการจัดส่งทั่วประเทศ โดยศูนย์หนังสือไตรลักษณ์



อรรคฐานเป็นที่ตั้งแห่งมรรคผลนิพพาน

อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคฺคํ สตฺตวิสุทฺธิยา
ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ฐานะอันดีเลิศนั้นเป็นทาง
ดำเนินไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์
โดยอธิบายว่าเราได้รับมรดกมาแล้วจากนโม
คือบิดามารดา กล่าวคือ ร่างของเรานี้แลอัน
ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นชาติสูงสุดเป็นผู้เลิศตั้งอยู่ใน
ฐานะอันเลิศด้วยดี คือมีกายสมบัติ
วจีสมบัติ และมโนสมบัติบริบูรณ์ จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก
คือทรัพย์สินเงินทองอย่างไรก็ได้
จะสร้างสมเอาสมบัติภายในคือมรรคผลนิพพาน ธรรมวิเศษก็ได้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย
ก็ทรงบัญญัติแก่มนุษย์เรานี้เอง มิได้ทรงบัญญัติแก่ช้างม้าโคควาย ฯลฯ ที่ไหนเลย
มนุษย์นี้เองจะเป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความบริสุทธิ์ได้ฉะนั้นจึงไม่ควรน้อยเนื้อตํ่าใจว่า
ตนมีบุญวาสนาน้อย เพราะมนุษย์ทำได้ เมื่อไม่มี ทำให้มีได้ เมื่อมีแล้ว ทำให้ยิ่งได้
สมด้วยเทศนานัยอันมาในเวสสันดรชาดกว่า ทานํ เทติ สีลํ รกฺขติ ภาวนํ ภาเวตฺวา เอกจฺโจ
สคฺคํ คจฺฉติ เอกจฺโจ โมกฺขํ คจฺฉติ นิสฺสํสยํ เมื่อได้ทำกองการกุศล คือให้ทาน รักษาศีล
เจริญภาวนาตามคำสอนของพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแล้วบางพวกทำน้อยก็ต้องไปสู่สวรรค์
บางพวกแลขยันทำจริงพร้อมทั้งวาสนาบารมีแต่หนหลังประกอบกัน
ก็สามารถเข้าสู่พระนิพพานโดยไม่ต้องสงสัยเลย
พวกสัตว์เดรัจฉานท่านมิได้กล่าวว่าเลิศ เพราะจะมาทำเหมือนพวกมนุษย์ไม่ได้จึงสม
กับคำว่ามนุษย์นี้ตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดี
สามารถนำตนเข้าสู่มรรคผล เข้าสู่พระนิพพานอันบริสุทธิ์ได้ผล


ชัยภูมิ...อันเป็นสนามฝึกตน

พระบรมศาสดาจารย์เจ้าทรงตั้งชัยภูมิไว้ในธรรมข้อไหน?
เมื่อพิจารณาปัญหานี้ได้ความขึ้นว่า พระองค์ทรงตั้งมหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ
อุปมาทางโลก การรบทัพชิงชัย มุ่งหมายชัยชนะจำต้องหาชัยภูมิ ถ้าได้ชัยภูมิที่ดี
แล้วย่อมสามารถป้องกันอาวุธของข้าศึกได้ดี ณ ที่นั้นสามารถรวบรวมกำลังใหญ่
เข้าฆ่าฟันข้าศึกให้ปราชัยพ่ายแพ้ไปได้
ที่เช่นนั้นท่านจึงเรียกว่าชัยภูมิ คือที่ที่ประกอบไปด้วยค่ายคูประตูและหอรบอันมั่นคงฉันใด
อุปไมยในทางธรรมก็ฉันนั้น
ที่เอามหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิก็โดยผู้ที่จะเข้าสู่สงครามรบข้าศึก
คือกิเลสต้องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้นก่อนเพราะคนเรา
ที่จะเกิดกามราคะเป็นต้นขึ้น ก็เกิดขึ้นที่กาย และใจ เพราะตาแลไปเป็นกายทำให้จิตใจกำเริบ
เหตุนั้นจึงได้ความว่ากายเป็นเครื่องก่อเหตุ จึงต้องพิจารณาที่กายนี้ก่อน
จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำใจให้สงบได้ ณ ที่นี้พึงทำให้มาก เจริญให้มาก
คือพิจารณาไม่ต้องถอยเลยทีเดียว ในเมื่ออุคคหนิมิตปรากฏ จะปรากฏกายส่วนไหนก็ตาม
ให้พึงถือเอากายส่วนที่ได้เห็นนั้นพิจารณาให้เป็นหลักไว้ ไม่ต้องย้ายไปพิจารณาที่อื่น
จะคิดว่าที่นี่เราเห็นแล้ว ที่อื่นยังไม่เห็นก็ต้องไปพิจารณาที่อื่นซิ เช่นนี้หาควรไม่ถึง
แม้จะพิจารณาจนแยกกายออกมาเป็นส่วนๆทุกๆอาการอันเป็นธาตุ ดิน นํ้า ลม ไฟ
ได้อย่างละเอียดที่เรียกว่าปฏิภาคก็ตาม
ก็ต้องพิจารณากายที่เราเห็นทีแรกด้วยอุคคหนิมิตนั้นจนชำนาญ
ที่จะชำนาญได้ก็ต้องพิจารณาซํ้ำแล้วซํ้าอีก ณ ที่เดียวนั้นเอง เหมือนสวดมนต์ฉะนั้น
อันการสวดมนต์เมื่อเราท่องสูตรนี้ได้แล้ว ทิ้งเสียไม่เล่าไม่สวดไว้อีก
ก็จะลืมเสียไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่ทำให้ชำนาญด้วยความประมาท ฉันใด
การพิจารณากายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อุคคหนิมิตในที่ใดแล้ว ไม่พิจารณาในที่นั้นให้มาก
ปล่อยทิ้งเสียด้วยความประมาท ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรอย่างเดียวกัน
การพิจารณากายนี้มีที่อ้างมาก ดังในการบวชทุกวันนี้
เบื้องต้นต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก็คือกายนี้เองก่อนอื่นหมด
เพราะเป็นของสำคัญ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์พระธรรมบทขุททกนิกายว่า อาจารย์ผู้ไม่ฉลาด
ไม่บอกซึ่งการพิจารณากาย อาจทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหัตต์ของกุลบุตรได้
เพราะฉะนั้นในทุกวันนี้จึงต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก่อน
อีกแห่งหนึ่งท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสวะเจ้าทั้งหลาย
ชื่อว่าจะไม่กำหนดกาย ในส่วนแห่งโกฏฐาสใดโกฏฐาส
หนึ่งมิได้มีเลย จึงตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ผู้กล่าวถึงแผ่นดินว่า
บ้านโน้นมีดินดำดินแดงเป็นต้นนั้นว่า นั่นชื่อว่าพหิทฺธา แผ่นดินภายนอก
ให้พวกท่านทั้งหลายมาพิจารณาอัชฌัตติกา แผ่นดินภายใน
กล่าวคืออัตตภาพร่างกายนี้ ให้พิจารณาไตร่ตรองให้แยบคาย
กระทำให้แจ้งแทงให้ตลอด เมื่จบการวิสัชชนาปัญหานี้
ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็บรรลุพระอรหัตตผล เหตุนั้นการพิจารณากายนี้จึงต้องเป็นของสำคัญ
ผู้ที่จะพ้นทุกข์ทั้งหมดล้วนแต่ต้องพิจารณากายนี้ทั้งสิ้น
จะรวบรวมกำลังใหญ่ได้ต้องรวบรวมด้วยการพิจารณากาย
แม้พระพุทธเจ้าจะได้ตรัสรู้ ทีแรกก็ทรงพิจารณาลม ลม...จะไม่ใช่กายอย่างไร?

เพราะฉะนั้นมหาสติปัฏฐาน มีกายานุปัสสนาเป็นต้นจึงชื่อว่า
“ชัยภูมิ”เมื่อเราได้ชัยภูมิดีแล้วกล่าวคือปฏิบัติตามหลัก
มหาสติปัฏฐานจนชำนาญแล้ว ก็จงพิจารณาความเป็นจริง
ตามสภาพแห่งธาตุทั้งหลาย ด้วยอุบายวิปัสสนาซึ่งจะกล่าวข้างหน้า



อุบายวิปัสสนา
อั น เ ป็ น เ ค รื่ อ ง ถ่ า ย ถ อ น กิ เ ล ส

ธรรมชาติของดีทั้งหลาย ย่อมเกิดมาแต่ของไม่ดี มีอุปมาดั่งดอกปทุมชาติอันสวยๆงามๆ
ก็เกิดขึ้นมาจากโคลนตม อันเป็นของสกปรก ปฏิกูลน่าเกลียด
แต่ว่าดอกบัวนั้นเมื่อขึ้นพ้นโคลนตมแล้ว
ย่อมเป็นสิ่งที่สะอาดเป็นที่ทัดทรงของพระราชา อำมาตย์ อุปราช
และเสนาบดี เป็นต้น และดอกบัวนั้นมิได้กลับคืนไปยังโคลนตมนั้นเลย
ข้อนี้เปรียบเหมือนพระโยคาวจรเจ้าผู้ประพฤติพากเพียรประโยคพยายาม
ย่อมพิจารณาซึ่งสิ่งสกปรกน่าเกลียด จิตจึงพ้นจากสิ่งสกปรกน่าเกลียดได้
สิ่งสกปรกน่าเกลียดนั้นก็คือตัวเรานี้เอง ร่างกายนี้เป็นที่ประชุมแห่งของโสโครก
คือ อุจจาระ ปัสสาวะ (มูตร คูถ) ทั้งปวง สิ่งที่ออกมาจากผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
เป็นต้น ก็เรียกว่าขี้ทั้งหมด เช่น ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้ฟัน
เป็นต้น เมื่อสิ่งเหล่านี้ร่วงหล่นลงสู่อาหาร
มีแกงกับเป็นต้นก็รังเกียจ ต้องเททิ้ง
กินไม่ได้และร่างกายนี้ต้องชำระขัดสีอยู่เสมอ
จึงพอเป็นของดูได้ ถ้าหาไม่ก็จะมีกลิ่นเหม็นสาบ เข้าใกล้ใครก็ไม่ได้ ของทั้งปวงมีผ้าแพรเครื่องใช้ต่างๆ
เมื่ออยู่นอกกายของเราก็เป็นของสะอาดน่าดู
แต่เมื่อมาถึงกายนี้แล้วก็กลายเป็นของสกปรกไป
เมื่อปล่อยไว้นานๆ เข้าไม่ซักฟอก ก็จะเข้าใกล้ใครไม่ได้เลย เพราะเหม็นสาบ
ดังนี้จึงได้ความว่า ร่างกายของเรานี้เป็นเรือนมูตร เรือนคูถ เป็นอสุภะของไม่งาม
ปฏิกูลน่าเกลียด เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นถึงปานนี้ เมื่อชีวิตหาไม่แล้ว
ยิ่งจะสกปรกหาอะไรเปรียบเทียบมิได้เลย เพราะฉะนั้นพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย
จึงมาพิจารณาร่างกายอันนี้ให้ชำนิชำนาญด้วยโยนิโสมนสิการ ตั้งแต่ต้นมาทีเดียว
คือขณะเมื่อยังเห็นไม่ทันชัดเจน
ก็พิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งกายอันเป็นที่สบายแห่งจริต
จนกระทั่งปรากฏเป็นอุคคหนิมิตคือปรากฏส่วนแห่งร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง
แล้วก็กำหนดส่วนนั้นให้มาก เจริญให้มาก ทำให้มาก
การเจริญทำให้มากนั้นพึงทราบอย่างนี้
ชาวนาเขาทำนาเขาก็ทำที่แผ่นดิน
ไถที่แผ่นดิน ดำลงไปในขี้ดิน ปีต่อไปเขาก็ทำที่ขี้ดินนั้นเอง
เขาไม่ได้ทำในอากาศกลางหาว
คงทำแต่ที่ดินแห่งเดียว ข้าวเขาก็ได้เต็มยุ้งเต็มฉางเอง
เมื่อทำให้มากในที่ดินนั้นแล้ว
ไม่ต้องร้องเรียกว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงมาเต็มยุ้งเน้อ ข้าวก็จะหลั่งไหลมาเอง
และจะห้ามว่า ข้าวเอ๋ยข้าว จงอย่ามาเต็มยุ้งเต็มฉางเราเน้อ
ถ้าทำนาในที่ดินนั้นเองจนสำเร็จแล้ว
ข้าวก็มาเต็มยุ้งเต็มฉางโดยไม่ต้องสงสัยเลยฉันใดก็ดี
พระโยคาวจรเจ้าก็ฉันนั้นคงพิจารณากาย
ในที่เคยพิจารณา อันถูกนิสัยหรือที่ปรากฏมาให้เห็นครั้งแรก
อย่าละทิ้งเลยเป็นอันขาด
การทำให้มากนั้นมิใช่หมายแต่การเดินจงกรมเท่านั้น ให้มีสติ หรือพิจารณาในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ
ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
ก็ให้มีสติรอบคอบในกาลอยู่เสมอ จึงจะชื่อว่าทำให้มาก
เมื่อพิจารณาในร่างกายนั้นจนชัดเจนแล้ว
ให้พิจารณาแบ่งส่วนแยกส่วนออกเป็นส่วน ๆ
ตามโยนิโสมนสิการของตน
กระจายออกเป็นธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุลม ธาตุไฟ
และพิจารณาให้เห็นไปตามนั้นจริงๆอุบาย
ตอนนี้ตามแต่ตนจะใคร่ครวญออกอุบายตามที่ถูกจริตนิสัยของตน
แต่อย่าละทิ้งหลักเดิมที่ตนได้รู้ครั้งแรกนั่นเทียว
พระโยคาวจรเจ้าเมื่อพิจารณาในที่นี้ พึงเจริญให้มาก
ทำให้มาก อย่าพิจารณาครั้งเดียวแล้วปล่อยทิ้งตั้งครึ่งเดือนตั้งเดือน
ให้พิจารณาก้าวเข้าไปถอยออกมาเป็นอนุโลม ปฏิโลม คือเข้าไปสงบในจิต
แล้วถอยออกมาพิจารณากาย
อย่าพิจารณากายอย่างเดียว หรือสงบที่จิตแต่อย่างเดียว
พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาอย่างนี้ชำนาญแล้ว หรือชำนาญอย่างยิ่งแล้ว
คราวนี้แลเป็นส่วนที่จะเป็นเอง คือจิตย่อมจะรวมใหญ่ เมื่อรวมพับลง
ย่อมปรากฏว่าทุกสิ่งรวมลงเป็นอันเดียวกัน คือหมดทั้งโลกย่อมเป็นธาตุทั้งสิ้น
นิมิตจะปรากฏขึ้นพร้อมกันว่า
โลกนี้ราบเหมือนหน้ากลอง เพราะมีสภาพเป็นอันเดียวกัน ไม่ว่าป่าไม้
ภูเขา มนุษย์ สัตว์ แม้ที่สุดตัวของเราก็ต้องล้มราบ
เป็นที่สุดอย่างเดียวกัน พร้อมกับญาณสัมปยุตต์
คือรู้ขึ้นมาพร้อมกันในที่นี้ ตัดความสนเท่ห์ในใจได้เลย
จึงชื่อว่ายถาภูตญาณทัสสนวิปัสสนาคือ
ทั้งเห็นทั้งรู้ตามความเป็นจริงขั้นนี้เป็นเบื้องต้นในอันที่จะดำเนินต่อไปไม่ใช่ที่สุด
อันพระโยคาวจรเจ้าจะพึงเจริญให้มากทำให้มาก
จึงจะเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่งอีกจนรอบ
จนชำนาญ เห็นแจ้งชัดว่า
สังขารความปรุงแต่งอันเป็นความสมมติว่า โน่นเป็นของของเรา
โน้นเป็นเรา เป็นความไม่เที่ยง
อาศัยอุปาทานความยึดถือจึงเป็นทุกข์
ก็แลธาตุทั้งหลายเขาหากมีหากเป็นอยู่อย่างนี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา
เกิด แก่ เจ็บ ตาย เกิดขึ้น เสื่อมไป อยู่อย่างนี้ มีมาก่อนเราเกิด
ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ก็เป็นอยู่อย่างนี้ อาศัยอาการของจิตของขันธ์ ๕ ได้แก่
รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไปปรุงแต่ง สำคัญมั่นหมายทุกภพ
ทุกชาตินับเป็นเอนกชาติเหลือประมาณมาจนถึงปัจจุบันชาติจึง
ทำให้จิตหลง อยู่ตามสมมติ ไม่ใช่สมมติมาติดเอาเรา เพราะธรรมชาติ
ทั้งหลายทั้งหมดในโลกนี้ จะเป็นของมีวิญญาณหรือไม่ก็ตาม
เมื่อว่าตามความจริงแล้วเขาหากมี หากเป็น
เกิดขึ้นเสื่อมไป มีอยู่อย่างนั้นทีเดียว
โดยไม่ต้องสงสัยเลย จึงรู้ขึ้นว่า ปุพฺเพสุ อนนุสฺสุเตสุ
ธมฺเมสุ ธรรมดาเหล่านี้หากมีมาแต่ก่อน
ถึงว่าจะไม่ได้ยินได้ฟังมาจากใคร
ก็มีอย่างนั้นทีเดียว ฉะนั้นความข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงปฏิญาณพระองค์ว่า
เราไม่ได้ฟังมาแต่ใคร มิได้เรียนมาแต่ใครเลย เพราะของเหล่านี้มีอยู่
มีมาแต่ก่อนพระองค์ ดังนี้ได้ความว่าธรรมดาธาตุทั้งหลายย่อมเป็นย่อมมีอยู่อย่างนั้น
อาศัยอาการของจิตเข้าไป ยึดถือเอาสิ่งทั้งปวงเหล่านั้นมาหลายภพหลายชาติ

จึงเป็นเหตุให้เป็นไปตามสมมตินั้นเป็นเหตุให้อนุสัย
ครอบงำจิตจนหลงเชื่อไปตามจึงเป็นเหตุให้ก่อภพ
ก่อชาติ ด้วยอาการของจิตเข้าไปยึด ฉะนั้น
พระโยคาวจรเจ้าจึงมาพิจารณาโดยแยบคาย
ลงไปตามสภาพว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารความเข้าไปปรุงแต่ง
คืออาการของจิตนั่นแลไม่เที่ยง
โลกสัตว์เขาเที่ยง คือมีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น
ให้พิจารณาโดยอริยสัจจธรรม ทั้ง ๔
เป็นเครื่องแก้อาการของจิตให้เห็นแน่แท้
โดยปัจจักขสิทธิว่า ตัวอาการของจิตนี้เองมันไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ เพราะเหตุที่ไม่เห็นโดยปัจจักขสิทธิว่า
ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ จึงหลงตามสังขาร เมื่อเห็นจริงลง
ไปแล้วก็เป็นเครื่องแก้อาการของจิต
จึงปรากฏขึ้นว่า สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ สังขารทั้งหลายที่เที่ยงแท้ไม่มี
สังขารเป็นอาการของจิตต่างหาก
เปรียบเหมือนพยับแดด ส่วนสัตว์เขาก็อยู่ประจำโลกแต่ไหน
แต่ไรมา
เมื่อรู้โดยเงื่อน ๒ ประการ คือ รู้ว่าสัตว์ก็มีอยู่อย่างนั้น สังขารก็เป็นอาการของจิตเข้าไปสมมติเขาเท่านั้น ฐีติภูตํ
จิตตั้งอยู่เดิมไม่มี อาการเป็นผู้หลุดพ้น
ได้ความว่า ธรรมดาหรือธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตน
จะใช่ตนอย่างไร ของเขาหากเกิดมีอย่างนั้น
ท่านจึงว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
ธรรมทั้งหลายไม่ใช่ตนให้พระโยคาวจรเจ้าพึงพิจารณา
ให้เห็นแจ้งประจักษ์ตามนี้
จนทำให้รวมพับลงไปให้เห็นจริงแจ้งชัดตามนั้น
โดยปัจจักขสิทธิพร้อมกับญาณสัมปยุตต์ปรากฏ
ขึ้นมาพร้อมกันจึงชื่อว่าวุฏฐานคามินีวิปัสสนา
ทำในที่นี้จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์
พร้อมกับการรวมใหญ่และญาณสัมปยุตต์
รวมทวนกระแสแก้อนุสัยสมมติเป็นวิมุตติหรือรวมลงฐีติจิต
อันเป็นอยู่มีอยู่อย่างนั้น จนแจ้งประจักษ์ในที่นั้นด้วยญาณสัมปยุตต์ว่า
ขีณา ชาติ ญาณํ โหติ ดังนี้ ในที่นี้ไม่ใช่สมมติ ไม่ใช่ของแต่งเอาเดาเอา
ไม่ใช่ของอันบุคคลพึงปรารถนาเอาได้ เป็นของที่เกิดเอง เป็นเอง รู้เอง
โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะด้วยการ
ปฏิบัติอันเข้มแข็งไม่ท้อถอย
พิจารณาโดยแยบคายด้วยตนเอง จึงจะเป็นขึ้นมาเอง

ท่านเปรียบเหมือนต้นไม้ต่าง ๆ
มีต้นข้าวเป็นต้น เมื่อบำรุงรักษาต้นมันให้ดีแล้ว ผลคือรวงข้าวไม่ใช่สิ่งอันบุคคลพึง
ปรารถนาเอาเลยเป็นขึ้นมาเองถ้าแลบุคคลมาปรารถนาเอาแต่รวงข้าว
แต่หาได้รักษาต้นข้าวไม่ เป็นผู้เกียจคร้าน จะปรารถนาจนวันตายรวงข้าว
ก็จะไม่มีขึ้นมาให้เลยฉันใด วิมุตติธรรมก็ฉันนั้นนั่นแลมิใช่สิ่งอันบุคคลจะพึงปรารถนา
เอาได้คนผู้ปรารถนาวิมุตติธรรมแต่ปฏิบัติไม่ถูกหรือไม่ปฏิบัติมัวเกียจคร้าน
จนตัวตายจะประสพวิมุตติธรรมไม่ได้เลย ด้วยประการฉะนี้

จิตเดิมเป็นธรรมชาติใสสว่าง
เ เ ต่ มื ด มั ว ไ ป เ พ ร า ะ อุ ป กิ เ ล ส

ปภสฺสรมิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ตญฺจ โข อาคนฺตุเกหิ อุปกฺกิเลเสหิ
อุปกฺกิลิฏฺฐํ ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เลื่อมปภัสสรแจ้งสว่างมาเดิม
แต่อาศัยอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองเป็นอาคันตุกะสัญจรมาปกคลุมหุ้มห่อ
จึงทำให้จิตมิส่องแสงสว่างได้ ท่านเปรียบไว้ในบทกลอนหนึ่งว่า “ไม้ชะงกหกพันง่า (กิ่ง)
กระปอมก่า ขึ้นมื้อฮ้อย กระปอมน้อยขึ้นมื้อพัน ครั้นตัวมาบ่ทัน ขึ้นนำคู่มื้อๆ” โดยอธิบายว่า
คำว่าไม้ชะงก ๖,๐๐๐ ง่านั้น เมื่อตัดศูนย์ ๓ ศูนย์ออกเสียเหลือแต่ ๖ คง ได้ความว่า ทวารทั้ง ๖
เป็นที่มาแห่งกระปอมก่า คือของปลอม ไม่ใช่ของจริง กิเลสทั้งหลายไม่ใช่ของจริง เป็นสิ่งสัญจรเข้ามาในทวารทั้ง ๖
นับร้อยนับพันมิใช่แต่เท่านั้น กิเลสทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้นมีขึ้นก็จะมีทวียิ่ง ๆ ขึ้น ทุก ๆ วัน ในเมื่อไม่แสวงหาทางแก้
ธรรมชาติของจิตเป็นของผ่องใสยิ่งกว่าอะไรทั้งหมดแต่อาศัย
ของปลอมกล่าวคืออุปกิเลสที่สัญจรเข้ามาปกคลุมจึงทำให้หมดรัศมีดุจ
พระอาทิตย์เมื่อเมฆบดบังฉะนั้นอย่าพึงเข้าใจว่าพระอาทิตย์เข้าไปหาเมฆเมฆไหลมาบดบัง
พระอาทิตย์ต่างหากฉะนั้นผู้บำเพ็ญเพียรทั้งหลายเมื่อรู้โดยปริยายนี้แล้วพึงกำจัด
ของปลอมด้วยการพิจารณาโดยแยบคายตามที่อธิบายแล้วในอุบายแห่งวิปัสสนา
ข้อ ๙ นั้นเถิด

เมื่อทำจิตให้ถึงขั้นฐีติจิตแล้วชื่อว่าย่อมทำลายของปลอมได้หมดสิ้น
หรือว่าของปลอมย่อมเข้าไม่ถึงฐีติจิต เพราะสะพานเชื่อมต่อถูกทำลายขาด
สะบั้นลงแล้วแม้ยังต้องเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของโลกอยู่ก็ย่อมเป็นดุจนํ้ากลิ้งบนใบบัวฉะนั้น

การทรมานตนของผู้บำเพ็ญเพียร

ต้องให้พอเหมาะกับอุปนิสสัย

นายสารถีผู้ฝึกม้ามีชื่อเสียงคนหนึ่ง มาเฝ้าพระพุทธเจ้าทูลถามถึงวิธีทรมานเวไนย
พระองค์ทรงย้อนถามนายสารถีก่อนถึงการทรมานม้า เขาทูลว่า ม้ามี ๔ ชนิดคือ
๑ ทรมานง่าย ๒ ทรมานอย่างกลาง ๓ ทรมานยากแท้ ๔ ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย

พ ร ะ อ ง ค์ จึ ง ต รั ส ว่ า . . . เ ร า ก็ เ ห มื อ น กั น
๑. ผู้ทรมานง่าย
คือ ผู้ปฏิบัติทำจิตรวมง่ายก็ให้กินอาหารเพียงพอเพื่อบำรุงร่ายกาย

๒. ผู้ทรมานอย่างกลาง
คือ ผู้ปฏิบัติทำจิตไม่ค่อยจะลง ก็ให้กินอาหารแต่น้อย อย่าให้มาก

๓. ทรมานยากแท้
คือ ผู้ปฏิบัติทำจิตลงยากแท้ ไม่ต้องให้กินอาหารเลย
แต่ต้องเป็น อตฺตญฺญู รู้กำลังของตนว่าจะทนทานได้เพียงไร แค่ไหน

๔. ทรมานไม่ได้เลย ต้องฆ่าเสีย
คือ ผู้ปฏิบัติทำจิตไม่ได้เป็น บทปรมะ
พระองค์ทรงชักสะพานเสีย กล่าวคือไม่ทรงสั่งสอน
อุปมาเหมือนฆ่าทิ้งเสียฉะนั้น

มูลติกสูตร

ติก แปลว่า ๓ มูล แปลว่า เค้ามูล รวมความว่า
สิ่งซึ่งเป็นรากเหง้า เค้ามูลอย่างละ ๓
คือ ราคะ โทสะ โมหะ ก็สาม เรียกว่า อกุศลมูล
ตัณหาก็มีสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
โอฆะและอาสวะก็มีอย่างละสาม คือ กามะ ภวะ อวิชชา

ถ้าบุคคลเป็นไปกับด้วยสามเช่นนี้ ติปริวตฺตํ ก็ต้องเวียนไปเป็น ๓-๓
ก็ต้องเป็นโลก ๓ คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก อยู่อย่างนั้นแล เพราะ ๓ นั้นเป็นเค้ามูลโลก ๓
เครื่องแก้ก็มี ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อบุคคลดำเนินตามศีล สมาธิ ปัญญา
อันเป็นเครื่องแก้ น ติปริวตฺตํ ก็ไม่ต้องเวียนไปเป็น ๓-๓ ก็ไม่เป็นโลก ๓ ชื่อว่าพ้นจากโลก ๓ แล

 

วิสุทธิเทวา
เ ท่ า นั้ น เ ป็ น สั น ต บุ ค ค ล เ เ ท้

อกุปฺปํสพฺพธมฺเมสุเญยฺยธมฺมาปเวสฺสนฺโตบุคคลผู้มีจิต
ไม่กำเริบในกิเลสทั้งปวงรู้ธรรมทั้งหลายทั้งที่เป็นพหิทาธรรม
ทั้งที่เป็นอัชฌัตติกาธรรมสนฺโตจึงเป็นผู้สงบระงับสันตบุคคลเช่นนี้แลที่
จะบริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะมีธรรมบริสุทธิ์สะอาดมีใจมั่นคง
เป็นสัตบุรุษรู้ทรงเทวธรรม
ตามความในพระคาถาว่าหิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนาสุกฺกธมฺมสมาหิตาสนฺโต
สปฺปุริสา โลเก เทวธมฺมาติ วุจฺจเร อุปัตติเทวา เป็นผู้
พรั่งพร้อมด้วยกามคุณวุ่นวายอยู่ด้วยกิเลสเหตุไฉนจึงจะเป็นสันต
บุคคลได้ความในพระคาถานี้ย่อมต้องหมายถึงวิสุทธิเทวา
คือพระอรหันต์แน่นอนท่านผู้เช่นนั้นเป็นสันตบุคคลแท้สมควรจะเป็น
ผู้บริบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ และสุกกธรรม คือความบริสุทธิ์แท้จริง

อกิริยา
เ ป็ น ที่ สุ ด โ ล ก สุ ด ส ม ม ติ บั ญ ญั ติ

สจฺจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา
สัจจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา เพราะแต่ละสัจจะๆ
ย่อมมีอาการต้องทำ คือ ทุกข์...ต้องกำหนดรู้ สมุทัย...ต้องละ
นิโรธ...ต้องทำให้แจ้ง มรรค...ต้องเจริญให้มาก
ดังนี้ ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยา
เพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า สัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา จึงสมกับบทคาถาข้างต้นนั้น
ความว่าสัจจะทั้ง ๔ เป็นต้น หรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไป หรือก้าวขึ้นไป ๔ พัก
จึงจะเสร็จกิจ ต่อจากนั้นไปจึงเรียกว่า อกิริยา อุปมาดังเขียนเลข ๑ ๒​ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐
แล้วลบ ๑-๙ ทิ้งเสียเหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป คงอ่านว่า ศูนย์ แต่ไม่มีค่าอะไรเลย
จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่
เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์) นี้แหละคือปัญญารู้รอบ เพราะทำลายกิริยา คือ ความสมมติ
หรือว่าลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลาย คำว่า ลบ คือทำลายกิริยา
กล่าวคือความสมมติ มีปัญหาสอดขึ้นมาว่า เมื่อทำลายสมมติหมดแล้วจะไปอยู่ที่ไหน
แก้ว่าไปอยู่ในที่ไม่สมมติ คือ อกิริยานั่นเอง เนื้อความตอนนี้เป็นคำอธิบายตามอาการของ
ความจริงซึ่งประจักษ์แก่ผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ อันผู้ไม่ปฏิบัติหาอาจรู้ได้ไม่
ต่อเมื่อไรฟังแล้วทำตามจนรู้เองเห็นเอง นั่นแหละจึงจะเข้าใจได้
ความแห่ง ๒ บาทคาถาต่อไปว่า พระขีณาสวะเจ้าทั้งหลาย
ดับโลกสามรุ่งโรจน์อยู่คือทำการพิจารณาและบำเพ็ญเพียรเป็น
ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลาย
ทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้ จนเป็น อกิริยา ก็ย่อมพ้นโลกสามได้ การดับโลกสามนั้น
ท่านขีณาสวะเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก เลยทีเดียว
คงอยู่กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่
ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์แห่งเดียว เมื่อจะดับโลกสาม ก็มิได้เหาะขึ้นไปในโลกสาม คงดับอยู่ที่จิต
ที่จิตนั้นเองเป็นโลกสาม ฉะนั้นท่านผู้ต้องการดับโลกสามแล้ว พึงดับที่จิตของตนๆ
จึงทำลายกิริยาคือตัวสมมติหมดสิ้นจากจิต ยังเหลือแต่อกิริยา
เป็นฐีติจิต ฐีติธรรม อันไม่รู้จักตาย ฉะนี้แล

สัตตาวาส ๙

เทวาพิภพ มนุสสโลก อบายโลกจัดเป็นกามโลกที่อยู่อาศยของสัตว์
เสพกามรวมเป็น ๑ รูปโลกที่อยู่อาศัยของสัตว์ ผู้สำเร็จรูปฌานมี ๔
อรูปโลกที่อยู่อาศัยของสัตว์ผู้สำเร็จอรูปฌานมี ๔ รวมทั้งสิ้นเป็น ๙
เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ ผู้มารู้เท่าสัตตาวาส ๙
กล่าวคือ พระขีณาสวะเจ้าทั้งหลาย ย่อมจากที่อยู่ของสัตว์ ไม่ต้องอยู่ในที่ ๙
แห่งนี้แล ปรากฏในสามเณรปัญหาข้อสุดท้ายว่า ทส นาม กึ อะไรชื่อว่า ๑๐ แก้ว่า
ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต พระขีณาสวะเจ้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ ย่อมพ้นจากสัตตาวาส ๙
ความข้อนี้คงเปรียบได้กับการเขียนเลข ๑​ ๒ ๓ ๔ ๕​ ๖ ​๗ ๘ ๙ ๐ นั่นเอง ๑ ถึง ๙
เป็นจำนวนนับได้ อ่านได้บวกลบคูณหารได้ ส่วนสิบก็คือ เลข ๑ กับ ๐ (ศูนย์)
เมื่อลบเลข ๑ ออกเสีย เพราะซํ้ากัน ก็เหลือแค่ ๐ (ศูนย์) เราจะเอา ๐ (ศูนย์)
ไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆก็ไม่ทำให้เลขจำนวนนั้นมีค่าสูงขึ้น และ ๐ (ศูนย์)
นี้เมื่ออยู่โดยลำพังก็ไม่มีค่าอะไร แต่จะว่าไม่มีก็ไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งปรากฏอยู่
ความเปรียบนี้ฉันใดจิตใจก็ฉันนั้นเป็นธรรมชาติมีลักษณะเหมือน ๐ (ศูนย์)
เมื่อนำไปต่อเข้ากับเลขตัวใด ย่อมทำให้เลขตัวนั้นเพิ่มค่าขึ้นอีกมาก เช่น เลข ๑
เมื่อเอาศูนย์ต่อเข้า ก็กลายเป็น ๑๐ (สิบ) จิตใจนี้ก็เหมือนกันเมื่อต่อเข้ากับสิ่งทั้งหลาย
ก็กลายเป็นของวิจิตรพิสดารมากมาย
ขึ้นทันทีแต่เมื่อได้รับการฝึกฝนอบรมจนฉลาดรอบรู้สรรพเญยยธรรมแล้ว
ย่อมกลับคืนสู่สภาพ ๐ (ศูนย์) คือ ว่าง โปร่ง พ้นจากการนับการอ่านแล้ว
มิได้อยู่ในที่ ๙ แห่งอันเป็นที่อยู่ของสัตว์
แต่อยู่ในที่หมดสมมติบัญญัติ คือสภาพ ๐ (ศูนย์) หรืออกิริยา ดังกล่าว ในข้อ ๑๔ นั่นเอง

ค ว า ม สํ า คั ญ ข อ ง
ปฐมเทศนา มัชฌิมเทศนา ปัจฉิมเทศนา

พระธรรมเทศนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน๓กาล
มีความสำคัญยิ่ง อันพุทธบริษัทควรสนใจพิจารณาเป็นพิเศษ คือ

ก.ปฐมโพธิกาลได้ทรงแสดงธรรมแก่พระปัญจวัคคีย์
ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี เป็นครั้งแรก
ปฐมเทศนาเรียกว่า ธรรมจักรเบื้องต้น ส่วนสุด ๒ อย่าง
อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ขึ้นแสดงว่า เทฺวเม ภิกขฺเว อนฺตา ปพฺพ ชิเตน น เสวิตพฺพ
ภิกษุทั้งหลาย ส่วนที่สุด ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่พึงเสพ คือ กามสุขัลลิกา และ อัตตกิลมถา
อธิบายว่า กามสุขัลลิกาเป็นส่วน แห่งความรัก อัตตกิลมถา เป็นส่วนแห่งความชัง
ทั้ง ๒ ส่วนนี้เป็นตัวสมุทัย เมื่อผู้บำเพ็ญตบะธรรมทั้งหลายโดยอยู่ซึ่งส่วนทั้ง ๒ นี้ชื่อว่ายังไม่เข้าทางกลาง
เพราะเมื่อบำเพ็ญเพียรพยายามทำสมาธิ จิตสงบสบายดีเต็มที่ ก็ดีใจ
ครั้นเมื่อจิตนึกคิดให้ฟุ้งซ่านรำคาญ ก็เสียใจ
ความดีใจนั้นแลคือกามสุขัลลิกา ความเสียใจนั้นแล
คืออัตตกิลมถา ความดีใจก็เป็นราคะ ความเสียใจก็เป็นโทสะ
ความไม่รู้เท่าในราคะ โทสะ ทั้ง ๒ นี้เป็นโมหะ
ฉะนั้นผู้ที่พยายามประกอบความเพียรในเบื้องแรกก็ต้องกระทบ
ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นแลก่อน
ถ้าเมื่อกระทบส่วน ๒ นั้นอยู่ ชื่อว่าผิดอยู่
แต่เป็นธรรมดาแท้ทีเดียวต้องผิดเสียก่อนจึงถูก
แม้พระบรมศาสดาแต่ก่อนนั้นพระองค์ผิดมาเต็มที่เหมือนกัน
แม้พระอัครสาวกทั้ง ๒ ก็ซํ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิมาก่อนแล้วทั้งสิ้น
แม้สาวกทั้งหลายเหล่าอื่น ๆ
ก็ล้วนแต่ผิดมาแล้วทั้งนั้น ต่อเมื่อพระองค์มาดำเนินทางกลาง
ทำจิตอยู่ภายใต้ร่มโพธิพฤกษ์
ได้ญาณ ๒ ใน ๒ ยาม เบื้องต้นในราตรี ได้ญาณที่ ๓ กล่าวคือ
อาสวักขยญาณ ในยามใกล้รุ่ง
จึงได้ถูกทางกลางอันแท้จริง ทำจิตของพระองค์ให้พ้นจากความผิดกล่าวคือส่วนทั้ง ๒ นั้น
พ้นจากสมมติโคตร สมมติชาติ สมมติวาส สมมติวงศ์ และสมมติประเพณ ี
ถึงความเป็นอริยโคตร อริยชาติ อริยวาส อริยวงศ์
และอริยประเพณีส่วนอริยสาวกทั้งหลายนั้นเล่าก็มารู้ตามพระองค์
ทำให้ถูกอาสวักขยญาณ
พ้นจากความผิดตามพระองค์ไป
ส่วนเราผู้ปฏิบัติอยู่ในระยะแรกๆ ก็ต้องผิดเป็นธรรมดา
แต่เมื่อผิดก็ต้องรู้เท่าแล้วทำให้ถูก
เมื่อยังมีดีใจเสียใจในการบำเพ็ญอยู่ ก็ตกอยู่ในโลกธรรม
เมื่อตกอยู่ในโลกธรรม
จึงเป็นผู้หวั่นไหวเพราะความดีใจเสียใจ
นั่นแหละเชื่อว่าความหวั่นไหวไปมา อุปฺปนฺโน
โข เม โลกธรรมจะเกิดที่ไหน เกิดที่เรา โลกธรรมมี ๘ มรรค
เครื่องแก้ก็มี ๘ มรรค ๘
เป็นเครื่องแก้โลกธรรม ๘ ฉะนั้นพระองค์จึงทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา แก้ส่วน ๒
เมื่อแก้ส่วน ๒ ได้แล้ว ก็เข้าสู่อริยมรรคตัดกระแสโลก ทำใจให้เป็น จาโค
ปฏินิสฺสคฺโค มุตฺติ อนาลโย (สละสลัดตัดขาดวางใจหายห่วง)
รวมความว่าเมื่อส่วน ๒ ยังมีอยู่ในใจผู้ใดแล้ว ผู้นั้นก็ยังไม่ถูกทาง
เมื่อผู้มีใจพ้นจากส่วนทั้ง ๒ แล้ว ก็ไม่หวั่นไหว หมดธุลีเกษมจากโอฆะ
จึงว่าเนื้อความแห่งธรรมจักรสำคัญมาก พระองค์ทรงแสดงธรรมจักรนี้
ยังโลกธาตุให้หวั่นไหว จะไม่หวั่นไหวอย่างไร เพราะมีใจความสำคัญอย่างนี้
โลกธาตุก็มิใช่อะไรอื่น คือตัวเรานี้เอง ตัวเราก็คือธาตุของโลก
หวั่นไหวเพราะเห็นในของที่ไม่เคยเห็น เพราะจิตพ้นจากส่วน ๒ ธาต
ุของโลกจึงหวั่นไหว หวั่นไหวเพราะจะไม่มาก่อธาตุของโลกอีกเลย
ข.มัชฌิมาโพธิกาลทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในชุมนุมพระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์
ณ พระราชอุทยานเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์
ใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ
พึงเป็นผู้ทำจิตให้ยิ่ง การที่จะทำจิตให้ยิ่งได้ต้องเป็นผู้สงบระงับ อิจฺฉาโลภ
สมาปนฺโน สมโณ กึ ภวิสฺสติ เมื่อประกอบด้วยความอยากดิ้นรนโลภหลงอยู่แล้ว
จักเป็นผู้สงบระงับได้อย่างไร ต้องเป็นผู้ปฏิบัติ คือปฏิบัติพระวินัย
เป็นเบื้องต้นและเจริญกรรมฐานตั้งต้นการจงกรม นั่งสมาธิ ทำให้มาก
เจริญให้มาก ในการพิจารณามหาสติปัฏฐาน มี
กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นเบื้องแรก พึงพิจารณาส่วนแห่งร่างกาย
โดยอาการแห่งบริกรรมสวนะ คือพิจารณาโดยอาการคาดคะเนว่าส่วนนั้น
เป็นอย่างนั้น ด้วยการมีสติสัมปชัญญะไปเสียก่อน เพราะเมื่อพิจารณาเช่นนี้
ใจไม่ห่างจากกาย ทำให้รวมง่าย
เมื่อทำให้มากในบริกรรมสวนะแล้วจักเกิดขึ้นซึ่งอุคคหนิมิต
ให้ชำนาญในท ี่นั้นจนเป็นปฏิภาคชำนาญในปฏิภาคโดยยิ่งแล้วจักเป็นวิปัสสนา
เจริญวิปัสสนาจนเป็นวิปัสสนาอย่างอุกฤษฏ์ทำจิตเข้าถึง
ีติภูตํ ดังกล่าวแล้วในอุบายแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติแล้ว
โมกฺขํ จึงจะข้ามพ้น เพราะอาศัยข้อปฏิบัติอันคนทำเต็มที่แล้วจึงข้ามพ้น
คือพ้นจากโลกชื่อว่า โลกุตตรธรรม เขมํ จึงเกษมจากโยคะ (เครื่องร้อน)
ฉะนั้น เนื้อความในมัชฌิมเทศนาจึงสำคัญ
เพราะเล็งถึงวิมุตติธรรม ด้วยประการฉะนี้แล

 

ค.ปัจฉิมโพธิกาลทรงแสดงปัจฉิมเทศนาในที่ชุมนุม
พระอริยสาวก ณ พระราชอุทยานสาลวัน ของมัลลกษัตริย์กรุงกุสินารา
ณ พระราชอุทยานสาลวัน ของมัลลกษัตริย์กรุงกุสินารา
ในเวลาจวนจะปรินิพพานว่า
หนทฺทานิ อามนฺต ยามิ โว ภิกฺขเว ปฏิเวทยามิ โว ภิกฺขเว ขยวยธมฺมา
สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ เราบอกท่านทั้งหลายว่า
จงเป็นผู้ไม่ประมาท พิจารณาสังขาร ที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไป
เมื่อท่านทั้งหลายพิจารณาเช่นนั้น จักเป็นผู้แทงตลอด
พระองค์ตรัสพระธรรมเทศนาเพียงเท่านี้ก็ปิดพระโอษฐ์
มิได้ตรัสอะไรต่ออะไรอีกเลย
จึงเรียกว่า ปัจฉิมเทศนา
อธิบายความต่อไปว่า สังขารมันเกิดขึ้นที่ไหน มันอยู่ที่ไหน อะไรเป็นสังขาร
สังขารมันก็เกิดขึ้นที่จิตของเราเอง เป็นอาการของจิต
พาให้เกิดขึ้นซึ่งสมมติทั้งหลาย
สังขารนี้แล เป็นตัวการสมมติบัญญัติทั้งหลายในโลก
ความจริงของในโลกทั้งหลาย
หรือธรรมธาตุทั้งหลาย เขาเป็นอยู่อย่างนั้น แผ่นดิน ต้นไม้ ภูเขา ฟ้า แดด เขาไม่ได้ว่าเขาเป็นอะไรเลย
ตลอดจนตัวตนมนุษย์ก็เป็นธาตุของโลกเขาไม่ได้ว่าเป็นนั้นเป็นนี้เลย
เจ้าสังขารตัวการนี้เข้าไปปรุงแต่งว่าเขาเป็นนั้นเป็นนี้จนหลงกันว่า
เป็นจริง ถือเอาว่าเป็นเราเป็นของเราเสียสิ้น จึงมีราคะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้น
ทำจิตตัวเดิมให้หลงไปตามเกิดแก่เจ็บตายเวียนว่ายไปไม่มีที่สิ้นสุด
เป็นอเนกภพ อเนกชาติ เพราะเจ้าตัวสังขารนั้นแลเป็นเหตุ
จึงทรงสอนให้พิจารณาสังขารว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
ให้เป็นปรีชาญาณชัดเจน เกิดจากผลแห่งการเจริญปฏิภาคในส่วนเบื้องต้น
จนทำจิตให้เข้าภวังค์ เมื่อกระแสแห่งภวังค์หายไป มีญาณเกิดขึ้นว่า
“นั้นเป็นอย่างนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเป็นทุกข์” เกิดขึ้นในจิตจริงๆ
จนชำนาญเห็นจริงแจ้งประจักษ์ก็รู้เท่าสังขารได้ สังขารก็จะมาปรุงแต่ง
จิตให้กำเริบไม่ได้อีก ได้ในคาถาว่า อกุปปํ สพฺพธมฺเมสุ เญยฺยธมฺมา ปเวสฺสนฺโต
เ มื่อสังขารปรุงแต่งจิตไม่ได้แล้วก็ไม่กำเริบ รู้เท่าธรรมทั้งปวง สนฺโต
ก็เป็นผู้สงบระงับ ถึงซึ่งวิมุตติธรรม ด้วยประการฉะนี้
ปัจฉิมเทศนานี้เป็นคำสำคัญแท้ ทำให้ผู้พิจารณารู้แจ้งถึงที่สุด
พระองค์จึงได้ปิดพระโอษฐ์แต่เพียงนี้ พระธรรมเทศนาใน ๓ กาลนี้
ย่อมมีความสำคัญเหนือความสำคัญในทุกๆกาล

ป ฐ ม เ ท ศ น า ก็เล็งถึง . . . วิ มุ ต ติ ธ ร ร ม
มั ช ฌิ ม เ ท ศ น า ก็เล็งถึง . . . วิ มุ ต ติ ธ ร ร ม
ปั จ ฉิ ม เ ท ศ น า ก็เล็งถึง . . . วิ มุ ต ติ ธ ร ร ม

รวมทั้ง ๓ กาลล้วนแต่เล็งถึงวิมุตติธรรมทั้งสิ้น ด้วยประการฉะนี้


ศูนย์จัดพิมพ์และจัดส่งหนังสือธรรมะ มากกว่า 2000 รายการทั่วประเทศ

พระอรหันต์ทุกประเภท
บรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติ

อนาสวํ เจโตวิมุตฺตึ ปญฺญาวิมุตฺตึ ทิฏฺเฐว ธมฺเม สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา
อุปสมฺปชฺช วิหรติ พระบาลีนี้แสดงว่าพระอรหันต์ทั้งหลายไม่ว่าประเภทใด
ย่อมบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ ทั้งปัญญาวิมุตติที่ปราศจาก
อาสวะในปัจจุบันหาได้แบ่งแยกไว้ว่าประเภทนั้นบรรลุแต่เจโตวิมุตติ
หรือปัญญาวิมุตติไม่
ที่เกจิอาจารย์แต่งอธิบายไว้ว่า เจโตวิมุตติเป็นของพระอรหันต์
ผู้ได้สมาธิมาก่อนส่วนปัญญาวิมุตติเป็นของพระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ
ผู้เจริญวิปัสสนาล้วนๆนั้นย่อมขัดแย้งต่อมรรคมรรคประกอบด้วย
องค์ ๘ มีทั้งสัมมาทิฏฐิ ทั้งสัมมาสมาธิ ผู้จะบรรลุวิมุตติธรรมจำ
ต้องบำเพ็ญมรรค ๘ ให้บริบูรณ์ มิฉะนั้นก็บรรลุวิมุตติธรรม ไม่ได้ไตรสิกขา
ก็มีทั้งสมาธิทั้งปัญญาอันผู้จะได้อาสวักขยญาณเจ้าต้องบำเพ็ญ
ไตรสิกขาให้บริบูรณ์ทั้ง ๓ ส่วน
ฉะนั้น จึงว่าพระอรหันต์ทุกประเภท ต้องบรรลุทั้งเจโตวิมุตติ
ทั้งปัญญาวิมุตติ ด้วยประการฉะนี้แลฯ

 

ทาน ศีล

ท า น ศี ล ภ า ว น า
การทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

การทำทาน
ทาน คือ เครื่องแสดงนํ้าใจของมนุษย์ผู้มีจิตใจสูง มีเมตตา
จิตต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ด้วยการให้การเสียสละแบ่งปันมาก
น้อยตามกำลังของวัตถุเครื่องสงเคราะห์ที่มีอยู่ จะเป็นวัตถุทาน
ธรรมทาน หรือวิทยาทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใดๆ
นอกจากกุศล คือ ความดีที่ได้จากทานนั้น เป็นสิ่งตอบแทนที่เจ้า
ของทานได้รับอยู่โดยดีเท่านั้น อภัยทานควรให้แก่กัน
เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งผิดพลาดหรือล่วงเกิน
คนมีทาน...ย่อมเป็นผู้สง่าผ่าเผยและเด่นในปวงชนเป็นที่เคารพรักในหมู่ชน
จะตกอยู่ทิศใดย่อมไม่อดอยากขาดแคลน จะมีสิ่งหรือผู้อุปถัมภ์จนได้
ไม่อับจนทนทุกข์ ผู้มีทานประดับตนย่อมไม่เป็นคนล้าสมัยบุคคลทุกชั้นไม่รังเกียจ
ผู้มีทานย่อมเป็นผู้อบอุ่น หนุนโลกให้ชุ่มเย็น การเสียสละจึงเป็นเครื่องคํ้าจุนหนุนโลก
การสงเคราะห์กันทำให้โลกมีความหมายตลอดไป ไม่เป็นโลกที่ไร้ชาติขาดกระเจิง
เหลือแต่ซากแผ่นดินไม่แห้งแล้ง แข่งกับทุกข์ตลอดไป

การรักษาศีล
ศีล คือ รั้วกั้นความเบียดเบียน และทำลายสมบัติร่างกายและจิตใจของกันและกัน
ศีล คือ พืชแห่งความดีอันยอดเยี่ยมที่ควรมีประจำชาติมนุษย์ ไม่ปล่อยให้สูญหายไป
เพราะมนุษย์ไม่มีศีลเป็นรั้วกั้น เป็นเครื่องประดับตัว
จะไม่มีที่ให้ซุกหัวนอนหลับสนิทได้โดยปลอดภัย
แม้โลกเจริญด้วยวัตถุจนกองสูงกว่าพระอาทิตย์
แต่ความรุ่มร้อนแผดเผาจะทวีคูณยิ่งกว่าพระอาทิตย์
ถ้ามัวคิดว่าวัตถุมีค่ามากกว่าศีลธรรม
ศีลธรรมเป็นเพียงสมบัติของมนุษย์พระพุทธเจ้าผู้ค้นพบและนำมาประดับ
โลกที่กำลังมืดมิดให้สว่างไสวร่มเย็นด้วยอำนาจ
ศีลธรรมเป็นเครื่องปัดเป่าความคิดของมนุษย์ผู้มีกิเลส
ผลิตอะไรออกมาทำให้โลกร้อนจะบรรลัยอยู่แล้ว
ยิ่งปล่อยให้ความคิดตามอำนาจโดยไม่มีศีลธรรมช่วยเป็นยาชะโลม
ไว้บ้างจะผลิตยักษ์ใหญ่ทรงพิษขึ้นมากว้านกิน
มนุษย์จนไม่มีอะไรเหลืออยู่บ้างเลย
ความคิดของคนสิ้นกิเลสที่ทรงคุณอย่างสูง คือพระพุทธเจ้า
มีผลให้โลกได้รับความร่มเย็น ซาบซึ้ง กับความคิดที่เป็นกิเลส
มีผลให้ตนเองและผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนจนคาดไม่ถึง ผิดกันอยู่มาก
ควรหาทางแก้ไข ผ่อนหนักให้เบาลงบ้าง ก่อนจะหมดทางแก้ไข
ศีลจึงเป็นเหมือนยาปราบโรค ทั้งโรคระบาดและเรื้อรัง

การเจริญภาวนา
ภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผลอรรถธรรม
รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้น
ความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผลอันจะเป็นทางแห่งความสงบสุข
ใจที่ยังมิได้รับการอบรมจากภาวนาจึงเปรียบเหมือนสัตว์ที่มียังมิได้รับ
การฝึกหัด ยังมิได้รับประโยชน์จากมันเท่าที่ควร
จำต้องฝึกหัดให้ทำประโยชน์ถึงจะได้รับประโยชน์ตามควร
ใจจึงควรได้รับการอบรมให้รู้เรื่องของตัว
จะเป็นผู้ควรแก่การงานทั้งหลาย ทั้งส่วนเล็กส่วนใหญ่ภายนอกภายใน
ผู้มีภาวนาเป็นหลักใจ จะทำอะไรชอบใช้ความคิดอ่านเสมอ
ไม่เสี่ยงและไม่เกิดความเสียหายแก่ตนและผู้เกี่ยวข้อง
การภาวนาจึงเป็นงานเพื่อผลในปัจจุบันและอนาคต
การงานทุกชนิดที่ทำด้วยใจของผู้มีภาวนา
จะสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อย ทำด้วยความใคร่ครวญ
เล็งถึงประโยชน์ที่จะได้รับเป็นผู้มีหลักมีเหตุผล
ถือหลักความถูกต้องเป็นเข็มทิศทางเดินของกาย วาจา ใจ
ไม่เปิดช่องว่างให้ความอยากอันไม่มีขอบเขตเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะความอยากดั้งเดิมเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา
ซึ่งไม่เคยสนใจต่อความผิด ถูก ดี ชั่ว พาเราเสียไปจนนับไม่ถ้วน
ประมาณไม่ถูก จะเอาโทษมันก็ไม่ได้ ยอมให้เสียไปอย่างน่าเสียดาย
ถ้าไม่มีสติระลึกบ้างเลยแล้ว ของเก่าก็เสียไป
ของใหม่ก็พลอยจมไปด้วย ไม่มีวันฟื้นคืนตัวได้
ฉะนั้น การภาวนาจึงเป็นเครื่องหักล้างความไม่มีเหตุผลของตนได้ดี
วิธีภาวนานั้นลำบากอยู่บ้าง เพราะเป็นวิธีบังคับใจ
วิธีภาวนาก็คือ วิธีสังเกตตัวเอง สังเกตจิตที่มีนิสัยหลุกหลิก
ไม่อยู่เป็นปกติสุข ด้วยมีสติตามระลึกรู้ความเคลื่อนไหวของจิต
โดยมีธรรมบทใดบทหนึ่งเป็นคำบริกรรม เพื่อเป็นยารักษาจิต
ให้ทรงตัวอยู่ได้ด้วยความสงบสุขในขณะภาวนา ที่ให้ผลดีก็มี
อานาปานสติ คือ กำหนดจิตตามลมหายใจเข้าออกด้วยคำภาวนา
พุทโธ พยายามบังคับใจให้อยู่กับอารมณ์แห่งธรรมบทที่นำมาบริกรรม
ขณะภาวนาพยายามทำอย่างนี้เสมอ ด้วยความไม่ลดละความเพียร
จิตที่เคยทำบาปหาบทุกข์อยู่เสมอจะค่อยรู้สึกตัว และปล่อยวางไปเป็นลำดับ
มีความสนใจหนักแน่นในหน้าที่ของตนเป็นประจำ จิตที่สงบตัวลงเป็นสมาธิ
เป็นจิตที่มีความสุขเย็นใจมากและจำไม่ลืม ปลุกใจให้ตื่นตัวและตื่นใจได้อย่างน่าประหลาด
เมื่อพูดถึงการภาวนา บางท่านรู้สึกเหงาหงอยน้อยใจว่า ตนมีวาสนาน้อย
ทำไม่ไหว เพราะกิจการยุ่งยากทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน
ตลอดงานสังคมต่างๆ ที่ต้องเป็นธุระ จะมานั่งหลับตาภาวนาอยู่
เห็นจะไม่ทันอยู่ทันกินกับโลกเขา ทำให้ไม่อยากทำประโยชน์ที่ควรได้จึงเลยผ่านไป
ควรพยายามแก้ไขเสียบัดนี้ แท้จริงการภาวนา คือ วิธีแก้ความยุ่งยาก
ลำบากใจทุกประเภทที่เป็นภาระหนัก ให้เบาและหมดสิ้นไป ได้อุบายมา
แก้ไขไล่ทุกข์ออกจากตัว การอบรมใจด้วยการภาวนาก็เป็นวิธีแห่งการรักษาตัว
เป็นวิธีที่เกี่ยวกับจิตใจผู้เป็นหัวหน้างานทุกด้าน
จิต จำต้องเป็นตัวการรับภาระแบกหาม
โดยไม่คำนึงถึงความหนักเบาว่าชนิดใดพอยกไหวไหม จิตต้องรับภาระทันที
ดี ชั่ว ผิด ถูก หนัก เบา เศร้าโศกเพียงใด บางเรื่องแทบเอาชีวิตไปด้วย
ขณะนั้นจิตใจยังกล้าเอาตัวเข้าเสี่ยงแบกหามจนได้ มิหนำซํ้ายังหอบ
เอามาคิดเป็นการบ้านอีก จนนอนไม่หลับ รับประทานไม่ได้ก็มี
คำว่าหนักเกินไป ยกไม่ไหว เกินกำลัง ใจจะคิด และต้านทานนั้นไม่มี
งานทางกายยังมีเวลาพักผ่านนอนหลับ และยังรู้ประมาณว่าควรหรือ
ไม่ควรแก่กำลังของตนเพียงใด ส่วนงานทางใจไม่มีเวลาได้พักผ่อนเอาเลย
พักได้เล็กน้อยขณะนอนหลับเท่านั้น แม้เช่นนั้นจิตยังอุตส่าห์ทำงานด้วย
การละเมอเพ้อฝันต่อไปอีก ไม่รู้จักประมาณว่าเรื่องต่างๆนั้นควรแก่กำลัง
ของใจเพียงใด เมื่อเกิดอะไรขึ้น ทราบแต่ว่าทุกข์เหลือทน ไม่ทราบว่าทุกข์
เพราะงานหนัก และเรื่องเผ็ดร้อนเหลือกำลังใจจะสู้ไหว
ใจคือนักต่อสู้ ดีก็สู้ ชั่วก็สู้ สู้จนไม่รู้จักหยุดยั้งไตร่ตรอง
สู้จนไม่รู้จักตาย หากปล่อยไปโดยไม่มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้งคง
ไม่ได้รับความสุข แม้จะมีสมบัติก่ายกอง
ธรรมเป็นเครื่องปกครองสมบัติและปกครองใจถ้าขาดธรรมเพียง
อย่างเดียวความอยากของใจจะพยายามหาทรัพย์ได้กองเท่า
ภูเขาก็ยังหาความสุขไม่เจอไม่มีธรรมในใจเพียงอย่างเดียวจะอยู่ในโลกใด
กองสมบัติใดก็เป็นเพียงโลกเศษเดน และกองสมบัติเดนเท่านั้น
ไม่มีประโยชน์อะไรแก่จิตใจแม้แต่นิด ความทุกข์ทรมาน ความอดทน
ทนทานต่อสิ่งกระทบกระทั่งต่างๆ ไม่มีอะไรจะแข็งแกร่งเท่าใจ
ถ้าได้รับความช่วยเหลือที่ถูกทางใจจะกลายเป็นของประเสริฐ
ให้เจ้าของได้ชมอย่างภูมิใจต่อเรื่องทั้งหลายทันที
จิตเป็นสมบัติสำคัญมากในตัวเราที่ควรได้รับการเหลียวแล
ด้วยวิธีเก็บรักษาให้ดี ควรสนใจรับผิดชอบต่อจิตอันเป็นสมบัติที่มีค่ายิ่งของตน
วิธีที่ควรกับจิตโดยเฉพาะ ก็คือภาวนา ฝึกหัดภาวนาในโอกาสอันควร
ตรวจดูจิตว่ามีอะไรบกพร่องและเสียไป จะได้ซ่อมสุขภาพจิต คือ
นั่งพินิจพิจารณาดูสังขารภายใน คือ ความคิดปรุงแต่งของจิตว่าคิดอะไรบ้าง
ในวันและเวลา ที่นั่งๆ มีสาระประโยชน์ไหม คิดแส่หาเรื่อง หาโทษ
ขนทุกข์มาเผาตนอยู่นั้น พอรู้ผิดถูกของตัวบ้างไหม พิจารณาสังขารภายนอก
ว่ามีความเจริญขึ้นหรือเจริญลง สังขารร่างกายมีอะไรใหม่หรือมีความเก่าแก่ชราหลุดลงไป
พยายามเตรียมตัวเตรียมใจเสียแต่เวลา ที่พอจะทำได้ ตายแล้วจะเสียการ
ให้ท่องอยู่ในใจเสมอว่า เรามีความแก่ เจ็บ ตาย อยู่ประจำตัวทั่วหน้ากัน
ป่าช้าอันเป็นที่เผาศพภายนอก และป่าช้าที่ฝังศพภายในคือตัวเราเอง
เป็นป่าช้าร้อยแปดพันเก้าแห่งศพ ที่นำมาฝังหรือบรรจุจะอยู่ในตัวเรา
ตลอดเวลาทั้งศพเก่าศพใหม่ทุกวัน พิจารณาธรรมสังเวช พิจารณาความตาย
เป็นอารมณ์ย่อมมีทางถอดถอน ความเผลอเย่อหยิ่งในวันในชีวิต
และวิทยฐานะต่างๆออกได้ จะเห็นโทษแห่งความบกพร่องของตัว
และพยายามแก้ไขได้เป็นลำดับมากกว่า จะไปเห็นโทษของคนอื่นแล้วมานินทาเขา
ซึ่งเป็นความไม่ดีใส่ตน นี่คือการภาวนา คือวิธีเตือนตน สั่งสอนตน
ตรวจตราดูความบกพร่องของตน ว่าควรแก้ไขจุดใดตรงไหนบ้าง
ใช้ความพิจารณาอยู่ทำนองนี้เรื่อยๆ ด้วยวิธีสมาธิภาวนาบ้าง
ด้วยการรำพึงในอิริยาบถต่างๆบ้าง ใจจะสงบเย็นไม่ลำพองผยองตัว
และความทุกข์มาเผาลนตัวเอง เป็นผู้รู้จักประมาณในหน้าที่การงาน
ที่พอเหมาะพอดีแก่ตัว ทั้งทางกายและทางใจ
ไม่ลืมตัวมั่วสุมในสิ่งที่เป็นหายนะต่างๆ คุณสมบัติของผู้ภาวนานี้มีมากมาย
ไม่อาจพรรณนาให้จบสิ้นได้
ทาน ศีล ภาวนา ธรรมทั้ง ๓ นี้ เป็นรากแก้วของความเป็นมนุษย์และเป็นรากเหง้าของพระศาสนา
ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ต้องเป็นผู้เคยสั่งสมธรรมเหล่านี้มาอยู่ในนิสัยของผู้จะมา
สวมร่างเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติอย่างแท้จริง

 

 

อานิสงส์ ของการ รักษาศีล

คำว่า ศีล ได้แก่สภาพเช่นไร ศีลอย่างแท้จริงเป็นไปด้วยความมีสติ
รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร ระวังการระบายออกทางทวารทั้งสาม
คอยบังคับกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในขอบเขตของศีลที่เป็นสภาพปกติศีลที่เกิดจากการรักษา
มีสภาพปกติ ไม่คะนองทางกาย วาจา ใจ ให้เป็นที่เกลียด
นอกจากความปกติงดงามทางกาย วาจา ใจ ของผู้มีศีลว่า เป็นศีล เป็นธรรม

เราควร รักษาศีล ๕

๑. สิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งที่มีคุณค่า
จึงไม่ควรเบียดเบียนข่มเหงและทำลายคุณค่าแห่งความเป็นอยู่ของเขาให้ตกไป
๒. สิ่งของของใคร ใครก็รักและสงวน ไม่ควรทำลาย ฉกลักปล้นจี้ เป็นต้น
อันเป็นการทำลายสมบัติและทำลายจิตใจกัน
๓. ลูก หลาน สามี ภรรยา ใครๆก็รักสงวนอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาให้ใครมาอาจเอื้อมล่วงเกิน
เป็นการทำลายจิตใจของ ผู้อื่นอย่างหนัก และเป็นบาป ไม่มีประมาณ
๔. มุสา การโกหกพกลม เป็นสิ่งทำลายความเชื่อถือของผู้อื่นให้ขาดสะบั้นลงอย่างไม่มีดี
แม้เดรัจฉานเขาก็ไม่พอใจคำหลอกลวง จึงไม่ควรโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเสียหาย
๕. สุรา ยาเสพติด เป็นของมึนเมาและให้โทษ ดื่มเข้าไปย่อมทำให้คนดีๆ กลายเป็นคนบ้าได้
ลดคุณค่าลงโดยลำดับ ผู้ต้องการเป็นคนดี มีสติปกครองตัวอย่างมนุษย์ จึงไม่ควรดื่มสุรา
เครื่องทำลายสุขภาพทางร่างกายและใจอย่างยิ่ง
เป็นการทำลายตัวเองและผู้อื่นไปด้วยในขณะเดียวกัน

อานิสงส์ของศีล ๕ เมื่อรักษาได้

๑. ทำให้อายุยืน ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
๒. ทรัพย์สมบัติที่อยู่ในความปกครอง
มีความปลอดภัยจากโจรผู้ร้ายมาราวี เบียดเบียนทำลาย
๓. ระหว่าง ลูก หลาน สามี ภริยา อยู่ด้วยกันเป็นผาสุก
ไม่มีผู้คอยล่วงลํ้ากรํ้ากราย ต่างครองกันอยู่ด้วยความเป็นสุข
๔. พูดอะไรมีคนเคารพเชื่อถือ
คำพูดมีเสน่ห์เป็นที่จับใจไพเราะ ด้วยสัตย์ด้วยศีล
๕. เป็นผู้มีสติปัญญาดีและเฉลียวฉลาด
ไม่หลงหน้าหลงหลังจับโน่นชนนี่ เหมือนคนบ้าคนบอหาสติไม่ได้

....................................................

มุตโตทัย
การทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา มุตโตทัย
โอวาทพระธรรมคำสอน ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ปกอ่อน พิมพ์ปก4สี เคลือบ ยูวีเงา อย่างดี

เนื้อใน กระดาษถนอมสายตาสีครีม (กรีนรีด) เนื้อในพิมพ์ขาวดำ
เข้าเล่มด้วยวิธีการ ไสกาว

ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน 25 บาท
โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ขนาด 14.5*21 ซม.
จำนวน 40 หน้า

📜โปรโมชั่นเฉพาะเล่มนี้ เมื่อสั่งพิมพ์ 100 เล่มขึ้นไป 
- สามารถ พิมพ์แทรกข้อความ เพิ่มเติมเช่น
- รายชื่อผู้ร่วมพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
- ข้อความที่ระลึกเนื้อในโอกาสต่างๆ
- พิมพ์เพิ่ม หน้าขาวดำ ฟรี 1 หน้า
--- --- --- --- --- --- --

สามารถโทรสอบถามการจัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ 
และการจัดส่งได้ที่เบอร์  086-4618505 หรือ 087-6967771 

สอบถาม/สั่งซื้อ/สั่งพิมพ์/ส่งข้อความ ในการจัดพิมพ์หนังสือ ทาง LINE

👨🏻‍💻 LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks

--- --- --- --- --- --- ---

แผนที่สำหรับเดินทาง 🚙 มาด้วยตนเอง ที่
https://goo.gl/maps/Bym61zuguLE2


#อ้างอิงข้อมูลจากหนังสือ : มุตโตทัย ราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน 25 บาท



ความรู้ เรื่องเกี่ยวกับพิธีการทำบุญ
และอนุโมทนาวิธีตามหลักพระพุทธศาสนา


พระไตรปิฎกแบบท่องจำ มีความแม่นยำเพียงไร
พระไตรปิฎกท่องจำ-แม่นยำเพียงไร 

พระไตรปิฎก ที่มีการจดเป็นลายลักอักษรณ์ แม่นยำเพียงไร?
พระไตรปิฎก ที่มีการจด
เป็นลายลักอักษรณ์ แม่นยำเพียงไร? 

 

โหลดบทเพลงสวดมนต์ฟังสบายๆ ที่นี่ 19 บทสวด

ดาวน์โหลดและฟังMP3ธรรมะของหลวงพ่อพุทธทาส

สาระน่ารู้เกี่ยว
กับเรื่องการทำบุญและพิธีสงฆ์

หลักมหาประเทส4
หลักมหาประเทส4 

01.พิธีการทำบุญ"หาฤกษ์"

02.การทำบุญในงานพิธี

03.การถวายสังฆทาน-หรือ-การถวายทาน

04.ระเบียบพิธีในการถวายสังฆทาน

05.ประโยชน์/โทษ/ของการหาฤกษ์

06.พิธีการและขั้นตอนการทำบุญเลี้ยงพระ

07.ประโยชน์ของพิธีกรรมทางศาสนา

08.เรื่องของการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

09.คำถวายตู้และหนังสือพระไตรปิฎก

010.คำอุทิศแผ่บุญกุศล ของผู้ถวายพระไตรปิฎก

011.เมื่อจิตหดหู่เราควรเจริญธรรมข้อใด


ประมวลภาพประทับใจและพระราชดำรัส
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.9



สุดยิ่งใหญ่ !!! ประวิติศาสตร์ต้องจารึก "คณะสงฆ์ญี่ปุ่น" 
จัดพิธีบำเพ็ญกุศล "ในหลวงรัชกาลที่9"

 


บทสวดมนต์ พิเศษต่างๆ

 


สมเด็จพระราชาคณะองค์ใหม่ปราชญ์แห่งธรรมผู้นำปัญญา
สมเด็จพระราชาคณะองค์ใหม่
ปราชญ์แห่งธรรมผู้นำปัญญา

 

มุตโตทัย หลักการทำงาน รักษาศีล เจริญภาวนา ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
มุตโตทัย หลักการทำงาน รักษาศีล
เจริญภาวนา ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 


ดาวน์โหลดหนังสือ  “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”
12.ดาวน์โหลดหนังสือ 
“พระบาทสมเด็จพระปรมิน
ทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”


13. โหลด E-BOOK
99 พระบรมราโชวาท น้อมนำราษฎร์ร่มเย็นเป็นสุขศานต์ 

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต )
21ความหมายของคำว่า ปาฏิหาริย์

 

ชื่นชม ...เด็กชายวัย 8 ขวบ  ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อใช้จ่ายค่าเทอมชื่นชม ...เด็กชายวัย 8 ขวบ
ปลูกผักปลอดสารพิษ เพื่อใช้จ่ายค่าเทอม

 

ท่องแดนนรกภูมิ กับพระมาลัยฟัง ท่องแดนนรกภูมิ กับพระมาลัย

 

 

 

 




หนังสือพระเจ้า500ชาติ ฉบับสมบูรณ์ ราคาเล่มละ 800 บาท หนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย ราคาเล่มละ 700 บาท หนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ราคาเล่มละ 600 บาท
หนังสือเรื่อง คู่มือมนุษย์ ของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ราคาเล่มละ 180 บาท พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด ศัพท์วิเคราะห์ หนังสือพระไตรปิฎกฉบับคัดสรรค์
เล่าไว้เมื่อวัยสนทยา สมุดภาพอสุภกรรมฐาน
หนังสือวิมุตติมรรค ทางแห่งความหลุดพ้น หนังสืออรรถกถา 55 เล่ม ภาษาไทย โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย

หลวงปู่หลิวประทับพญาเต่าเรือน จากแร่เขาอึมครึม
หลวงปู่หลิวประทับพญาเต่าเรือน
เนื้อมวลสารจากแร่เขาอึมครึม // จังหวัดกาญจนบุรี

ขนาดหน้ากว้าง 33 เซนติเมตร วัดความสูง จากพื้น ถึงด้านบนสุด 23 เซนติเมตร
วัดความยาว จากด้านหลังถึงด้านหน้า 42 เซนติเมตร สามารถเช่าบูชา ในราคา 17,000 บาท
(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ)


ผอบ ที่ใส่พระหรือวัตถุมงคล ในห้องพระ ขนาดใหญ่
ผอบไม้ ที่ใส่พระหรือวัตถุมงคล ในห้องพระ ลงรักปิดทอง ขนาดใหญ่


ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทั้งหลัง สำหรับ ใส่หนังสือพระไตรปิฎกแบบ 91 เล่ม

ตู้พระไตรปิฎกไม้สักทั้งหลัง ประดับลวดลายทองปิดกระจกสี
สำหรับบรรจุ #พระไตรปิฎก91เล่มไทยเป็นตู้พระไตรปิฎกที่มีขนาดใหญ่ด้วย
ความสูง 160 เซนติเมตร หน้ากว้าง 120 เซนติเมตร จำนวน 4 ชั้น 
แข็งแรงทนทาน ด้วยผลิตภัณฑ์จากไม้สักแท้ ด้วย ราคาสนับสนุนช่างฝีมือแรงงานหัตถศิลป์ 
ผู้ชำนาญการในด้านจัดสร้างตู้พระไตรปิฎกมาเป็นระยะเวลายาวนาน ราคาตู้ หลังนี้ 14,500 บาท

เหมาะสำหรับใส่หนังสือพระไตรปิฎก 91 เล่มภาษาไทยเฉพาะราคามูลนิธิหนังสือ คือ 25,000 บาท

(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศครับ)

ท่านสามารถ ดูตัวอย่างภาพตู้พระไตรปิฎกหลังนี้เพิ่มเติมได้ที่
http://www.ตู้พระไตรปิฎก.com/TOO-TEAK-LINE-14500.html

📱สามารถโทร.สอบถามรายละเอียดอื่นๆได้ที่
086-461-8505, 02-482-7358, 087-696-7771

#และเพื่อความรวดเร็วในการสนทนา ช่องทางการติดต่อทาง/ #สั่งซื้อทางLine
~สั่งพิมพ์หนังสือเพื่อแจกเป็นธรรมทาน ~สั่งชุดพระไตรปิฎกแบบต่างๆ
👨🏻‍💻 #LINE : @trilakbooks
หรือกดที่ ลิงค์ add Line ด้านล่างได้เลยครับ
https://line.me/R/ti/p/%40trilakbooks
--- --- --- --- --- --- ---


ดอกบัว ลงรักปิดทอง ประดับกระจกคละสี ขนาดใหญ่ ความสูง 65 เซนติเมตร ทั้งชุด  ประดับกระจกสี ราคา -คู่ละ-  2200 บาท  (ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ)  ความสูง 65 เซนติเมตร  ใช้วิธีประดับด้วย การลงรักปิดทอง

ดอกบัว ลงรักปิดทอง ประดับกระจกคละสี ขนาดใหญ่
ความสูง 65 เซนติเมตร ทั้งชุด
ประดับกระจกสี ราคา -คู่ละ-  2200 บาท 

(ยังไม่รวมค่าจัดส่งทั่วประเทศ) ความสูง 65 เซนติเมตร ใช้วิธีประดับด้วย การลงรักปิดทอง

 
 
 
 



 

 


ศูนย์จัดพิมพ์หนังสือธรรมะ จัดส่งทั่วประเทศ ในราคาโรงพิมพ์ธรรมทาน
แทรกรายชื่อผู้ร่วมจัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎก

เชิงเทียน-และงานพุทธศิลป์